24 มี.ค. 2020 เวลา 10:30 • ธุรกิจ
กักตุนสินค้าสำหรับใช้ในช่วงที่กักตัวอยู่บ้านคุ้มหรือไม่คุ้ม?
ที่มา: หนังสืิพิมพ์ คมชัดลึก
ช่วงนี้ใครต่อใครก็ต้องรับไปซื้อสินค้ามาตุนก่อนเพราะเดี๋ยวของจะหมดก่อน เราจึงเห็นห้างสรรพสินค้าต่างๆที่มีซูปเปอร์มาร์เก็ต เช่น ท๊อปส์ โฮมเฟรชมาร์ท วิลล่ามาร์เก็ต สาขาต่างต่างของสยามแม็คโคร เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ซีเจ และอีกหลายแห่งที่มีผู้คนมากมายต่างไปจับจ่ายซื้อหาสินค้าจำนวนมาก จนสินค้าบางอย่างหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ช่องวัน 31
สินค้าที่เราเห็นได้ชัดเจนก็จะเป็นหมวดอาหารแห้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น และยังมีการซื้อสินค้าหมดอาหารสดไปเก็บไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็งต่างๆ พนักงานแทบจะเติมของไม่ทัน และยังมีรายการสินค้าในหมวดอื่นอีกก็พลอยได้รัยอานิสงค์ไปด้วย
คำถามคือซื้อไปแล้วมันคุ้มหรือไม่?
คำตอบคือมีทั้งคุ้มและไม่คุ้ม เพราะบางหมวดสินค้าเราไม่ได้ซื้อบ่อยๆการซื้อไปเก็บไว้ใช้ก็มีความจำเป็น โดยเฉพาะในหมวดของใช้และอาหารแห้ง ส่วนอาหารสดรวมทั้งอาหารแช่แข็งการซื้อไปเก็บกักตุนไว้ต้นทุนจะสูงทั้งทางตรงและทางอ้อม การเก็บไว้หลายๆวันไม่คุ้มเอาเสียเลย
คราวนี้เรามาดูกันว่าทำไมไม่คุ้ม โดยธรรมชาติของคนเราเมื่อเห็นมีของจำนวนมากเราก็จะใช้มากเป็นปกติแบบไม่รู้ตัว ยิ่งของกินในหมวดของของแห้งและขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้กว่าจะได้กินต้องเดินทางไปซื้อใช้เวลาพอสมควร แต่ตอนนี้อยู่เบื้องหน้าเราแล้ว จะรอช้าอยู่ใยต้องจัดการซะเพราะซื้อมากินนะไม่ได้ซื้อมาเก็บ
มีมากก็กินมาก
อย่างต่อมาคือการเก็บสินค้ามันมีต้นทุนในการเก็บโดยเฉพาะของที่ต้องแช่ในตู้เย็น แม้ว่าจะเป็นของแช่แข็ง การแช่ในตู้เย็นที่มีการเปิดปิดอยู่ตลอดเวลาและระดับความเย็นก็สู้ตู้แช่แข็งไม่ได้ คุณภาพสินค้าจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็วมากกว่าวันที่กำหนดไว้ในฉลาก
ส่วนอาหารสดเช่นเนื้อสัตว์ ผัดสดและผลไม้ ล้วนแล้วแต่มีอายุไม่นาน การแช่ตู้เย็นที่ความเย็นไม่ทั่วถึงและระดับความเย็นไม่ได้ ยิ่งทำให้อาหารเสียเร็วยิ่งขึ้นเก็บได้ไม่กี่วันก็ต้องรีบเอาออกมาทำกินกันแล้ว
อาหารอาจจะเน่าเสียก่อนใช้หมด
สิ่งที่แฝงมาอีกอย่างคืออาจจะพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เกิดจากการเก็บรักษาไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางเดินอาหารต้องเสียค่ารักษาด้วย อีกทั้งยังทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น บางบ้านที่เห็นว่ามีพื้นที่เก็บไม่พอก็ไปซื้อตู้เย็นหรือตู้แช่มาเพิ่ม ก็เป็นต้นทุนระยะยาวอีก
เพราะเมื่อสถานการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว ของที่ซื้อมาก็ยังอยู่กับเราแบบที่ไม่ได้ใช้ และเงินจำนวนหนึ่งก็ต้องใช้จ่ายออกไปมากกว่าปกติ บางครั้งก็มาจากการใช้สินค้าจากบัตรสินเชื่อต่างๆที่หลายท่านแบ่งจ่าย สิ่งนี้ก็เป็นต้นทุนแฝงมาอีกทาง
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารลำดับต้นๆของโลกอยู่แล้ว ความจำเป็นในการกักตุนสินค้าหมวดอาหารที่สามารถซื้อหาได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมออยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใดๆเลย มีแต่จะให้ให้ระบบการผลิตระบบการจำหน่ายผิดเพี้ยนไป และที่สำคัญคือกลไกการตลาดที่มีความต้องการสูงก็ย่อมทำให้ราคาสูงขึ้นตาม
อาหารสดมีเพียงพออยู่แล้ว
สินค้าโดยเฉพาะหมวดอาหารมีโอกาสที่จะขาดแคลนยากมาก เพราะเรามีห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานที่ค่อนค่างสมดุลอยู่แล้ว การกักตุนมีแต่จะทำให้เราเสียมากกว่าได้ เพียงแต่เราเปลี่ยนจากตระหนกมาเป็นตระหนัก เราจะพบว่าเงินในกระเป๋าของเราจ่ายออกไปได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือการที่มีผู้คนจำนวนมากเข้าไปซื้อสินค้า ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
ข้อแนะนำคือซื้อพอที่จะใช้ในช่วงไม่เกิน 7 วัน สำหรับอาหารแห้งและอาหารสำเร็จรูป ส่วนอาหารสดและหมวดนมสดไม่แนะนำให้ซื้อในจำนวนเกินกว่า 3 วัน เพราะมีทั้งโอกาสที่จะบริโภคเกินความจำเป็นและโอกาสที่อาหารจะเสียก่อนได้กินได้
ที่มา: หนีงสือพิมพ์แนวหน้า
พิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อถึงความจำเป็นและความคุ้มค่า แล้วจะทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าได้เพิ่มขึ้น
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา