29 มี.ค. 2020 เวลา 15:19 • ความคิดเห็น
มีเรื่องอยากเตือนนิดนึง
อันที่จริงก็เตือนมาเสมอนะคะ คือ เมื่อกี้คุยกับเพื่อนเรื่องหนี้ครัวเรือน เพื่อนถามว่าหนี้ครัวเรือนเราจะเพิ่มประมาณเท่าไหร่ เคทประเมินคร่าวๆว่ามีโอกาสเพิ่ม 7% 7% นี้มาจากไหน ก็มาจากการออกสินเชื่อมาตรการเยียวยาในระบบของรัฐ และสินเชื่อนอกระบบที่จะเกิดขึ้น เดิมเรามีหนี้ทั้งในและนอกระบบ เกือบๆ 80% ของGDP หรือราวๆ 13ล้านล้าน หนี้ครัวเรือนมันจะไม่ค่อยน่ากลัวหรือเป็นปัญหามากนัก ถ้าเศรษฐกิจเราเติบโตดี แต่สภาพตอนนี้ก็อย่างที่เห็น มันยังมีโอกาสเกิดหนี้ได้อีกต่อไป
ทีนี้คุยกันง่ายๆเลย ตอนนี้เรามีเงินเก็บกันคนละเท่าไหร่ ถ้าต้องใช้เงินเก็บที่มีจะอยู่ได้กี่เดือน ? และถ้าต้องขายสินทรัพย์บางอย่างออกจะประคองไปได้นานเท่าไหร่ แน่นอนว่าสินทรัพย์รวมของหลายๆคนคงลดลงไปเยอะ อย่าลืมนึกถึงตรงนี้ไว้
อย่าลืมนะคะว่าแม้ในสถานการณ์ไวรัสจะดีขึ้นต่อจากนี้ในเร็ววันก็ตาม แต่การฟื้นเศรษฐกิจต้องใช้เวลาหลายเดือนค่ะ ความเชื่อมั่นและพฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไป ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นคืน อยากให้มองยาวๆไว้สัก 5-6 เดือน
สิ่งที่อยากเตือนตอนนี้คือ พยายามประหยัดให้มากที่สุดค่ะ ประหยัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ รัดเข็มขัดให้ดีเพราะเงินในระบบอาจจะไม่พอจ่ายให้คุณในกรณีถ้าหากคุณคิดว่าจะเอาสินทรัพย์ไปจำนองหรือจำนำ
ลองนึกดูว่าถ้าคนส่วนใหญ่นำสินทรัพย์ไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดออกมาพร้อมๆกัน โดยที่ไม่มีกำลังซื้อจะเกิดอะไรขึ้น
สินทรัพย์จะด้อยค่าลงกว่าเดิมหลายเท่าตัวเลยค่ะ เพราะไม่มีดีมานด์ อีกทั้งปกติสินทรัพย์ก็ไม่หมุนเวียนอยู่แล้วกลายเป็นทุนตาย
ประเทศไทยเราคนที่มีเงินเก็บหลักหมื่น ไม่ได้มีเยอะนะคะ ถ้าว่ากันที่หลักแสนก็คงมีไม่ถึง 10%
ทางออกมันมีไม่มากนัก พยายามหารายได้เพิ่มทุกช่องทาง มองหาโอกาสในทุกๆตลาด และประหยัดใช้เท่าที่จำเป็นไว้ก่อน
วันนี้ฝากไว้เท่านี้ค่ะ ใครมีอะไรแลกเปลี่ยน แชร์ข้อมูลกันได้นะคะ
ป.ล. บทความหนี้ครัวเรือนที่วิเคราะห์ไว้ปีที่แล้ว อยากให้ลองอ่านประกอบดูนะคะ 👇👇
มิ้วๆนะ
โฆษณา