10 เม.ย. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
แผ่นดินไทยยุค 5 ก๊ก ตอนที่ 1
ยุคสมัยหนึ่งแผ่นดินไทยเคยแตกเป็น 5 ก๊ก แต่ด้วยความเสียสละต่อสู้ของของ พระมหากษัตริย์ของไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แผ่นดินไทยจึงยังคงรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้
จะขออ้างอิงพงศาวดาร ไทย - พม่า ของสมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ
ย้อนสมัย แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปลายราชวงศ์ บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยา ต้องรับศึกหนักจากกองทัพพม่า จากพระเจ้ามังระ
สาเหตุที่กองทัพพระเจ้ามังระยกมาตีกรุงศรีอยุธยาในครานี้ เนื่องมาจากมองเห็นแล้วว่ากรุงศรีอยุธยาอ่อนแอในการศึก
กรุงศรีอยุธยานั้น มีไม้ตาย 3 อย่าง คือ
1 กองทัพจากหัวเมืองเหนือยกเข้ามาตีกระหนาบหลัง ทำให้ข้าศึกต้องเปิดศึกสองด้าน เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 1 กองทัพพระเจ้าบุเรงนองใช้วิธีไล่ตั้งแต่หัวเมืองเหนือลงมา ในสงครามครั้งนี้ พระเจ้ามังระ แบ่งกองทัพเป็น 2 สาย สายหนึ่ง ตีเข้ากรุงศรีอยุธยา อีกสายหนึ่งตีไล่ตั้งแต่หัวเมืองเหนือลงมา
2 น้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่โดยรอบของกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ลุ่มต่ำ เมื่อเข้าฤดูฝนน้ำจะท่วมง่ายทำให้ไม่สามารถตั้งกองทัพได้ ครั้งนี้กองทัพพม่าปักหลัก ตั้งค่ายล้อมกรุง แม้จะมีเสียงขอให้ถอยทัพก็ตาม
3 เสบียงอาหาร กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ การจะนำทัพเข้ามาล้อมกรุงได้นั้นต้องใช้กำลังพลจำนวนมาก จึงเป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถตั้งทัพนานได้ คราวเสียกรุงพม่าเก็บกวาดเสบียงและลงมือปลูกข้าวในค่ายเอง
แต่กองทัพพม่าสามารถเอาชนะทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว
เมื่อถึงวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2310 เป็นวันสงการน์เนา เวลาค่ำ 8 นาฬิกา ทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ฝ่ายไทยเหลือกำลังจะต้าน ทัพพม่าตีกรุงได้ในค่ำคืนนั้น
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก สภาพบ้านเมืองเวลานั้น เหมือนสูญญากาศทางการเมือง เมื่ออำนาจส่วนกลางล่มสลาย อำนาจการปกครองส่วนภูมิภาคก็เปลี่ยนสถานะ เมืองไหนที่มีกำลังเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ เมืองเล็กหรือชุมนุมที่มีกำลังน้อยกว่า ถ้าไม่เข้าร่วมกับเมืองใหญ่ ก็ต้องหบลเข้าป่าเข้าพง
ในเวลานั้น กลุ่มอำนาจที่มีกำลังมีอยู่ 5 ก๊ก ได้แก่
1. พระยาพิษณุโลก นามว่า เรือง ปรากฎเป็นขุนนางที่มีความสามารถ ต้านศึกพม่าได้ เมืองพิษณุโลก ไม่เสียแก่ข้าศึก เมื่อช่วงกรุงแตก มีขุนนางไปเข้าด้วยเป็นจำนวนมาก ครองดินแดนภาคเหนือตอนล่าง
2. พระสังฆราขาเมืองสวางคบุรี เรียกขานกันว่า เจ้าพระฝาง ตั้งตนเป็นใหญ่ทั้งที่เป็นพระ ผู้คนนับถือเชื่อในวิทยาอาคม ครองดินแดนภาคเหนือตอนบน
3. เจ้านครศรีธรรมราช นามว่า หนู เดิมเป็นข้าราชการในกรุงศรีอยุธยา ไปรั้งตำแหน่งปลัดเมืองนครฯ และรักษาการเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนกรุงแตก ครองดินแดนภาคใต้ไล่ตั้งแต่ชุมพรลงไป
4. กรมหมื่นเทพพิพิธ พระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ ได้พระพิมายอุ้มชูตั้งเป็นอีกหนึ่งก๊ก ครองดินแดนแถบภาคอีสาน
5. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีฝ่ากองทัพพม่าไปทางเมืองจันทบุรี แรกเริ่มเดิมทีจะชักชวนกำลังหัวเมืองตะวันออกเข้าไปช่วยกู้กรุง แต่พอกรุงศรีอยุธยาแตก สถานะเจ้าเมืองต่างๆก็เป็นอิสระต่ออำนาจส่วนกลาง สถานะพระเจ้าตากสิน จึงกลายเป็นเพียงกองกำลังอิสระ หลังจากเข้าตีเมืองจันทบุรีสำเร็จ ก็ครองดินแดนตะวันออกชลบุรีจนถึงกัมพูชา
ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ท่านสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี
1
และเราได้เห็นรายนามผู้ที่จะเข้าช่วงชิงแผ่นดินแล้ว
ในตอนต่อไปจะพาทุกท่านไปท่องช่วงเวลาที่พระองค์ท่านรวบรวมแผ่นดินให้กลับมาเป็นไทยอีกครั้ง
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านมาถึงตรงนี่
กดไลค์กดแชร์กดติดตามกัน เพื่อไม่พลาดตอนต่อไปกันนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา