5 เม.ย. 2020 เวลา 13:02 • ความคิดเห็น
อ้ายจงเล่าจีน ตอน จีนจัดการอย่างไรกับปัญหาคอรัปชั่น
หนึ่งในคำถามที่มีผู้ถามเข้ามาค่อนข้างบ่อย คือ คำถามที่ว่า ที่จีนมีปัญหาคอรัปชั่นหรือไม่? ที่จีนมีปัญหาเหล่านี้อย่างไร?
สำหรับคำถามนี้ ต้องกล่าวตรงๆว่า "ทุกที่ล้วนมีขาวและดำ” การคอรัปชั่น ก็เช่นกัน ดังนั้นพูดถึงจีน จีนก็มีเช่นกัน
ภาพจาก www.news.cn
โดยการปราบคอรัปชั่นถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เน้นย้ำอยู่ตลอด
ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบวินัยแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 19 ครั้งที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นการประชุมวางแผนต่อต้านทุจริตของจีนประจำปี 2563
1
สีจิ้นผิงประธานาธิบดี เน้นย้ำ "จีนเดินหน้าปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่นต่อไปอย่างไม่หยุด โดยเฉพาะการปราบคอรัปชั่นที่เกี่ยวกับนโยบายแก้จนในเขตชนบท โดยมีจุดมุ่งหมายไม่ให้มีใครกล้าหรือคิดที่จะคอรัปชั่นได้อีกในจีน"
สีจิ้นผิงยังย้ำอีกว่า "หากพบว่า ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐปลอมแปลงข้อมูลว่าปัญหาถูกแก้ไขแล้วแต่แท้จริงไม่ได้แก้ ก็คือการซุกปัญหาไว้ใต้พรม รวมถึงการรับสินบนและเอาตำแหน่งมาเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก"
3
โดยทางการจีนพยายามปราบปรามอย่างหนักมาโดยตลอด แม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่โกงกินจะหนีออกจากจีนไปกี่ปีก็ตาม ซึ่งทางการจีนได้จัดตั้งหน่วยงานสำหรับดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เรียกว่า “ปฏิบัติการล่าสุนัขจิ้งจอก"
1
สำหรับปฏิบัติการล่าสุนัขจิ้งจอก ทางจีนได้เปิดเผยว่า เฉพาะในปี 2016 ปีเดียว จีนได้รวบตัวผู้ต้องหาคดีคอรัปชั่นที่หนีไปต่างแดนกลับมารับโทษที่จีน จำนวน 634 ราย โดย 205 ราย พัวพันในคดียักยอกเงินกว่า 10 ล้านหยวน , 59 ราย ยักยอกเงินกว่า 100 ล้านหยวน, 50 ราย คดีทุจริตในหน้าที่ ,31 ราย คดีลักลอบขนของเถื่อน ,48 ราย หลบอยู่นอกประเทศมากกว่า 5ปี และ 17 ราย หลบหนีนอกประเทศนานกว่า 10 ปี
1
จากที่อ้ายจงอยู่จีนมา จะเห็นได้ว่า เวลามีข่าวเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจพัวพันกับคดีคอรัปชั่น ทางสื่อจีนแทบทุกสื่อจะนำเสนอข่าวนี้ เหมือนเป็นการปลูกฝังการต่อต้านทุจริตและคอรัปชั่นให้กับประชาชนในประเทศ
3
人民的名义 In the name of people ซีรีย์เนื้อหาปราบคอรัปชั่นเรื่องแรกของจีน
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2017 มีซีรีย์เรื่องแรกของจีนที่นำเสนอนโยบายการปราบคอรัปชั่นของจีน ชื่อว่า "人民的名义 In the name of people" เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากโซเชียลจีนเป็นอย่างมาก เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนมีจิตสำนึกมากขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเอาจริงนะ ตอนอ้ายจงอยู่จีนเรื่องนี้ดังพอสมควรเลยนะ ถูกพูดถึงในสังคมออนไลน์มากทีเดียว
ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 เมื่อตุลาคม 2017 ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ที่ได้รับความสนใจในจีนและทั่วโลก มีการประชุมทุก5ปี เพื่อแต่งตั้งผู้นำจีน และการวางนโยบายบริหารประเทศสำหรับ 5 ปีข้างหน้า โดยสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้แถลงนโยบายที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการปราบคอรัปชั่นในจีน ดังนี้
2
1. ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ยืนกรานอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้กับปัญหาคอรัปชั่น เป็นการต่อสู้ที่ไม่มีการสิ้นสุด จีนจะต่อสู้และแก้ปัญหาอย่างไม่มีวันหยุด เพื่อทำมห้ประเทศมั่นคงและพัฒนาอย่างมากที่สุด
2. การคอรัปชั่น เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ระบุว่า จะมีการผลักดันให้มีกฎหมายต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นในจีน ซึ่งไม่ว่าจะทุจริตเล็กน้อยหรือใหญ่เพียงใด ถือว่าคอรัปชั่นทั้งนั้น และยังคงเดินหน้าตามจับผู้กระทำผิดทุจริตคอรัปชั่นมาลงโทษต่อไป ไม่ว่าหลบไปที่ใดในมุมโลกนี้ก็ตาม
3. จีนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบควบคุมการคอรัปชั่นระดับชาติ ตั้งแต่ระดับชาติ มณฑล เมือง ไปจนถีงระดับอำเภอ โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับ คณะกรรมการตรวจสอบวินัยส่วนกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ (Central Commission for Discipline Inspection) หรือ CCDI ที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
เหตุที่ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบควบคุมการคอรัปชั่นระดับชาติ ขึ้นมาอีก เพื่อให้การตรวจสอบออกมาอย่างถูกต้องที่สุด และครอบคุมตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงระดับอำเภอ
2
นอกจากนี้ การตรวจสอบควบคุมจะเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดขึ้น เพื่อให้โปร่งใสที่สุด
2
4. จีนจะจัดตั้งกลุ่มทีมนำที่ปกครองประเทศตามกฎหมายทุกด้าน โดยสีจิ้นผิง หวังว่า จะช่วยให้สาธารณชนตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและหลักนิติธรรม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญจีนมากขึ้น โดยเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนตามกฎหมาย ไม่มีใครเหนือบัญญัติรัฐธรรมนูญ
พูดถึงตัวอย่างคดีคอรัปชั่นในจีน มีหลากหลายคดีที่เป็นข่าวดังในจีนมาก เนื่องจากเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บริหารองค์กรระดับสูงในจีนพัวพันคอรัปชัน ซึ่งอ้ายจงอยากจะเล่าให้เห็นภาพถึงกระบวนการปราบคอรัปชั่นในจีน
คดีแรก Gong Weiguo อดีตนายกเทศมนตรีในมณฑลหูหนาน ใช้สารเสพติดขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อเมษายน 2015 หลังจากนั้น 1 เดือน ก็โดนปลดจากตำแหน่งและออกจากพรรคคอมมิวนิสต์
ผลสุดท้ายเขาได้รับโทษจำคุก 7 ปี ข้อหาคอรัปชั่น เพราะทางการสืบทราบว่า เขาได้รับสินบน 1.5 ล้านหยวน และละเว้นการเก็บภาษีการจัดการอสังหาริมทรัพย์จากบริษัทอสังหารายหนึ่ง ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ 16ล้านหยวน ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งด้วย โดยนอกจากเขาจะติดคุกแล้ว เขายังโดนปรับเป็นเงิน 300,000 หยวน อีกด้วย
คดีที่ 2 Yao Zhongmin อดีตประธานบอร์ด ธนาคาร China Development Bank ยอมรับสารภาพคดีรับสินบน ขณะให้การบนชั้นศาลในวันที่ 17 ก.ค. 2017 โดยเขารับสารภาพว่ารับเงินสินบนประมาณ 36.2 ล้านหยวน ทั้งที่เขารับเงินโดยตรงและผ่านทางน้องชายของเขา ซึ่งเขาได้ถูกปลดจากตำแหน่งและขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่กันยายน 2016 หลังจากที่ถูกจับกุมและรอการไต่สวนคดีคอรัปชั่น
1
มาถึงคดีสุดท้าย ที่อ้ายจงขอเล่าในบทความนี้ เกิดขึ้นเมื่อเมษายน 2018 เป็นคดีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในจีน
เมื่อ นายซุน เจิ้งไฉ อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครฉงชิ่ง (ถือเป็นตำแหน่งพ่อเมือง บริหารจัดการนครฉงชิ่งที่ถือเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดในจีน) และเคยรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของจีนด้วย
เขาถูกจับกุมในข้อหาคอรัปชั่น รับสินบน 170ล้านหยวน (ประมาณ 850 ล้านบาท) โดยใช้อำนาจมิชอบ ตั้งแต่เมื่อปี2016 ซึ่งซุน เจิ้งไค ได้ยอมรับและสารภาพต่อทุกข้อกล่าวหา เกี่ยวกับการรับสินบน และใช้อำนาจมิชอบ ทั้งต่อตัวเขาเอง หรือผ่านทางเครือญาติ คนใกล้ชิดของเขา ขณะดำรงตำแหน่งสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์และการเมืองจีน ตลอด15ปีที่ผ่านมา ในฉงชิ่ง กรุงปักกิ่ง มณฑลจี๋หลิน รวมถึงตอนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเกษตร
จาก 3 คดีที่เล่ามาข้างต้น ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ใครทำผิด ก็ต้องโดนลงโทษ ไม่ใช่แค่ที่จีน แต่ทุกที่ ก็ต้องมีแบบนี้เช่นกัน
อ้ายจงอ้างอิงจาก
โฆษณา