31 มี.ค. 2020 เวลา 18:26 • สุขภาพ
เมื่อวาน วันที่ 31/3/63
เรามีผู้ป่วยcovidรายใหม่น้อยกว่า ผู้ป่วยที่รักษาหาย!!!
ขอยืมรูปจาก ลงทุนแมน
ปกติcovid เป็นโรคที่ไม่รุนแรง ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยทีีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ ถึง 80% จะมีเพียง 20% ที่เป็นรุนแรง และมีเพียง 5% เท่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์ วิกฤติ
ถ้าลองมองย้อนกลับไป ที่ผ่านมา เรามีเคสใหม่ เยอะกว่าผู้ป่วยที่หายแล้ว มาตลอดทุกวัน เลยทำให้ยอดผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ หรือที่เรียกว่า active case เพิ่มสูงขึ้นมาตลอด จนกระทั่งเมื่อวาน จะเห็นได้ว่าผู้ป่วย active case ลดลง
แปลว่าสถานการณ์เราดีขึ้นแล้ว
จริงหรือไม่?
ตำตอบคือ ไม่จริงค่ะ
ปกติ ผู้ป่วย covid เมื่อวินิจฉัยแล้ว ด้วยวิธีการ PCR (คือตรวจทางพันธุกรรม) จะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และจะทำการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเมื่อ PCR ไม่พบเชื้อแล้ว
โดยช่วยแรก ที่เคสประเทศไทยยังไม่เยอะ
กรมควมคุมโรค ให้ทำ PCR ว่าไม่พบเชื้อแล้ว ถึง 2 ครั้ง จึงตะจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ซึ่งการทำ PCR 2 ครั้งนี้ โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 2 วัน เป็นอย่างน้อย
ต่อมาเคสเยอะขึ้น กรมควบคุมโรคเห็นว่า ไม่ไหวและ จะรอ PCR ไม่เจอเชิ้อ 2 ครั้ง น่าจะนานไป
การกรมจึงคิดว่า เอาอย่างนี้ละกัน อาการหาย PCR ไม่พบเชื้อ 1 ครั้งก็กลับได้ แต่ช่วงนี้เคสเยอะขึ้นมากแล้ว ระยะเวลาในการรอผล PCR จึงยาวนานขึ้น อาจจะเป็น 2 วัน (ส่งผลให้เคลียผู้ป่วยกลับบ้านได้ช้า ในสถานการณ์ที่เคสใหม่เยอะๆแบบนี้ เตียงจะเต็มกับหมดพอดี)
จากข้อมูลที่ผ่านมา PCR กว่าจะเป็นลบ ใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน นั่นแปลว่าผู้ป่วยคนนึง ต้องนอนรพ.นานมากๆขนาดนั้นเลยหรือ?? (ทั้งๆทีีส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอาการน้อย)
เนื่องจากสภานการณ์เตียงโรงพยาบาลในประเทศไทยอยู่ในภาวะตึงมือมากๆแล้ว
ทางกรมเห็นว่าจำนวนเคสที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนี้ จะส่งผลให้เตียงเต็มไปยิ่งกว่านี้
ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ คือ ให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น
นั่นคือ ไม่ต้องรอผลยืนยันว่าไม่พบเชื้อ ก่อนกลับบ้านอีกต่อไป
ใช่ค่ะ เมื่อวันที่ 30/3/63 การควบคุมโรคออกเกณฑ์ใหม่มากว่า ถ้าอาการดีขึ้น 7 วัน สามารถไปอยู่รพ.สนามได้ และอยู่จรครบ 14 วัน ถ้าอาการดีแล้ว ก็กลับบ้านได้เลย ++ไม่ต้องทำPCRอีก++
เอ๊ะ! แล้วอย่างนี้คนป่วย จะปลอดภัยมั้ย
คำตอบคือ ปลอดภัยคะ โดยปกติโรคนี้ จะมาอาการหนักๆ ให้เห็นก็เป็นช่วยประมาณปลายสัปดาห์แรก ดังนั้่น อยู่ให้สังเกตอาการ รวมๆ14 วัน ก็เกินพอ ที่จะพ้นระยะอันตรายของโรค
ถ้าไม่ตรวจ PCR ออกไปจะแพร่เชื้อไดัมั้ย? คำตอบคือ...ยังไม่มีใครรู้ค่ะ!!
จากข้อมูลที่ผ่านมา ผู้ป่วยคนนึงจะตรวจเจอเชิ้อได้ยาวนานถึง 14-21วัน!!!
นั้นแปลว่า อาการหายแล้ว เชื้อยังตรวจเจอต่อได้ (ส่วนที่อาการไม่รุนแรง มักมีอาการอยู่ไม่ถึง 1 สัปดาห์)
ซึ่งจริงๆบอกไม่ได้ค่ะ ว่าเชื้อที่ตรวจเจอนั้น เป็นเชื้อตายแล้ว (ซากไวรัส)หรือ เชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่
เพราะการตรวจ PCR เป็นตรวจหาแค่สารพันธุกรรมของไวรัส ไม่ได้บอกว่ามันยังมีชีวิตอยู่ หรือ ที่ตรวจเจอนั้น เป็นซากของมันก็ได้
ถ้ามันเป็นไวรัสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็อาจจะติดต่อผู้อ่านได้ แต่ถ้ามันเป็นเพียงซากไวรัส ก็ไม่ก่อโรคกับใครได้อีก
้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเชื้อมันเป็นหรือเชื้อมันตายแล้ว
คำตอบคือ ต้องเพาะเชื้อ
แต้การเพาะเชื้อไวรัสนี้ทำไดัยาก แล้วก็ไม่ practical เลย
แต่เราเชื่อว่า ถ้าหลัง 14 วันไปแล้ว น่าจะเป็นเชื้อตาย
ใช่ค่ะ มันเป็นเพียง "ความเชื่อ"
แต่เป็นควาทเชื่อที่อยู่บนเหตุและผล อ้างอิงจากไวรัสในอดีต
ทางกรมตระหนักถึงข้อนี้ดี
จึงให้ผู้ป่วยที่กลับบ้านไปแล้วนั่น "กักตัว" ต่ออย่างเข้มงวด จนครบ 1 เดือน
ซึ่งจริงๆก็ดีมากแล้ว เที่ยบกับอังกฤต ที่บอกว่าไม่ต้อง admitถ้าป่วยกักตัว 7 วันพอ
แม้แต่ Prince Charles ก็เช่นกัน (คนไทยได้ admit ขณะที่เจ้าฟ้าชายมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร ไม่ได้ admit)
ดังนั้น จึงเป็นที่มาว่า ทำไม วันที่ 31 เราจึงมีผู้ป่วยหาย ถึง สองร้อยกว่าคน
นั่นเป็นเพราะ เราเปลี่ยนวิธีนิยาม คำว่า "หายป่วย" นั่นเอง
สิ่งที่สำคัญยิ่งยวดคือ ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการกักตัวอย่างสูง มิฉะนั้น ถ้าหากกรมควบคุมโรคเกิเดาผิดขึ้นมา อาจจะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นก็เป็นได้
เริ่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าเชื่อในตัวเลขที่เห็น
โฆษณา