6 เม.ย. 2020 เวลา 10:43 • ท่องเที่ยว
หลุมน้ำเงินคราม แห่งเบลิซ
https://www.tieweng.com/the-great-blue-hole-belize/
ประเทศเบลิซ (Belize) กันก่อน ประเทศนี้อยู่บนฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง ริมทะเลแคริบเบียน มีอาณาเขตจรดประเทศเม็กซิโกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และจรดประเทศกัวเตมาลาทางทิศตะวันตก และทิศใต้ มีประเทศฮอนดูรัสเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ห่างออกไปเพียง 75 กิโลเมตร
หลุมที่ว่าเรียกกันทั่วไปว่า หลุมน้ำเงิน (Great Blue Hole) อันเป็นสีที่ชัดเจนและโดดเด่น จนไม่ว่าจะมองยังงัยก็ต้องรู้เลยว่าเป็นหลุม หลุมนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งเบลีซประมาณ 70 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทรงกลมเกือบสมบูรณ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 300 เมตร กับความลึกประมาณ 124 เมตร เชื่อกันว่าหลุมนี้เป็นหลุมกลางทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
สันนิษฐานกันว่ามันก่อตัวขึ้นในยุคน้ำแข็ง ซึ่งระดับน้ำทะเลในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 100-120 ม. (330-390 ฟุต) ซึ่งต่ำกว่าในปัจจุบัน โดยคาดว่าแรกเริ่มเดิมทีมันเคยเป็นถ้ำหิน Limestone มาก่อน ต่อมาพอระดับน้ำทะเลสูงขึ้นก็เลยท่วมถ้ำจนหมด เพดานถ้ำโดนน้ำเซาะจนพังทลาย และยุบตัวซ้ำๆ จนกลายเป็นหลุมกลวงโบ๋อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โดยมีอุณหภูมิที่ความลึก 130 ฟุต (40 เมตร) ประมาณ 76 องศา F (24 C) ตลอดทั้งปี เรียกว่ากำลังเย็นสบายๆ มีนักประดาน้ำไปดำน้ำที่นี่เป็นจำนวนมาก และก็ทิ้งชีวิตไว้ที่นี่ไม่น้อย สาเหตุของการเสียชีวิตมักเริ่มที่ระดับความลึก 60 เมตร ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ Nitrogen narcosis หรืออาการเมาไนโตรเจน จนหมดสติ ซึ่งการดำน้ำลึกทุก 10 เมตร ที่ลึกลงไปจะเกิดความกดดันมากขึ้น ส่งผลให้ไนโตรเจนที่มีในอากาศละลายเข้าสู่เนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกายเรา ยิ่งลงไปลึกมากขึ้น ใช้เวลานานมากขึ้น ปริมาณไนโตรเจนก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย และไนโตรเจนก็เป็นต้นเหตุของอาการเมา พอมีมากเกินไปก็อาจจะส่งผลให้หมดสติ เมื่อขึ้นมาหาอากาศด้านบนไม่ทันก็จะเสียชีวิตในที่สุด
โฆษณา