11 เม.ย. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
แผ่นดินไทยแตกเป็น 5 ก๊ก ตอนที่ 2
ว่าด้วยเรื่องการยกทัพขึ้นเหนือ ปราบชุมนุมเจ้าพิษณุโลก
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ย้ายราชธานีมาอยู่กรุงธนบุรีแล้ว และหลังจากทำพิธราชาภิเษก ที่กรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2310 ประกาศเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของแผ่นดินสยาม
ในขณะนั้นอาณาเขตของกรุงธนบุรี มีเพียง 7 มณฑล กรุงเทพฯ อยุธยา ราชบุรี นครไชยศรี นครสวรรค์ ปราจีนบุรี จันทบุรี เท่านั้น และมีเพียงจันทบุรี มณฑลเดียวที่ไม่บอบช้ำจากศึกกับทางพม่าครั้งเสียกรุง
เรียกว่าต้องมาฟื้นฟูกันใหม่เลยทีเดียว
มีการเรียกหาผู้คนที่หลบซ่อนตามป่าเขาให้กลับมาตั้งบ้านเรือน
พ.ศ. 2311 หลังเสร็จศึกกับกองทัพพม่าที่บางกุ้งแล้ว พระองค์มีรับสั่งให้เตรียมกองเรือเพื่อขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก เมื่อเดือน 11 พระองค์เสด็จนำทัพด้วยองค์เอง
ฝ่ายเมืองพิษณุโลก เจ้าพิษณุโลกทราบข่าว จึงสั่งให้ หลวงโกษา ชื่อ ยัง นำทัพเมืองพิษณุโลกมาตั้งรับที่ตำบลเกยไชย
เจ้าพิษณุโลก ผู้นี้เป็นขุนนางที่มีชื่อมีฝีมือ ตั้งแต่ก่อนเสียกรุง สามารถต้านศึกพม่าที่พยายามเข้าตีพิษณุโลกได้ พอเสียกรุง ทั้งขุนนางและประชาชน ไปเข้าด้วยเป็นจำนวนมาก มีอาณาเขตเมืองพิชัย – เมืองนครสวรรค์ ถือเป็นชุมนุมหัวเมืองเหนือที่ใหญ่ที่สุด
ส่วน หลวงโกษาผู้นี้ เหมือนจะเป็นนายทหารที่มีฝีมือ ตั้งแต่ก่อนเสียกรุง
จะเห็นได้ว่า กองกำลังของเมืองพิษณุโลก ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
ฝฝ่ายพิษณุโลกนำทัพเรือมาตั้งรับ โดยตำบลเกยไชยนี้ ห่างจากเมืองพิษณุโลก 3 วัน เรียกว่าเป็นการมารับศึกที่ปลายแดน
หลวงโกษา แต่งกองโจรดักซุ่ม ในเวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมถนนหนทาง การรบจึงเป็นการรบทางน้ำ
และด้วยการที่หลวงโกษาเป็นผู้ชำนาญพื้นที่ เป็นเจ้าบ้าน จึงสามารถโจมตีกองทัพของกรุงธนบุรีได้เต็มความสามารถ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยกระสุนปืนเข้าที่พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) จึงต้องถอยทัพกลับพระนคร
ฝ่ายเจ้าพิษณุโลก ทราบข่าวศึก ก็ดีใจในชัยชนะ สามารถชนะทัพธนบุรีคู่แข่งสำคัญได้
จึงประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์ ประกอบพิธีราชาภิเษก ออกพระราชโองการเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแต่เก่าก่อน ออกพระนามว่า "พระเจ้าพิษณุโลก" (อ้างอิงจาก สิ้นชาติ กู้แผ่นดิน จลาจลบนแผ่นดินพระเจ้าตาก) แต่พอขึ้นนั่งบังลังค์ได้ 7 วัน ก็ถึงพิราลัย ด้วยฝีในลำคอ
น้องชายเจ้าพิษณุโลก พระอินทร์อากร ขึ้นครองเมืองแทน แต่ไม่ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ ภายหลังเมืองพิษณุโลกอ่อนแอลง เนื่องจากพระอินทร์อากร ไม่ชำนาญการศึกสงครามและประชาชนไม่ได้นิยมชมชอบเหมือนเจ้าพิษณุโลกผู้พี่
เรื่องการเปลี่ยนผู้นำของเมืองพิษณุโลก รู้ถึงชุมนุมเจ้าพระฝาง จึงนำทัพเข้าโจมตีเมืองพิษณุโลก จับพระอินทร์อากร ประหารเสีย กวาดเอาผู้คนทรัพย์สินกลับไปเมืองสวางคบุรี
1
หลังจากเมืองพิษณุโลกแตก ประชาชนจำนวนมากหนีลงมาพึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจำนวนมาก
เป็นอันสิ้นสุดชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกและทำให้ชุมนุมเจ้าพระฝากเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือแทน
อ้างอิง พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พงศาวดาร ไทยรบพม่า
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านมาถึงตรงนี้กันนะครับ
กดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อไม่พลาดตอนต่อไปกันนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา