15 เม.ย. 2020 เวลา 05:23 • ความคิดเห็น
พอกันทีกับอิทธิพลจีนในลุ่มแม่น้ำโขง!
💥 กระแสใหม่ล่าสุดในโลกโซเชียล 💥
ตอนนี้ประเด็นการถกกันเรื่อง "นโยบายจีนเดียว" เริ่มซาลง และกำลังถูกแทนที่ด้วยดราม่า "เขื่อนแม่น้ำโขง" หลังจากมีคนหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำจนแล้ง
เกิดการสร้างแฮชแท็ก #StopMekongDam ขึ้นมา และภายในข้ามคืน แฮชแท็กดังกล่าวก็ขึ้นเทรนด์ในประเทศไทย
แล้วแม่น้ำโขงมันเกี่ยวอะไรกับจีนด้วยล่ะ?
วันนี้จะมาสรุปให้ฟัง 😉
“แม่น้ำโขง” เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 7 ของทวีปเอเชีย โดยมันมีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งบริเวณตอนเหนือของทิเบต ไหลผ่านเทือกเขาและที่ราบสูงของจีน ผ่านพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ผ่านกัมพูชา ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม
แผนที่แสดงการไหลของแม่น้ำโขง
ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง พันธุ์ปลาที่หลากหลาย ได้หล่อเลี้ยงประชาชนหลายสิบล้าน นับร้อยชาติพันธุ์ ที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศของแม่น้ำโขง
แต่ทว่า . . นับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในแผ่นดินใหญ่ ปริมาณน้ำโขงกลับลดลงในฤดูน้ำหลาก (เนื่องจากมีการเก็บกักน้ำไว้ที่เขื่อน) ซึ่งส่งผลกระทบตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารบริเวณประเทศท้ายน้ำ
ที่เห็นได้ชัดคงจะเป็นการลดลงและสูญพันธุ์ของปลาในแม่น้ำโขง
มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำโขงจะลดลงไป 40% และ 80% ของปลาทั้งหลายจะหายไปในปี 2040
สีดำ = เขื่อนที่จีนสร้างเสร็จแล้ว สีเทา = เขื่อนที่จีนกำลังดำเนินการสร้าง
การที่จีนเดี๋ยวกักน้ำเดี๋ยวปล่อยน้ำ ไม่ตรงตามฤดูกาล ทำให้สถานการณ์ในแม่น้ำโขงผันผวน
บางทีในหน้าแล้ง น้ำกลับขึ้นสูงผิดปกติ ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีสัญญาณแจ้งล่วงหน้า
ผลผลิตที่กำลังงอกเงยได้รับความเสียหาย แต่กลับไม่มีใครรับผิดชอบ
ปลาที่หนีลงน้ำลึกไม่ทัน นอนตายท่ามกลางทรายที่ร้อนระอุ -- Photo : BELL SUPATTRA IN
“สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำในทันที คือตระหนักและยอมรับว่าการใช้งานเขื่อนในจีนมีผลต่อระดับน้ำโขงทางตอนล่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
"ต้องเรียกร้องให้ประเทศต้นน้ำจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในทันที ด้วยความตระหนักว่าแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ใช้ร่วมกันในภูมิภาค เป็นแหล่งระบบนิเวศ และมีประชาชนพึ่งพาทรัพยากรร่วมนี้จำนวนหลายสิบล้านคน”
ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทยองค์การแม่น้ำนานาชาติกล่าว 💬
.
.
งานวิจัยจากสหรัฐฯ บวกกับภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าการกักน้ำของจีน ส่งผลให้แม่น้ำโขงแล้งที่สุดในรอบ 50 ปี
น้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา สันทรายโผล่ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลกระทบต่อชาวประมงที่ใช้แม่น้ำโขงในการทำเกษตรกรรม
ในขณะที่ระดับน้ำในที่ราบสูงทิเบตมีเป็นจำนวนมาก แตกต่างจากระดับน้ำในกัมพูชาและไทยที่แห้งขอด
ข้อมูลจากดาวเทียมพบว่า ในปี 2019 พบว่าปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย อีกทั้งยังมีหิมะที่ละลายจากที่ราบสูงทิเบต แต่! ระดับน้ำในตอนล่างของแม่น้ำโขงกลับแห้งแล้ง โดยปริมาณน้ำที่ชายแดนไทยและลาวนั้นต่ำกว่า 3 เมตร ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับปกติ
อีกทั้งจีนยังได้ใช้สิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแม่น้ำโขง ทำให้หลายประเทศในอาเซียนขาดแคลนน้ำ
🌊 สายน้ำที่ควรไหลไปตามเส้นทางธรรมชาติ
จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป 🌊
อย่างไรก็ตาม ทางการจีนออกมาปัดข้อกล่าวหาทั้งหมด พร้อมทั้งบอกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลปักกิ่งจัดการเรื่องการปล่อยน้ำสู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
.
.
ตลอดหลายวันที่ผ่านมา สังเกตว่าเว็บไซต์สำนักข่าว Xinhua จะเน้นพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการที่จีนช่วยเหลือประเทศอื่น ท่านสีจิ้นผิงเป็นห่วงประเทศนู้นประเทศนี้
พาดหัวข่าวจากซินหัวล่าสุด
ภาพการ์ตูนล้อเลียนอิทธิพลของจีนเหนือลุ่มแม่น้ำโขง
ชาวเน็ตจีนกลับไปตั้งหลักใน Weibo เพื่อวางแผนกลยุทธ์ใหม่
ไอโอจีน [อู่เหมา] ที่พ่ายแพ้ในโลกทวิตเตอร์ กลับไปตั้งหลักใน Weibo โดยวางแผนสร้างกลยุทธ์กันใหม่ ด้วยการเข้าไปในแฮชแท็ก #China แล้วทวีตภาพสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ อาหารที่น่ากินจากแผ่นดินใหญ่ หรืออะไรก็ได้ที่จะทำให้ประเทศจีนดูดี
จีนเปลี่ยนแผนใหม่ จากที่เคยด่าหยาบคาย มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับไทย
ไอโอจีนกลับลำ จากที่ทวีตด่าไทยมารัว ๆ ว่า NMSL (แม่ของเธอเสียชีวิต) เป็นการโปรโมตไอเดีย “ไทย-จีน ความสัมพันธ์ฉันน้องพี่”
แปะลิงก์ให้สำหรับใครที่อยากอ่านเพิ่มเติม 💕
โฆษณา