15 เม.ย. 2020 เวลา 00:03 • ข่าว
Insight : FED และสถาบันการเงินต่าง ๆ ซื้อ Junk Bonds เข้าคลังมากที่สุดในรอบ 2 ทศววรษ
วันนี้มีบทวิเคราะห์แบบเจาะลึกมาให้อ่านกันอีกแล้วครับ รายละเอียดเบื้องต้นก็ตามหัวข้อเลย แต่ที่น่าสนใจคือมันมีความคล้ายกับวิกฤตทางการเงินเมื่อช่วงปี 1980 และ 2008 นี่สิครับ...เป็นยังไงไปดูกัน
บันทึกหน้าที่ 1 : A Brief History of Junk Bonds
...ประวัติย่อของ Junk Bonds...
Junk Bonds หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า High Yield Bonds แปลเป็นไทยได้ว่า พันธบัตรขยะ หรือพันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะครอบคลุมถึงหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับน่าลงทุน (Investment Grade)
ดังนั้น Junk Bonds จะหมายถึงหุ้นกู้ที่มีระดับตั้งแต่ BB ลงไป (ระดับต่ำสุดของ Investment Grade คือ BBB-)
พันธบัตรขยะเหล่านี้จะมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรระดับ Investment Grade เนื่องจากจำเป็นต้องชดเชยความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ที่สูงขึ้น
อัตราผลตอบแทนในอดีต สามารถดูได้ตามภาพด้านล่างนี้ครับ อยากให้ลองสังเกตช่วงปี 1980-1981 และ 2008-2009 ครับ
ส่วนอัตราการได้รับชำระหนี้ของพันธบัตรเหล่านี้จะอยู่ที่ราว ๆ 40% ตามภาพด้านล่างเลยครับ สังเกตได้ว่าจะมีการ +- นิดหน่อยตลาดกลไกและสภาพของตลาด
แล้วมันสำคัญยังไง ?
ที่มันสำคัญก็เพราะเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตซัพไพรม์เมื่อปี 2008 ไงล่ะครับ (อย่าบอกนะว่าลืมกันไปแล้ว) เป็นยังไงไปดูกันครับ
"ครั้งหนึ่ง ระบบทุนนิยมเคยเกือบล่มสลายไปจากโลกนี้"
"ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ"
นี่คือคำนิยามของวิกฤตซัพไพรม์ในปี 2008
ขอบคุณภาพจาก Ivesterest.co
แน่นอนว่าตอนนั้นเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างและซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก ตลาดสินเชื่อในภาคอสังหาฯ มีขนาดใหญ่กว่า 60% ของเศรษฐกิจสหรัฐทั้งหมดในตอนนั้น และกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ฝั่งรัฐบาลเองก็กำลังกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนให้คนมีบ้าน และอัตราดอกเบี้ยของ FED อยู่ในระดับราว 2%
สถาบันการเงินต่าง ๆ จึงมีนโยบายปล่อยกู้มากขึ้นและผ่อนปรนขึ้น คนที่อยากเป็นเจ้าของบ้านก็สามารถกู้เงินมาซื้อบ้านได้ง่าย ๆ โดยแทบไม่ต้องใช้หลักประกันเลย ด้วยสินเชื่อ "Subprime Mortgages" หรือ "สินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ"
2
เกร็ดความรู้ : ภายหลังจึงกลายเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของวิกฤตการเงินครั้งนี้ "วิกฤตซับไพรม์" แปลว่า วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ
1
ลูกหนี้กลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ ที่ประวัติไม่ดี มีโอกาสเบี้ยวหนี้สูง
สัดส่วนของสินเชื่อชั้นล่างในตลาดอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วตามภาพด้านล่างนี้ครับ
ปัญหาเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ปี 2004 หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จุดนี้เองที่การซื้อบ้านเริ่มชะลอตัวลงรอบแรก ด้วยอัตราดอกเบี้ยจาก 2.25% ในปี 2004 มาอยู่ที่ 5.25% ในปี 2006 ทำให้คนเริ่มไม่อยากซื้อบ้าน และเมื่อคนไม่อยากซื้อบ้าน ราคาก็ร่วง
เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงเกิดการยึดทรัพย์ไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งวิกฤตลุกลามใหญ่โต
ในปี 2006 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ถึงทางตัน ด้วยราคาบ้านที่สูงกว่าความจริงมานานแล้ว พร้อมกับที่ Supply ในตลาดอสังหาเพื่อการลงทุนเริ่มมีมาก ทำให้ต้องลดราคาลงแข่งกัน ประกอบกับเวลานั้นดอกเบี้ยของสหรัฐอยู่ในช่วงขาขึ้น (เนื่องจาก FED ต้องการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ) และมีการปล่อยสินเชื่อคุณภาพต่ำมากเกินไป
ผลกระทบที่ธนาคารและสถาบันทางการเงินได้รับในเวลานั้นก็คือการขาดทุนอย่างย่อยยับ Lehman Brothers ไม่สามารถดำเนินกิจการได้อีกต่อไป เพราะมีภาระหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
1
15 กันยายน ปี 2008 Lehman Brothers ประกาศล้มละลาย ราคาหุ้นดิ่งเหวทันที 93 % ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ร่วงลงกว่า 350 จุด (เกือบ 50%) จากข่าวดังกล่าว นอกจากนี้ยังส่งแรงกระเพื่อมสะเทือนไปทั้งตลาดเงินทั่วโลก
การยึดบ้านเกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ กองทุนที่ลงทุนต่าง ๆ ขาดทุนอย่างย่อยยับ ตัวเลขการจ้างงานลดลงน่าใจหาย ผู้บริหารระดับสูงหลายคนต้องถูกลดเงินเดือน เงินทุนไหลออกไปยังที่ที่ปลอดภัย ส่งผลให้ราคาทองคำและน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมากจากช่วงเวลาก่อนหน้าวิกฤต
แน่นอนครับว่าที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องรวมถึง Junk Bonds ด้วย ซึ่ง World Maker ก็มีหลักฐานมาให้ชมกันอีกแล้ว ไปดูกันครับ
1. ภาพแรกแสดงให้เห็นถึงจำนวนการปล่อยสิ้นเชื่อระดับ CCC (Junk Bonds Grade) ช่วงปี 2008 ลองสังเกตช่วง 15 วันหลัง Lehman ล้มละลายครับ
2. ภาพที่สองคล้าย ๆ กับภาพแรกครับ เป็นข้อมูล Junk Bonds ของธนาคาร Barclays (ธนาคารยักษ์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ)
3. ภาพที่สามแสดงให้เห็น Yield Spread* ระหว่าง Junk Bonds และสินทรัพย์เกรดที่มีความเสี่ยงต่ำครับ (ถ้ากราฟสูงแปลว่าช่วงนั้น Junk Bonds เยอะ)
* Yield Spread คือระยะห่างระหว่างพันธบัตรแต่ละเกรด ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในตอนที่ 4 ครับ
4. ภาพนี้เทียบให้เห็น Spread ระหว่าง Junk Bonds และพันธบัตรเกรด BBB
5. ข้อมูล Junk Bonds ที่รวบรวมจาก Citi, FTSE, S&P Capital IQ.
เท่านี้ก็คงจะพอเห็นภาพในช่วงปี 2008 กันแล้วใช่ไหมครับ และตอนต่อไปเราจะกลับมา Focus ที่ปัจจุบันกันครับ ว่ามีความคล้ายคลึงกับปี 2008 อย่างไรบ้าง
แน่นอนว่าในบทความนี้เราจะเน้นไปที่ Junk Bonds เป็นหลักนะครับ
บันทึกหน้าที่ 2 : FED to Buy Junk Bonds
Jerome Powell ประธานของ FED
...FED กำลังจะเข้าซื้อ Junk Bonds...
หลักฐานที่สดใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ กำลังปรากฎขึ้นหลังจากการระบาดของ Coronavirus
เริ่มจากการที่ FED ได้ประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจ ตามด้วยมาตรการ Q.E แบบ Unlimited ซึ่งรวมถึงการประกันสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในแง่ของตลาดเงิน...ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมาตรการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์นี้
FED ประกาศในสัปดาห์ที่แล้วว่าจะเพิ่มเงินทุนสำหรับกู้ยืม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและกลาง รวมถึงภาคท้องถิ่นของรัฐ
แน่นอนว่ามันรวมถึง Junk Bonds, CLO* และ Commercial MBS**
* Collateralized Loan Obligations เป็นตราสารทางการเงินชนิดนึงที่ใช้ "หนี้" เป็นหลักค้ำกัน
** Commercial mortgage-backed securities ตราสารหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน
มาตรการดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากจำนวนคนว่างงานในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นกว่า 6.6 ล้านคน เนื่องจากเศรษฐกิจได้หยุดชะงักลง
แน่นอนว่านี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมาตรการ Q.E. แบบ Unlimited ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการอัดฉีดเงินเข้าระบบอย่างมหาศาลแบบไม่เคยมีมาก่อนเลยทีเดียว ซึ่งช่วงท้ายของบทความ World Maker จะมีภาพสรุปรายละเอียดของมาตรการ Q.E. ครั้งนี้มาให้ได้ชมกันครับ
"สหรัฐฯ จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างสูงที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤตสุขภาพในครั้งนี้" Jerome Powell กล่าวในขณะที่ออกแถลงการณ์ถึงมาตรการเยียวยา 2.3 ล้านล้านดอลลาร์
นักลงทุนบางกลุ่มรีบเข้าเก็งกำไรในตลาดพัธบัตรของบริษัทต่าง ๆ ทันที ซึ่ง Junk Bonds เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ผลจากการติดตามกองทุน ETFs รายใหญ่หลายรายแสดงให้เห็นว่า Junk Bonds เพิ่มมากขึ้นที่สุดในรอบกว่า 10 ปี (อันนี้แค่ในกองทุน ETFs นะครับ ไม่ใช่ทั้งหมด)
บันทึกหน้าที่ 3 : U.S. Junk Bonds Rally Most in Two Decades
...พันธบัตรขยะของสหรัฐฯ มากที่สุดในรอบกว่า 2 ทศวรรษ...
สถานการณ์ในปัจจุบันคือจุดสูงสุดของ Junk Bonds นับตั้งแต่ปี 1998 ซึ่งแน่นอนว่า FED คือผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในตอนนี้
สืบเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์...FED ได้ทำการซื้อหนี้ของบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม "ความเสี่ยงสูง (Speculative Grade)"
แน่นอนว่าการเข้าซื้อในช่วงนี้ มาจากความจำเป็นที่จะต้องพยุงตลาดและสภาพคล่องเอาไว้ ไม่ให้เลวร้ายไปว่านี้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่ามาตรเหล่านี้คือจุดจบของตลาดเสรี (Free Market) ซึ่งเราจะลงรายละเอียดในตอนที่ 5 ของบทความครับ
ซึ่งผลจากการเข้าซื้อของ FED ทำให้ Yield Spread* เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,100 Basis Points ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดหลังจากวิกฤตทางการเงินโลกในช่วงปี 1980 เลยทีเดียว (มากกว่าวิกฤตซัพไพรม์เมื่อปี 2008)
ในตอนแรก FED ตัดสินใจที่จะรักษาสภาพคล่องโดยประกาศแผนการซื้อพันธบัตรต่าง ๆ ที่อยู่ในระดับ "น่าลงทุน (Investment Grade)" แต่ภายหลังได้ขยายแผนการให้ครอบคลุมไปถึงพันธบัตรระดับ Junk Grade
แต่มันยังไม่จบเพียงแค่นั้น เพราะล่าสุด FED ได้ออกมากล่าวแล้วว่า มาตรการ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์อาจยังไม่เพียงพอ และ FED จะเพิ่มความช่วยเหลือขึ้นอีกหากจำเป็น
กล่าวง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้านก็คือ "ตอนนี้ใครมีปัญหา พี่เคลียร์ให้ได้หมด" (แต่หลังจากนี้ไม่รู้นะ) ซึ่งภาพด้านล่างจะแสดงให้เราเห็นว่า FED ได้ทำการถือครองสินทรัพย์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นหลังจากมีมาตรการช่วยเหลือออกมา
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือคำถามที่ว่า หลังจากนี้ FED จะทำอย่างไรต่อไป ?
จริง ๆ แล้วคำตอบอาจไม่ยากอย่างที่คิด เพราะคนที่เดือดร้อนไม่ใช่ FED แต่เป็นผู้กู้รายย่อยต่างหากล่ะครับ ด้วยระบบและกลไกที่ออกแบบมาให้ FED อยู่ในฐานะ "ตัวแทนของเจ้าหนี้" เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น สิ่งที่ FED ต้องทำมีเพียงการดึงเงินที่เคยอุ้มไว้ออกครับ พร้อมกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
จำที่ World Maker เล่าไปในช่วงต้นบทความได้ไหมครับว่าวิกฤตซัพไพรม์เริ่มต้นขึ้นจากอะไรครับ เริ่มจาก FED ขึ้นดอกเบี้ยและครบกำหนดชำระหนี้ใช่ไหมล่ะครับ หลังจากนั้นลูกหนี้ Junk Bonds ทั้งหลายก็ไม่มีจ่าย โดนยึดทรัพย์สินหมดตัว ต่อมาก็คือ Lehman Brother ล้มละลายจากการที่ลูกหนี้ไม่มีจ่าย พร้อมกับหนี้ที่บริษัทถือไว้กว่า 6 แสนล้านดอลลาร์
ใครชอบศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเงินก็จะรู้ครับว่าเศรษฐกิจเราวน Loop เป็นลูกคลื่นอยู่เสมอ ขึ้นสูงสุด ดิ่งลงสุด และขึ้นสูงสุดใหม่ แล้วก็ดิ่งลงสุดอีกที เป็นอย่างนี้อยู่เสมอ ด้วยสาเหตุเดิม ๆ
นี่คือแก่นแท้ของระบบทุนนิยมในปัจจุบันครับ ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าว เราก็จะเจอ Loop แบบนี้ไปเรื่อย ๆ
1
แล้วถ้า FED ไม่ยอมปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นล่ะ ?
คำตอบเงินดอลลาร์จะด้อยค่าลงไปเรื่อย ๆ ครับ และถ้าเป็นแบบนั้น FED ก็จะต้องพิมพ์เงินออกมาเพิ่มอีกแบบไม่รู้จบ ซึ่งนั่นจะหมายถึงความบิดเบี้ยวของระบบการเงินที่ประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียว (เศรษฐกิจจะไม่มีทางอยู่รอดได้เลยหาก FED ไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ยกลับไป) เพราะฉะนั้นยังไงก็ต้องขึ้นครับ
เราอยู่ในระบบแบบนี้จริงหรือ ? แน่นอนว่าคำตอบคือ "จริงครับ"
บันทึกหน้าที่ 4 : Neediest Borrowers Are Left Behind
...ผู้ที่ต้องการเงินมากที่สุดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง...
ภาพด้านบนจะแสดงให้เราเห็น Yield Spread ระหว่าง Junk bonds เกรด B, BB และ CCC
แล้วมันหมายถึงอะไร ? ไปดูกันครับ
Junk Bonds ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่านักลงทุนทุกคนจะได้ประโยชน์จากตรงนี้
สำหรับกลุ่มสินเชื่อที่อยู่ในระดับความเสี่ยงสูงที่สุด (Speculative Grade) สถานการณ์ยังคงดูเลวร้ายเท่าที่สุดที่เคยมีมา
มาตราทั้งหมดที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของสินเชื่อในสหรัฐฯ แสดงให้เราเห็นว่าช่องว่างระหว่าง Investment Grade และ Junk Grade เกือบจะอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
โดยรวมแล้วในขณะนี้ Junk Bonds มีระดับการซื้อขายสูงกว่า Investment Grade โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 5.52% ลดลงจาก 7.27% เมื่อเดือนก่อน
พันธบัตรในเกรด CCC มีระดับการซื้อขายเฉลี่ยสูงถึง 16.4% เมื่อเทียบกับคลัง และไม่เพียงแค่นั้น ช่องว่างระหว่างพันธบัตรเกรด CCC และ B ยังกว้างถึง 8.62%
ทั้งหมดนี้หมายความว่าสหรัฐฯ กำลังอัดฉีดเงินเข้าสู่พันธบัตรขยะมากกว่ากลุ่มสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำยังไงล่ะครับ ซึ่งแปลว่าเงินที่อัดฉีดเข้าไปก็จะต้อง "อยู่ในความเสี่ยงที่สูงมาก" เช่นกัน
1
อ้าว...งั้นก็หมายความว่า ทั้งที่ในวิกฤตแบบนี้ แต่ FED กำลังทำให้ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะเสี่ยงมากกว่าเดิมหรือ ?
คำตอบคือ "ใช่ครับ" สำหรับรายย่อยอย่างเรา แต่คำตอบคือ "ไม่ใช่" สำหรับ FED นี่สิครับ ซึ่งเหตุผลยังเป็นเรื่องเดิมก็คือ FED นั้นอยู่ในสถานะ "ตัวแทนของเจ้าหนี้"
พูดง่าย ๆ คือ FED ไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจาก 3 อย่างนี้
1. เข้าซื้อหนี้ (อัดฉีดเงินเข้าระบบ)
2. ปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน (ปรับระดับดอกเบี้ย)
3. ขายหนี้ (ถอนเงินพร้อมดอกเบี้ยกลับเข้าคลัง)
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ?
คำตอบง่าย ๆ ก็เพราะว่า FED เป็นผู้ออกกฎยังไงล่ะครับ อำนาจที่พิมพ์เงินได้ไม่จำกัดแบบนี้ ไม่มีประเทศไหนในโลกทำได้หรอกครับ นอกจากสหรัฐฯ และในเกมต่าง ๆ เช่น The Sims
1
หากจะเปรียบเทียบกับระบบยุติธรรม FED ก็คงเป็นเหมือนศาลฏีกา ที่มีอำนาจชี้ขาดทุกอย่างนั่นเอง
1
บันทึกหน้าที่ 5 : Is This The End Of Free Markets ?
...นี่คือจุดจบของตลาดเสรีหรือไม่ ?...
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ตลาดเสรี 100% มันไม่มีอยู่จริงนะครับ ดังนั้นแล้ว World Maker จะอธิบายเรื่องนี้ในบริบทที่ว่า
"การเข้าแทรกแซงของ FED ลดความเป็นตลาดเสรีลงมากน้อยแค่ไหน?"
ข้อเท็จจริงที่ 1 : FED ซื้อ Junk Bonds มากแค่ไหน ?
สิ่งที่ FED ซื้อในช่วงแรกคือพันธบัตรที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในเกรด BBB- และต่อมาขยายไปที่พันธบัตรระดับต่ำลง แต่ยังไม่ต่ำกว่าเกรด BB-
แต่ล่าสุด FED ได้ทำมากกว่านั้นแล้ว นั่นก็คือการเข้าซื้อพันธบัตรระดับ CCC เป็นจำนวนมหาศาล โดยจากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาคือมูลค่าของ Junk Bonds เพิ่มขึ้นราว ๆ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์
ซึ่งคาดว่าทั้งหมดนี้จะเป็นการเข้าซื้อโดย FED ในวงเงินที่สูงถึง 8.5 แสนล้านดอลลาร์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ อีกประมาณ 3.5 แสนล้านดอลลาร์
อ้างอิงจากแถลงการณ์เรื่องงบประมาณ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ของ FED ที่ระบุไว้ว่าเงินส่วนนี้จะเป็นการสนับสนุนภาคสินเชื่อต่าง ๆ สูงถึง 8.5 แสนล้านดอลลาร์
ข้อเท็จจริงที่ 2 : มาตรการช่วยเหลือครั้งนี้มีอะไรบ้าง ?
ขอบคุณภาพจาก FINNOMENA
ขอบคุณภาพจาก FINNOMENA
รายละเอียดอื่น ๆ มีดังนี้
1. เงินทุนสำหรับสภาพคล่องให้กับภาคท้องถิ่นของรัฐจำนวน 5 แสนล้านดอลลาร์
2. เงินกู้สำหรับตลาดสายหลัก เพื่อเสริมสภาพคล่องและเพิ่มเครดิตให้กับธุรกิจขนาดกลางจำนวน 6 แสนล้านดอลลาร์
1
3. เงินสนับสนุนในภาคสินเชื่อต่าง ๆ ทั้งในตลาดหลักและตลาดรองรวมมูลค่า 8.5 แสนล้านดอลลาร์ (เงินตรงส่วนนี้แหละครับ ที่ใช้ซื้อ Junk Bonds)
1
4. ประกันเงินเดือนสำหรับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ PPP
2
ทั้งหมดนี้กำลังบอกอะไรเรา ?
1
แน่นอนมันกำลังบอกเราว่า ในปัจจุบันนี้เรามีความเป็นตลาดเสรีน้อยลงอย่างมาก (อย่างน้อยก็ในช่วงนี้) เนื่องจาก FED จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงอย่างหนัก เพื่อพยุงตลาดเอาไว้
1
ภาพที่หลายคนยังไม่เห็นคือ FED ไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ตลอดไป...วันหนึ่ง FED จะต้องออกไปจากตลาดเหมือนดั่งที่เคยเป็นมา (เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจบิดเบี้ยวไปมากกว่าเดิม)
แล้วด้วยจำนวนเงินที่อัดฉีดเข้ามา ใครจะเป็นคนรับผิดชอบเมื่อมันหายไป ?
ก. FED
ข. สถาบันการเงินต่าง ๆ
ค. นักลงทุนรายใหญ่
ง. นักลงทุนรายย่อย
1
คำถามนี้ World Maker ฝากให้คิดต่อครับ
ข้อเท็จจริงที่ 3 : พันธบัตรบางส่วนถูกลดระดับจาก Investment เป็น Junk
Fallen Angel หมายถึงพันธบัตรที่ถูกลดระดับลงไปเป็น Junk Bonds ซึ่งรูปด้านล่างจะแสดงให้เห็นแนวโน้มของมันครับ เส้นสีน้ำเงินเข้มแสดงให้เห็น Spread ที่เพิ่มขึ้นของ Investment Grade ก่อนที่พันธบัตรบางส่วนจะถูกลดระดับ ส่วนเส้นสีฟ้าแสดงให้เห็นถึง Speard ที่เพิ่มขึ้นของ Junk Grade หลังจากพันธบัตรบางส่วนถูกลดระดับลงมา
สรุปคือยังไง ?
1. แม้ว่า FED กำลังเข้าแทรกแซงตลาดการเงินอย่างหนักในปัจจุบัน จนตลาดหุ้นหลงเหลือความเป็นตลาดเสรีอยู่น้อยมาก แต่เราก็ไม่อาจพูดได้ว่านี่คือจุดจบของตลาดเสรี เนื่องจากวันหนึ่ง FED จะต้องออกจากตลาดไปอยู่ดี
2
2. ความน่ากลัวก็ไม่ได้อยู่ในประเด็นที่ว่า เรายังหลงเหลือตลาดเสรีหรือไม่? แต่มันอยู่ตรงที่ "เราจะทำอย่างไรหาก FED ออกจากตลาดไป?"
3. คำถามข้างต้นคือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกำลังหาคำตอบอยู่ในตอนนี้
...โปรดติดตามตอนต่อไปได้ที่ World Maker...
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา