26 มี.ค. 2020 เวลา 12:14 • สุขภาพ
ภัยในน้ำตาลเทียม (ตอนที่5)
คราวที่แล้ว เราพูดถึงอันตรายจากน้ำตาลเทียมที่ชื่อ แอสพาแทมกันแล้ว วันนี้จะพูดถึง ซูคลาโรสกันค่ะ
หลักๆในตลาดที่นิยมใช้กันอยู่ คือ
1. แอสพาแทม (Aspartame)
2. ซูคราโลส (Sucralose)
3. อะซีซัลเฟม-โพแทสเซียม (Acesulfame K)
4. หญ้าหวาน (Stevioside)
วันนี้เราจะมาขยายอันตรายของน้ำตาลเทียมแต่ละประเภทกันค่ะ (ต่อ)
ตอนที่ 2 ซูคราโลส (Sucralose)
ซูคราโลส (Sucralose) มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันคือ
สเปลนดา (Splenda)
ในไทยมีชื่อทางการค้าว่า ดีเอต (D-ET)
ซูคราโลส (Sucralose) เป็นสารให้ความหวาน
ที่ไม่จัดเป็นสารอาหาร
เพราะซูคราโลสไม่สามารถย่อยสลายได้โดยน้ำย่อยของร่างกาย
จึงไม่ก่อให้เกิดการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย
จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่า
ซูคราโลสให้รสหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 320 - 1,000
นั่นหมายความว่า หากเราต้องการเติมน้ำตาลในเครื่องดื่ม 1 ช้อนชา
เราจะใช้ ซูคราโลส เพียง 3-5 เม็ดเท่านั้น
ซูคราโลส ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศแคนาดา
หลังจากนั้น จึงกระจายสู่ประเทศอื่น เช่น  สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป
จนปัจจุบันนี้มีการใช้ ซูคราโลสในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
ซูคราโลสให้รสชาติหวานและไม่มีรสขมติดลิ้น
ใกล้เคียงน้ำตาล มีลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวร่วน ละลายน้ำได้ดีและสามารถใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาได้โดยไม่สูญเสียความหวาน
ถึงแม้องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ได้ให้การยอมรับความปลอดภัยของซูคราโลส
ทำให้ซูคราโลสเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง
มีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของซูคราโลสมากกว่า 100 ชิ้น ทั้งศึกษาในระยะสั้น และระยะยาว
ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาเรื่องเภสัชจลนศาสตร์ การก่อกลายพันธุ์ ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ ผลต่อทารกในครรภ์ ผลต่อการเกิดมะเร็ง ผลต่อระบบประสาท และผลต่อระบบภูมิต้านทาน
จากการทดลองซูคราโลสในระดับต่างๆไม่พบความเป็นพิษ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
โดยแม้ว่าโครงสร้างของซูคราโลสจะคล้ายกับน้ำตาล แต่ก็ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน และไม่ทำให้ฟันผุ
(ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิต ทำให้ค่อนข้างคลุมเคลือ)
อย่างไรก็ตามซูคราโลสก็ยังมีข้อเสีย
คือในการผลิตซูคราโลสโดยการเพิ่มคลอรีนเข้าไปในโมเลกุลน้ำตาล
เป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะของเราไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ด้วยในบางคน
นอกจากนี้สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับซูคราโลสก็คือคุณธรรมของผู้ผลิต ว่าใช้ซูคราโลสจริงหรือไม่
เนื่องจากมีข่าวที่ว่ามีผู้ผลิตบางรายต้องการลดต้นทุนในการผลิตซูคราโรสที่สูง โดยใช้แอสปาแตมแทน แต่บอกใช้ซูคราโลส
ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกใช้และอ่านฉลากอย่างถี่ถ้วน
องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้ซูคราโลสเป็นวัตถุเจือปนในอาหารชนิดต่างๆ 14 ชนิด ดังนี้
1. Baked goods and baking mixes
2. Beverage and beverage bases
3. Chewing gum
4. Coffee and tea
5. Dairy product analogues
6. Fats and oils (salads dressings)
7. Frozen dairy desserts and mixes
8. Fruit and water ices
9. Gelatins and pudding
10. Jams and jellies
11. Milk products
12. Processed fruits and fruit juices
13. Sugar substitue
14. Sweet sauces, toppings, and syrups
ปริมาณของซูคราโลส ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในคน (ADI) เท่ากับ 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
มาถึงตรงนี้ แม้หลายๆข้อมูล จะบอกว่าซูคราโลสปลอดภัย แต่ข้อมูลค่อนข้างคลุมเคลือ เพราะส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิต
แต่ทางด้าน ซูคราโลสกับจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น มีผลกระทบมาก โดยเฉพาะซูคราโลส
“น้ำตาลเทียมเป็นอันตรายต่อแเบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการย่อยอาหาร 
ในจำนวนนี้ ซูคราโลส มีพิษรุนแรงที่สุด เพียง 1 มก.จะเป็นอันตรายต่อแบคทีเรียอีโคไล1เซลล์”
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Ben-Gurion University(BGU) ของอิสราเอลซึ่งศึกษาวิจัยร่วมกับ มหาวิยาลัย Nanyang Technological University (NTU) ของสิงคโปร์
นักวิจัยพบว่า สารให้ความหวานเทียมอาจนำไปสู่ทุกสิ่ง ทั้งโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคที่เกี่ยวข้อง
เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ และอาจทำให้ป่วยหนักและหนักขึ้น
ดูเหมือนสารให้ความหวานจะไปเปลี่ยนแปลงประชากรของแบคทีเรียในลำไส้ โดยสนับสนุนการเติบโตของแบคทีเรียที่เพิ่มไขมันและแคลอรี่ที่สะโพกต้นขาและกระบังลม ส่งผลต่อการเผาผลาญและเก็บพลังงาน
และยังส่งผลกระทบต่อสมดุลของฮอร์โมนเช่น leptin พฤติกรรมการกินทำให้เราบางคนกินมากกว่าคนอื่นในสถานการณ์ที่กำหนด
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้นั้นมาจากกลุ่มย่อยเพียงสองกลุ่มนั่นคือ Bacteroidetes (แบคทีเรียผอม) และ Firmicutes (แบคทีเรียอ้วน)
สัดส่วนของ Bacteroidetes ต่อ Firmicutes จะเพิ่มขึ้น
เมื่อคนอ้วนลดน้ำหนักผ่านอาหารที่มีไขมันต่ำหรือคาร์โบไฮเดรตต่ำ
จะเห็นได้ว่าสารให้ความหวานเทียมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในร่างกายเรา
น้ำตาลจริงก็มีผลกระทบ
เรามาลดหวาน และ เปลี่ยนพฤติกรรมตากคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว มาทานเป็น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนกันดีกว่าค่ะ
พบกับ ตอนที่ 3 อันตรายจากน้ำตาลเทียม ตอน อะซีซัลเฟม-โพแทสเซียม ในบทความถัดไปค่ะ
อย่าลืมกดไลท์กดแชร์ ให้กับ ชะแลความก่อ ..ชะลอวัยใช่เลย..เคล็ดลับง่ายๆของคนวัยใสค่า
บทความตอนที่แล้ว
ตอนที่1 ภูมิคุ้มกันดีขึ้น หากคุณทำแค่สิ่งนี้
ตอนที่2 เรากำลังกินยาพิษ หรือยาอายุวัฒนะ
ตอนที่3 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดหวานเกินไปแล้ว
ตอนที่4 ภัยของน้ำตาลเทียม : แอสพาแทม
สามารถติดตาม เพจ..ชะแลความก่อ..ได้ตามช่องทางนี้ค่ะ
📍youtube
📍ติดตามในFacebook
📍ติดตามใน Blockdit
📍ติดตามในLine@
#แอสพาแทม #แอสปาแตม #aspartame #น้ำตาลเทียม #อันตราย #โทษ #ภัย #สารแทนความหวาน #อะซีซัลเฟม-โพแทสเซียม #ซูคราโรส #แบคทีเรียในลำไส้ #โรคอ้วน #ความอ้วน #ลดน้ำหนัก #สุขภาพ #ไขมัน #สารให้ความหวาน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา