31 มี.ค. 2020 เวลา 16:05 • การศึกษา
วิธีชาวดัช กับ หลักการรักษาคนป่วยอาการหนัก - Quality of Life and Beautiful Death
ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา แทบทุกประเทศบนโลกถูกโจมตีด้วยโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ หรือ Covid-19 โดยไวรัสตัวนี้เข้าไปโจมตีที่ปอดเป็นหลัก ทำให้คนป่วยหายใจไม่ทันและเข้าสู่สภาวะวิกฤติได้ภายในเวลาไม่กี่วัน
ซึ่งคนป่วยต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในห้องคนป่วยวิกฤติหรือ Intensive Care Unit (ICU) เนื่องจากมันเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่มนุษย์โลกไม่เคยรู้จักมาก่อน ทำให้เมื่อได้รับเข้าไปเกิดการป่วยพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน จึงเกิดเหตุการณ์ที่คนป่วยท่วมโรงพยาบาล จนไม่สามารถรองรับคนไข้พร้อมๆ กัน ได้
ประเทศไหนที่มีหมอ และ ห้อง ICU และเครื่องช่วยหายใจ จำนวนมาก คนในประเทศนั้นก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้สูงกว่าประเทศที่มีอุปกรณ์และบุคลากรไม่เพียงพอ
ในปัจจุบัน เยอรมัน มี เตียง ICU สูงถึง 28000 เตียง และ มีเครื่องช่วยหายใจถึง 25000 เครื่อง คิดเป็นประมาณ 29.2 เตียง ต่อประชากร 100,000 คน ถือว่าสูงที่สุดเป็นอันดับสองในโลก
ในขณะที่ เนเธอร์แลนด์มีเตียง ICU ประมาณ 1100 เตียง คิดเป็น 6.2 เตียงต่อประชากร 100,000 คน และค่าเฉลี่ยของประเทศในยุโรปอยู่ที่ 11.5 เตียงต่อประชากร 100,000 คน
ไทยอยู่ที่ 6.77 เตียง ต่อประชากร 100,000 คน ตัวเลขนี้เฉพาะของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่นับของเอกชน
เนื่องจากมันไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน จึงทำให้ไม่เคยมีใครให้ความสนใจ จำนวนห้อง ICU ในประเทศกันมาก่อน จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นและตอนนี้จำนวนห้อง ICU และเครื่องช่วยหายใจเริ่มไม่เพียงพอ
จึงเริ่มเกิดคำถามกันว่า แล้วทำไมมันถึงไม่พอ ทำไมมันถึงมีน้อย ทำไมถึงไม่เพิ่มงบประมาณในส่วนนี้ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรป อย่างเช่น ตอนนี้ประเทศ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศล ล้วนแต่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากประเทศ เยอรมัน ที่มีจำนวนห้อง ICU ต่อประชากรมากที่สุดในยุโรป
ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์หนึ่งจากประเทศเนเธอร์แลนด์ น่าสนใจมาก โดยประเทศนี้มีจำนวนเตียง ICU เพียง 6.2 เตียงต่อประชากร 100,000 คน ทั้งที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยติดระดับหัวๆ ของประเทศในยุโรป แต่ถ้าไปดูตัวเลขดีๆ จะพบว่าเงินงบประมาณที่ประเทศนี้ทุ่มไปให้กับระบบสาธารณสุขก็ถือว่าไม่ได้น้อย อยู่ที่ประมาณ 5.5% ของ GDP แล้วทำไมเตียงมันถึงน้อยอย่างนั้น
1
คุณหมอ Marianne Brackel ซึ่งเป็น ประธานสมาคมดูแลผู้ป่วยหนักของเนเธอร์แลนด์ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการในการรักษาคนป่วยของเนเธอร์แลนด์นั้น ยึดหลักที่ว่า Quality of Life มากกว่า Extending Life Span หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีชีวิตยืนยาวต่อไปแต่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เช่นต้องเจ็บปวด หรือ ใช้ชีวิตยากลำบากต่อไป ก็ไม่จำเป็นต้องช่วยก็ได้
เค้าพูดแบบนี้
"Is de kans op herstel klein, dan wordt er eerder gekozen voor palliatieve zorg, dus het verlichten van pijn, op een andere locatie."
คือถ้าโอกาสในการรอดต่ำ เค้าก็อาจจะปรึกษาผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยยินยอม หรือญาติ (กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว) เค้าก็อาจจะเลือกที่จะหยุดรักษา และเพียงช่วยบรรเทาความเจ็บปวดเท่านั้น.... ช่างเข้ากับเหตุการณ์ในช่วงนี้จริงๆ แต่นี่คือหลักการที่เค้าใช้รักษาผู้ป่วยในช่วงเหตุการณ์ปกติอยู่แล้ว
ซึ่งอาจจะขัดกับหลักมนุษยธรรมไปสักหน่อย และแตกต่างอย่างมากกับหลายๆ ประเทศ อย่างเช่น เยอรมัน หรือ อิตาลี ที่หมอ จะต้องให้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ในการที่จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวต่อไปได้ ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม ทำให้ต้องมีจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักต่อประชากรสูงมาก
โดยประเทศนี้ ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้ป่วยสามารถที่จะเลือกในการหยุดชีวิตตัวเองได้ ถ้าการที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปแล้วมันทรมาน
ดังนั้นจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักจึงไม่จำเป็นต้องสูงมาก เนื่องจากผู้ป่วยหลายคนเลือกที่จะไม่ใช้ชีวิตอยู่ต่อ หมอ ก็จะแค่ประคองอาการ ไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวด จนกระทั่งหมดลมหายใจไปในที่สุด จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องไอซียูเสมอไป เค้าเรียกว่า Beautiful Death หรือ ความตายที่สวยงาม…….แม่เจ้า
ในสถานการณ์โรคระบาดที่อุปกรณ์ช่วยชีวิต อาจจะไม่เพียงพอย่างนี้ หมอ ในเยอรมัน บอกว่า ถึงเยอรมันจะมีอุปกรณ์จำนวนมาก แต่ถ้ายังชะลอการระบาดไม่ได้ ก็อาจจะไปถึงจุดที่ ต้องเลือกว่าใครจะอยู่ใครจะตาย ก็ได้ ซึ่งทำใจได้ยาก เนื่องจาก German Philosophy คือ ต้องช่วยทุกคน ในขณะที่ Dutch Philosophy คือ ช่วยคนที่มีโอกาสรอดก่อน ดังนั้น คุณหมอจากเยอรมันให้สัมภาษณ์ ว่าเมื่อถึงจุดนั้น ดัช จะพร้อมในการตัดสินใจได้เด็ดขาดกว่าเยอรมันมาก
1
ดังนั้นตอนนี้ฝรั่ง หลาย ๆ คน ก็เลยเอามาแซวกันว่า ถ้าอยาก ได้ Better Life and Beautiful Death ให้ไปอยู่เนเธอร์แลนด์ ถ้าอย่างได้ Better Life and Long Life ให้ไปอยู่เยอรมัน...... ตลกร้ายดีนะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา