30 มี.ค. 2020 เวลา 17:36 • ธุรกิจ
🔥ด่วน! ราคาน้ำมันตกดิ่ง (-9.62%) หลุด $20 แล้ว! เหลือ $19.44 ต่ำที่สุดในรอบ 21 ปี เหตุเป็นเพราะสงครามราคาน้ำมัน ของยักษ์ใหญ่ของโลก ทำให้มีปริมาณของน้ำมัน มีมากกว่าความต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
อีกทั้งยังมี ไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทาง และการท่องเที่ยวทั่วโลกต้องหยุดชะงักลง อีกทั้งเครื่องบินทั่วโลก มากกว่า 70% จอดแช่อยู่สนามบิน
และล่าสุด 🇸🇦ซาอุดิอาระเบีย Top 3 ผลิตน้ำมันของโลก ประกาศเพิ่มปริมาณส่งออกน้ำมันอีกแล้ว ! เพิ่มเป็น 10.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือว่าส่งออกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ซาอุดิอาระเบีย !
1
ในปัจจุบัน ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโลกเมื่อต้นปี 2020 นี้เลย อยู่ที่ 82 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยมีการแบ่งสัดส่วนการผลิตของโลก Top 5 ดังนี้
1) 🇺🇸สหรัฐ 13.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน (15.6%)
2) 🇷🇺รัสเซีย 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (13.7%)
3) 🇸🇦ซาอุดิอาระเบีย 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน (12.1%)
4) 🇮🇶อิรัก 4.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (5.9%)
5) 🇨🇳จีน 4.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (5.9%)
แล้วเหตุใด? ทำไมการที่ ซาอุดิอาระเบีย ถึงไม่สนใจเรื่องราคาน้ำมันตกแรงแบบนี้ เนื่องจาก "ต้นทุน" นั้นเอง เพราะทวีปตะวันออกกลางมีต้นทุนที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ มากมากๆ โดยปัจจุบัน ต้นทุนการขุดน้ำมัน สำหรับหลุมที่ขุดแล้ว คือดังนี้
1
1) ตะวันออกกลาง น้อยกว่า < 10 เหรียญต่อบาร์เรล
2) รัสเซีย บลาซิล ทะเลเหนือ และ อ่าวเม็กซิโก 10-15 เหรียญต่อบาร์เรล
3) แถบอเมริกาใต้ และ เวเนซุเอลา 15-20 เหรียญต่อบาร์เรล
4) แคนนาดาแบบน้ำมันทราย (Oil Sands) 20-25 เหรียญต่อบาร์เรล
5) สหรัฐ 30-60 เหรียญต่อบาร์เรล
ทุกคนเคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมตั้งแต่ ปี 2018 ราคาน้ำมันถึงลดลงมาเรื่อยๆ ? เหตุเป็นเพราะ Supply ของน้ำมันมีมากกว่า Demand มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว จึงทำให้ราคาน้ำมันลดลงนั้นเอง
การที่ราคาน้ำมันลดลงแบบนี้ แน่นอนกระทบยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ แน่นอน ทั้งๆเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่กับการมีต้นทุนมีมากกว่าใครๆ ดังนั้นทรัมป์ไม่ถูกใจสิ่งนี้แน่นอน และทรัมป์ยังเป็นตัวแทนคนกลาง เจรจาพูดคุย ซาอุ และรัสเซีย หยุดทะเลาะกัน และอยากจะให้ร่วมมือกันเหมือนเดิม เพราะตัวทรัมป์เองโดนผลกระทบนี้เต็มๆไง
เหตุใดซาอุดีอาระเบียจึงเปิดศึกราคาน้ำมัน ?
กลุ่ม OPEC+ ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปก ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียเป็นพี่ใหญ่ บวกกับประเทศผู้ผลิตน้ำรายใหญ่ที่อยู่นอกโอเปก (non-OPEC) ซึ่งยกให้รัสเซียเป็นหัวหอก โดยสาเหตุที่ทำให้คู่แข่งหันหน้ามาจับมือเป็นพันธมิตรกันนั้น เป็นเพราะต้องการดันราคาน้ำมันโลกให้ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางสภาวะอุปทานล้นตลาดจนฉุดน้ำมันให้ร่วงลง
โดยประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เป็นสมาชิกโอเปกและไม่ใช่สมาชิกโอเปกได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะลดการผลิตน้ำมันดิบให้น้อยลง ผ่านการตกลงร่วมกันว่าแต่ละประเทศจะผลิตน้ำมันไม่เกินเท่าไหร่ หรือการกำหนดโควตา ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ทั้งสองฝ่ายก็เห็นพ้องปรับลดการผลิตร่วมกันมาโดยตลอดอย่างไรก็ตาม
ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.ผ่านมา โอเปกได้เสนอให้ปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ท่ามกลางอุปสงค์ที่ซบเซาอันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง
แต่คราวนี้ รัสเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกรายสำคัญที่สุดในกลุ่ม non-OPEC แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โดยยืนยันจุดยืนเดิมที่ต้องการให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันปรับลดกำลังการผลิตตามโควตาเดิมต่อไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสสอง
นั่นทำให้ซาอุดีอาระเบียไม่พอใจ และออกมาตอบโต้รัสเซียทันควัน ด้วยการประกาศปรับลดราคาน้ำมัน และประกาศความพร้อมที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมัน โดยมีเป้าหมายที่จะชิงส่วนแบ่งตลาดจากรัสเซีย
เหตุใดรัสเซียจึงไม่ยอมลดการผลิต ?
เหล่าผู้สันทัดกรณีในตลาดน้ำมันเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้รัสเซียปฏิเสธข้อเสนอลดกำลังการผลิตของโอเปกในครั้งนี้ ก็คือ ต้องการขัดขวางการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมัน Shale Oil ของสหรัฐ ที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อผูกมัดให้ต้องจำกัดปริมาณการผลิต แถมยังได้อานิสงส์ กลายเป็นตาอยู่หยิบชิ้นปลามัน จากการที่กลุ่มพันธมิตร OPEC+ ลดการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันอีกด้วย
รัสเซียมองว่า การลดการผลิตเพื่อทำให้ราคาน้ำมันสูงกว่าในปัจจุบันนั้น ไม่เป็นผลดีกับตนเอง แต่กลับจะเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ของสหรัฐได้ประโยชน์และเติบโตขึ้นอีก โดยอุตสาหกรรม Shale Oil มีบทบาทสำคัญที่ทำให้สหรัฐก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่า อุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อุตสาหกรรม Shale Oil ของสหรัฐ ก็ยังคงประสบปัญหาในเรื่องการทำกำไร เนื่องจากการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานนั้นมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการขุดเจาะน้ำมันแบบทั่วไป ซึ่งรัสเซียมองเห็นช่องโหว่ดังกล่าว และสบโอกาสที่จะเข้ามาชิงส่วนแบ่งจากอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐ
อิกอร์ เซชิน ผู้บริหารบริษัทน้ำมัน Rosneft ของรัฐบาลรัสเซีย และเป็นสหายคนสนิทของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน คือหัวหอกคนสำคัญที่คัดค้านการที่รัสเซียร่วมมือลดการผลิตกับกลุ่มโอเปก รวมถึงคัดค้านการใช้กลยุทธ์ปรับลดการผลิต เขาเชื่อว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นกลับกลายเป็นผลดีกับบรรดาคู่แข่ง โดยเฉพาะสหรัฐ
1
“ข้อตกลงลดการผลิตลงไม่มีประโยชน์อันใดกับผลประโยชน์ของรัสเซีย” Mikhail Leontiev โฆษกของ Rosneft กล่าวกับสื่อของรัสเซีย พร้อมทั้งระบุด้วยว่า การลดการผลิตของกลุ่ม OPEC+ เป็นการ “เคลียร์พื้นที่” ให้กับน้ำมัน Shale Oil ของสหรัฐ
หุ้นไทยที่โดนผลกระทบ: IRPC, TOP, SPRC, PTTGC, PTT, PTTEP, IVL และ BCP
โฆษณา