7 เม.ย. 2020 เวลา 04:49 • สุขภาพ
เรื่องที่รัฐบาลจะลงโทษคนแจ้งข้อมูลเท็จในเว็ปไซต์เราไม่ทิ้งกัน ที่รัฐบาลใช้เป็นฐานในการบันทึกข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เมื่อวันก่อนซึ่งมีคนสมัครเข้าไปขอรับเงินเยียวยาถึง 24,000,000 คนนั้น ผมว่ามีเหตุผลอยู่นะครับ เพราะถ้าพิจารณากันจากตัว concept ของโครงการจริงๆ
จะเข้าใจว่าโครงการนี้มีเป้าหมายและจุดประสงค์หลักในการเยียวยาแรงงานนอกระบบ แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบสัญญาจ้าง คนทำงานที่ไม่ได้มีประกันสังคมตาม ม.33 เป็นต้น เพราะคนเหล่านั้นได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคมจากการทำงานเป็นระบบกับนายจ้างกันอยู่แล้ว
มีสวัสดิการคุ้มครองบางส่วนอยู่แล้ว ทีนี้พอมาดูตัวเลขของคนที่อยู่นอกระบบประกันสังคมจริงๆมันมีแค่ 21,000,000 คน เท่านั้น (ละอีก 3,000,000 คนเพิ่มมาจากไหน?) มันจึงเป็นต้นเหตุให้รัฐบาลออกมาตำหนิคนที่กรูกันเข้ามาสมัครรับเงินเยียวยาในส่วนนี้
เนื่องจากมันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ 24,000,000 คนนี้ จะเข้าเกณฑ์ผู้เสียหายที่รัฐบาลกำหนด บางคนเป็นข้าราชการมีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีอยู่แล้วตีเนียนมาสมัครก็มี บางคนเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจอะไรพวกนี้มาสมัครก็มี แล้วทีนี้ทางเว็ปไซต์และระบบที่รัฐบาลสร้างขึ้นมานั้นใช้ AI ในการสกรีนคนเป็นหลัก
มันเลยมีโอกาสหลุดรอดคนพวกนี้เข้าไปในระบบการจ่ายเงินด้วย จึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลต้องออกมาตำหนิคนเหล่านี้ จริงๆคนที่ไม่เกี่ยวหรือไม่ใช่แรงงานนอกระบบนั้นไม่น่าจะสมัครเข้าไปกันที่คนอื่น เอาเปรียบคนอื่นที่เขาได้รับผลกระทบ และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จริงเปล่าๆ
ที่สำคัญที่สุดเลย คือ มาตรการการเยียวยาฉบับ 2 ที่รัฐบาลออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนนั้นไม่ได้มีแค่มาตรการแจกเงินอย่างเดียว แต่มีมาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้ การชะลอจ่ายภาษี การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออกมาด้วย คนที่ไม่ได้เป็นแรงงานนอกระบบ
หรือคนที่ใช้แรงงาน ลูกจ้างอะไรพวกนี้ หลายคนเป็นพนักงานขึ้นกับบริษัทเอกชน หน่วยงานภาครัฐอยู่แล้วก็มีสิทธิ มีสวัสดิการ รวมถึงเข้าเกณฑ์อื่นๆรองรับอยู่แล้ว คนที่เป็นนักศึกษา นักเรียน หรือคนว่างงานนั้นไม่เข้าเกณฑ์เพราะไม่ได้ทำงาน Full Time เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน
จึงไม่ถูกนับรวมเป็นผู้ได้รับผลกระทบ “โดยตรง” ของไวรัส เพราะไม่ได้ถูกไล่ออกจากงานจากปัญหาไวรัส เลยไม่ได้ถูกนับรวมเป็นผู้ที่ได้รับเงินเยียวยานะครับ (อาจมีบางคนที่ต้องทำงานและได้รับผลกระทบโดยตรงจริงๆ แต่ก็อย่างว่านั้นแหละ ใช้ AI ในระบบคงยากที่จะผ่านเกณฑ์)
อีกอย่างคนสมัยนี้หลายคนถึงไม่ได้เป็นแรงงานในระบบกันจริงๆ แต่ก็มีอาชีพเสริมขายของออนไลน์เล็กๆน้อยๆกันเกือบหมด บางคนนอกจากทำงานรับจ้างเล็กๆน้อยๆเป็นงานอิสระแล้ว ก็ขายของออนไลน์ไปด้วย ตรงนี้มันจะไปเข้าเกณฑ์ของผู้ประกอบการ SME มากกว่า (ซึ่งรัฐบาลเยียวยาด้วยมาตรการทางภาษีและการออกเงินกู้แทนนะครับ)
** ส่วนคนที่เป็นหนี้ กยศ. เดี๋ยวมีมาตรการพักชำระหนี้มาให้อยู่แล้ว
เช่นเดียวกับอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์อะไรพวกนี้ ซึ่งมีลักษณะเนื้องานที่รับเงินเป็นจ็อบๆเป็นก้อนอยู่แล้ว และยังมีช่องทางที่พอจะสามารถทำงานจากที่บ้านได้ ส่วนเกษตรกรนั้น มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่ถูกรวมครับ แต่หลักๆแล้วคือ รัฐบาลมีมาตรการแยกให้สำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะ
ทั้งจากกรมส่งเสริมการเกษตร และธนาคาร ธกส. (จริงๆเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่สามารถลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทนี้ได้ แต่ถ้าเลือกส่วนนี้แล้ว ก็จะถูกตัดสิทธิอื่นๆที่ทางรัฐบาลจัดหาไว้ให้ได้)
โดยสรุปแล้วคือ ความเป็นไปได้ของคนที่จะรับเงินเยียวยา 5,000 บาทนี้มีแค่ประมาณไม่เกิน 10,000,000 คนเท่านั้น (อันนี้คือเพิ่มจากตอนแรกที่จะให้แค่ 3,000,000 คนแล้วนะครับ) ทั้งหมดนี้มาจากการคิดคำนวณจากฐานประชากร 66,000,000 คน ลบด้วยจำนวนเด็ก/ผู้สูงอายุ 11,000,000 คน ก็จะเหลือคนในตลาดแรงงาน 44,000,000 คน
เป็นคนที่ยังไม่ตกงาน 38,000,000 คน หักลบจำนวนข้าราชการ 2,000,000 คน คนที่ตกงานอยู่ก่อนแล้วอีก 6,000,000 คน และเกษตรกรอีก 17,000,000 คน คนในประกันสังคมอีก 16,000,000 คน ก็จะเหลือตัวเลขคาดการณ์ของรัฐบาล คือ 3,000,000 คน ตามเป้านโยบายที่ออกมา
ดังนั้นหากพิสูจน์ย้อนหลังได้ว่ามีการได้รับผลกระทบจากไวรัสจริงๆ ก็จะมีอีก 7,000,000 คนโชคดีได้รับเงินเยียวยาตามมาครับ แต่ตอนนี้คงต้องยึดที่ตัวเลข 3,000,000 คนไว้ก่อนเป็นหลัก เพราะจากการสกรีนรอบแรกมีคนผ่านเกณฑ์เบื้องต้น 1,600,000 รายเท่านั้น
ซึ่งรัฐบาลเผยไว้ว่าเป็นกลุ่มแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ ไกด์ พ่อค้าแม่ค้ารายเล็กตามตลาด ส่วนกลุ่มอื่นๆให้รอติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดนะครับ
Cr. กรุงเทพธุรกิจ
โฆษณา