27 มี.ค. 2020 เวลา 06:25 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์น่ารู้: เหตุใดจึงสร้างรถไฟสายมรณะ(Death-Railway)?
Cr:www.thai2siam.com
😍 คนไทยทุกคน คงคุ้นกับชื่อรถไฟสายมรณะกันดีนะคะ แต่วันนี้อยากจะหาข้อมูลมาเล่าเรื่อง ความเป็นมาเป็นไปของรถไฟสายประวัติศาสตร์นี้กันหน่อยนะคะ... เชิญรับฟังกันเลยค่ะ
"ทางรถไฟสายมรณะ(Death Railway)" คือสมญานามที่โลกตั้งให้กับทางรถไฟสายไทย-พม่าสายนี้ หรือชาวต่างชาติอาจเรียกว่า" Thai-Burma Death Railway "ก็ได้ ที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง
รูปภาพเส้นทางการสร้างรถไฟสายมมรณะจากบ้านโป่ง(BanPong)ถึง ทันบูซายัต(Thanbyuzayat)(Cr:www.bangkokpost.com
ที่มาของชื่อ " รถไฟสายมรณะ " ถือเป็นความทรงจำที่เลวร้ายเรื่องหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จนครั้งหนึ่งเคยมีผู้กำกับการแสดงชาวอังกฤษ เคยนำเรื่องราวการสร้างรถไฟสายนี้ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ " Brige on the River Kwai " กลายเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของฮอลลีวูด ทำให้ชาวโลกสนใจอยากเดินทางมาดูของจริงในประเทศไทย
ฉากในภาพยนต์ The bridge on the river Kwai(ค.ศ.1957)directed by David Lean(cr:www.britannica.com)
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2484 สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มก่อตัวขึ้น ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย และบุกเข้ามาเลเชียในช่วงกลางปี พ.ศ.2485 จากนั้นกองกำลังที่ฮึกเหิมของญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะต่อสู้กับฝ่ายกองทัพอังกฤษในพม่า แต่เป้าหมายคือต้องการบุกไปถึงอินเดีย
หากญี่ปุ่นใช้เส้นทางเดินเรือขนกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็จะเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางอากาศ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟตัดผ่านประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นฝ่ายไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น โดยเส้นทางรถไฟเริ่มจาก....
บ้านหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ไปยังชายแดนไทยพม่าตรง ด่านพระเจดีย์สามองค์ และไปยังเมืองทันบูซายัต ในพม่า
ในการก่อสร้างทางรถไฟนั้น ใช้แรงงานของกรรมกร ชาว แขก พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และคนไทย แต่ในระหว่างการสร้างนั้น มีกรรมกรเสียชีวิตมากมาย และเจอปัญหาหลายๆอย่างเช่น มีฝนตกหนักจนสะพานพังลง คนงานขาดอาหารและเกิดเจ็บป่วยล้มตาย(ด้วยเชื้ออหิวาต์ บิด มาเลเรียชุกชุม)และฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่จนทางรถไฟถูกทำลาย
ญี่ปุ่นจึงเพิ่มกำลังคน โดยได้เกณฑ์แรงงานของเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ซึ่งประกอบไปด้วยชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกัน ฮอลันดาและไอร์แลนด์ ราวๆ 61,700 ชีวิต มาร่วมกันสร้างทางรถไฟด้วย
สภาพการทำงานของเชลยสงครามและกรรมกร(Cr:www.Thailand-Burma Railway centre)
ในการสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ที่จะให้ผ่านไปพม่านั้น ด้วยลักษณะภูมิประเทศ ทำให้การสร้างเต็มไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในช่วง การวางรางรถไฟที่ต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ด้วยความเร่งรีบ จึงต้องมีการสร้างสะพานไม้ชั่วคราวขึ้นมาก่อน พวกเชลยทำงานไม่มีวันหยุด ต้องผลัดกันทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน โดยมีทหารควบคุมอย่างเข้มงวด
สะพานข้ามแม่น้ำแควชั่วคราว ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 เดือน แล้วจึงเริ่มสร้างสะพานถาวร (ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน)โดยที่เชลยศึกต้องยืนอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆทำให้ล้มป่วยเป็นจำนวนมาก
ในระหว่างการสร้างทางรถไฟสายนี้ นอกจากการที่เชลยต้องทำงานหนัก การขาดแคลนอาหาร ได้รับการปฏิบัติที่โหดร้ายจากผู้คุม และถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีหลายครั้ง จึงมีเชลยเสียชีวิตราวสองหมื่นกว่าคน
รูปภาพเชลยและกรรมกรในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ(cr:www.abc.net.au)
การที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนี้ จากที่เคยเรียกว่า " สะพานข้ามแม่น้ำแคว " จึงเปลี่ยนไปเรียกว่า " ทางรถไฟสายมรณะ"และมีคำกล่าวเปรียบเทียบว่า " หนึ่งหมอนรถไฟต่อหนึ่งชีวิต " ฟังแล้วเศร้าๆจริงค่ะ
สภาพเชลยและกรรมกรในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ/ในแคมป์ที่พักสภาพเชลยที่ซูมผอม เจ็บป่วยจากการใช้แรงงานอย่างหนักและขาดแคลนอาหาร(cr:www.lowfellwritersplace)
จะมีช่วงหนึ่งที่ทางรถไฟสร้างลำบากมากที่สุด เชลยศึกต้องเสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน คือบริเวณสะพานถ้ำกระแซ เนื่องจากมีเทือกเขาสูงชัน และมีเหวลึกที่ยาวที่สุด ติดกับลำน้ำแควน้อย เชลยศึกต้องสร้างทางรถไฟเลียบลำน้ำและลัดเลาะ ไปตามภูเขายาว 400 เมตร
บริเวณปากถ้ำกระแซ ที่รถไฟสายมรณะสร้างตัดผ่าน(cr:www.edtguide.com)
นักโทษต้องทำงานเร่งอย่างหนักและไม่หยุดจนมีคำพูดว่า " สปีดโด "(Speedo) หรือ " ทำไปอย่างหยุด "การก่อสร้างช่วงนั้น เรียกว่าห้วงเวลาแห่งความเร่งด่วน เชลยศึกและคนงานชาวเอเชียถูกบังคับให้ทำงานจนค่ำ ที่บริเวณซึ่งทำการตัดช่องเขาขาดนั้น แสงไฟจากกองไฟส่องกระทบร่างกายเชลยที่ผอมโซ จึงเป็นที่มาของชื่อ " ช่องเขาขาด " หรือ " ช่องไฟนรก"(Hellfire Pass)
บริเวณ " ช่องเขาขาด " มีแผ่นป้ายจารึก ธงชาติและช่อดอกไม้เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตที่สร้างทางรถไฟสายมรณะ(cr:www.touronthai.com)
อนุสรณ์ช่องเขาขาด จะมีธงชาติของ 5 ประเทศ พร้อมแผ่นจารึกหินอ่อนเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ(cr:www.touronthai.com)
ทางรถไฟสายมรณะสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2486 โดยมีระยะทางยาว 415 กิโลเมตร 37 สถานี เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 )เริ่มต้นจาก..สถานีท้องช้าง , ถ้ำผี,หินตก....ไปเรื่อยๆจนไปถึงด่านเจดีย์สามองค์
พ.ศ.2488 ภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้สงคราม กองทหารอังกฤษจึงได้รื้อถอนทางรถไฟ ในฝั่งพม่าออก 30 กิโลเมตร และรื้อทางรถไฟในเขตประเทศไทยออก6กิโลเมตร
ทำให้ทางรถไฟสายนี้หมดสภาพการใช้งานต่อไป
ต่อมารัฐบาลไทยได้ขอซื้อทางรถไฟสายนี้และวัสดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในราคา 1,250,000 ปอนด์ (ประมาณ 50ล้านบาท) จากอังกฤษแล้วบูรณะใหม่จนสามารถใช้งานได้จนมาถึงปัจจุบัน
❤️ ข้อมูลเสริมค่ะ
-ปัจจุบันนี้ หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี หากสนใจศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ สามารถไปที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย-พม่า(Death Railway Museum Research Centre) และศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาด(Hellfire Pass Memorial Meseum)
Cr:www.sites.google.com
Cr:www.touronthai.com
ศูนย์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ มีจัดแสดงมินิเธียเตอร์ และรวบรวมข้อมูล ภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะด้วยค่ะ
🌸ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ
หากชอบสาระ มาพร้อมกับความรู้
ฝากกด like &share และ
🥗กดติดตามด้วยนะคะ (ขอบคุณค่ะ)❤️
Dent-jasmine เรียบเรียง
Ref.(🙏🏼🙏🏼ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก)
-www.mgronline.com/onlinesection/detail/9600000081756
-www.thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3546
โฆษณา