25 มี.ค. 2020 เวลา 02:23 • ความคิดเห็น
เรื่องการเยียวยา....
ก่อนอื่นต้องบอกว่า มาตรการที่ออกมา เคทโอเคมากๆนะ เหมาะสมค่ะ อันนี้ต้องชม
แล้วที่ อ.สมคิด จับกลุ่มคุยกับเอกชนรายใหญ่ ก็เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องไป ผลออกมาแบบนี้ก็โอเคค่ะ
ทีนี้มาดูกันว่า รายละเอียดมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ...
สำหรับแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคม
มี 8 มาตรการดังนี้นะคะ ( คร่าวๆ )
1) สนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563)
>> อันนี้ต้องไปลงทะเบียนรับ ใน
www.เราไม่ทิ้งกัhttp://xn--q3c.com/ วิธีการไม่ยากค่ะ ใช้ข้อมูลบัตรอย่างเดียว และแจ้งรายละเอียดการว่างงานผลกระทบต่างๆ โดยจะจ่ายเข้าพร้อมเพย์
*** มาตรการนี้สำหรับคนที่ไม่อยู่ในระบบ ปกส นะคะ และสำหรับคนที่อยู่ ปกส จะมีอีกมาตรการนึง ซึ่ง ปกส จ่ายค่ะ แยกกันน้า ***
ตรงนี้ที่เคทประเมินนะคะ น่าจะใช้งบราวๆ 4.5หมื่นล้านค่ะเป็นกรอบวงเงินแรก โดยประเมินจากผู้อยู่ในกลุ่มนี้ 3 ล้านคน ตรงนี้น่าจะเริ่มได้เงินหลังวันที่ 1 เม.ย.
2) สินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท
คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกิน 0.10% ต่อเดือน ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน #ไม่ต้องมีหลักประกัน !!
รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 วงเงินรวม 4หมื่นล้านบาท
>> อันนี้แนะนำเลยว่า ให้คุณรีบไปทำไว้เลยค่ะ เอาเงินมาใช้ก่อน เพราะว่ามันไม่ต้องใช้หลักประกันอะไรเลย ใครก็ไปกู้ได้ ตรงนี้ออมสินดูแล
3) สินเชื่อพิเศษเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกิน 0.35% ต่อเดือน #โดยมีหลักประกัน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
>> ตรงนี้จะเน้นผู้ประกอบการรายเล็ก
4) สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับโรงรับจำนำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท โดยคิดดอกเบี้ยในอัตรา 0.10% ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี
1
>> อันนี้หมายถึง สำหรับคนที่จะไปวางจำนำกับ สถานธนานุเคราะห์ โรงจำนำของรัฐ ดอกเบี้ยต่ำพิเศษ
5) มาตรการเสริมความรู้ พิจารณาดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เสริมอาชีพเพื่อเสริมสร้างความรู้
>> ตรงนี้ยังไม่ชัดเจนแต่เข้าใจว่า เป็นแผนการต่อยอดสำหรับผู้ที่ตกงานค่ะ
6) มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563
7) เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ โดยวงเงินหักลดหย่อนไม่เกิน 25,000 บาท จากเดิม 15,000 บาท
8) มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ หรือผู้ที่เกียวข้องที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข
>> อันนี้ดีมากค่ะ 👏👏👏
จากเบื้องต้น 1-7 คือ ประชาชนจะมีกรอบวงเงินช่วยเหลือแน่ๆ ขั้นต่ำที่ 5,000-15,000 ค่ะ ส่วนกรณีคุณหมอก็พิเศษหน่อยค่ะ
**********************************
สำหรับมาตรเยียวยา “ผู้ประกอบการ”
ประกอบด้วย 7 มาตรการดังนี้
1) สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 กู้ต่อรายได้ไม่เกิน รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
2) มาตรการขยายเวลาการชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันและ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน จากเดิมยื่นขอชำระภาษีภายใน 10 วันเป็นภายในวันที่ 15 ของเดือน โดยมีระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563)
3) เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
-- รอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 (ภ.ง.ด. 50) สำหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการชำระภาษีตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
-- รอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 (ภ.ง.ด. 51) สำหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการชำระภาษีตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 29 กันยายน 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กันยายน 2563
4) เลื่อนเวลายื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษี โดยเลื่อนเวลา การยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษีทุกประเภทที่กรมสรรพากรจัดเก็บ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แก่
-- ผู้ประกอบการที่ต้องปิดสถานประกอบการตามคำสั่งของทางราชการ เช่น กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
-- ผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เฉพาะที่มีเหตุอันสมควรให้เลื่อนเวลาออกไป โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณา เป็นรายกรณี เพื่อเป็นการลดภาระในการจัดทำเอกสารและการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
5) เลื่อนการยื่นภาษีสำหรับกิจการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด COVID-19 เช่น ผับ ไนท์คลับ บาร์ ที่ปิดทำการหลังเวลา 24.00 ให้ยื่นแบบรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
6) ยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกัน COVID-19 ตามรายการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
7) มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้สำหรับ เงินได้ที่ได้จากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้ รวมไปถึงการโอนและการจำนอง จนถึงปลายปี 2564
ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกอบการ ส่วนตัวยังมองว่า ควรจะมีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาขึ้นมาโดยเฉพาะ การให้สินเชื่อ 3% มันดูเหมือนเยียวยาคนกลุ่มนี้น้อยไปนิดค่ะ เพราะอย่างหลายๆบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว เจ๊งไปเยอะนะคะ และร้านอาหาร ผับ ที่เพิ่งเปิดก็มีปิดตัวลงไปเลย อาจจะต้องดูแลกลุ่มนี้มากกว่าการช่วยเหลือทางภาษี และสินเชื่อค่ะ
ใครมีอะไร เพิ่มเติม มาแชร์กันได้นะคะ ส่วนเรื่องการพักชำระหนี้ของภาคธนาคาร ขอไปดูรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนนะคะแล้วว่ากันอีกที
มิ้วๆนะ 🤗
โฆษณา