18 เม.ย. 2020 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
สวัสดีครับ ผมจากเพจ ให้ตัวหนังสือได้เล่าเรื่อง นะครับ คือจะขอบอกก่อนเลยว่าเพจนี้ตอนแรกก็ไม่ได้ชื่อนี้หรอกครับ พอดีอยากเปลี่ยนชื่อเพจ อยากเปลี่ยนรูปเพจ ก็เลยเปลี่ยนสะเลย5555 แต่ก็ยังจะคงหาเรื่องมาเล่าผ่านตัวหนังสือให้หลายๆคนอ่านเหมือนเดิมนะครับ โดยวันนี้ผมก็จะมาเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ"รถไฟไทย" ซึ่งผมคิดว่าเราแทบทุกคนรู้จักรถไฟ และหลายคนเคยโดยสารด้วยรถไฟอีกด้วย ซึ่งรถไฟที่เราหลายๆคนได้เคยเห็น ได้เคยโดยสารไปที่นั่นที่นี่ด้วยรถไฟแล้วก็คงได้รับความรู้สึก ความประทับใจต่างๆมากมายจากรถไฟไทย แล้วเราหลายๆรู้หรือไม่ครับว่า รถไฟไทยมีจุดกำเนิดเป็นมายังไง ถ้าอยากรู้เราไปให้ตัวหนังสือได้เล่าเรื่องกันครับ
รถไฟไทย https://www.khaosod.co.th/economics/news_523301
ต้องขอเล่าย้อนไปตั้งแต่ก่อนที่จะสร้างทางรถไฟกันเลยนะครับ ว่าในปีพ.ศ.2398 รัฐบาลอังกฤษได้ให้เซอร์จอห์น เบาริง ซึ่งเป็นอัครราชทูต และมิสเตอร์แฮรี่ สมิท ปาร์ค กงสุลเมืองเอ้หมึง(เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน) เป็นอุปทูต เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับไทยที่เคยทำไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2369(สนธิสัญญาเบอร์นี) โดยสนธิสัญญาใหม่ได้ประทับตราแผ่นดินอังกฤษ อัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้ามา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสทเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4
สมเด็จพระนางวิกตอเรีย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3
โดยเครื่องราชบรรณาการนั้นอาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ที่มีรถไฟจำลองเพราะสทเด็จพระนางวิกตอเรียทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงสถาปนากิจการรถไฟขึ้น แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนั้นยังไม่มั่นคง กิจการจึงต้องระงับไว้
http://procurement.railway.co.th/main/profile/history.html
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ด้วยนโยบายขยายอาณานคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมแหลมอินโดจีน พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยรถไฟ เพื่อให้สะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน เป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ และเป็นเส้นทางในการขนส่งผู้คนและสินค้าไปมาได้ง่าย
https://sites.google.com/site/sittisaknight55/home/prawati-rthfi-boran
ดังนั้นในปีพ.ศ.2430 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอนๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ เมื่อสำรวจเสร็จแล้วรัฐบาลพิจารณาสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงจุดแรกคือ นครราชสีมา
https://news.thaipbs.or.th/content/262091
ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการมีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ และผลปรากฏว่า มิสเตอร์จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท จากนั้นก็มีการว่าจ้าง มิสเตอร์จี มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการส้รางทางรถไฟ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 ณ บริเวณสถานีกรุงเทพ
http://procurement.railway.co.th/main/profile/history.html
จนในปีพ.ศ.2439 ทางรถไฟสำเร็จบางส่วนแล้วพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ - อยุธยา และเปิดให้ประชาชนเดินทางในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป มีระยะทาง 71 กม. เดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ4ขบวน มีสถานี9สถานี จนในปีพ.ศ.2443 การส้รางทางรถไฟก็เสร็จเรียบร้อย รวมระยะทาง 265 กม. ใช้เงินในการก่อสร้าง 17,585,000 บาท และสร้างทางรถไฟสายอื่นต่อๆไป
http://procurement.railway.co.th/main/profile/history.html
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ทรงรวมกรมรถไฟสายเหนือกับกรมรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ "กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน " ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99
และในสมัยนี้ได้มีการสั่งซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 2 คันมาจากสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก และได้ออกวิ่งเมื่อพ.ศ.2471 และในสมัยรัชกาลต่อๆมาก็ได้มีการสร้างทางรถไฟเพิ่มจากเดิม โดยในสมัยรัชกาลที่5 มีทางรถไฟที่เปิดใช้ 932กม. ยังสร้างไม่เสร็จ 690กม.
ในสมัยรัชกาลที่6 มีเปิดใช้ 2,581 กม. ยังสร้างไม่เสร็จ 497 กม.
ในสมัยรัชกาลที่7 เกิดสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังปั่นป่วน ดังนั้น การก่อสร้างทางรถไฟสมัยนี้จึงเป็นไปได้อย่างล่าช้า โดยมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่อีก 418 กิโลเมตร
ในสมัยรัชกาลที่8 ก็ประสบกับสภาวะด้านการเงินและสงครามโลกครั้งที่2 โดยมีทางรถไฟก่อสร้างเพิ่มอีก 259 กิโลเมตร
จนถึงในสมัยรัชกาลที่9 ได้มีการบูรณะฟื้นฟูกิจการรถไฟจากสงครามโลก และได้มีการเปลี่ยนฐานะของกรมหลวงรถไฟมาเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า"การรถไฟแห่งประเทศไทย" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา
http://procurement.railway.co.th/main/profile/history.html
ซึ่งปัจจุบัน ในวันที่14 กันยายน พ.ศ.2559 การรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมความยาวทั้งสิ้น 4,507.884 กม.
ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับประวัติจุดกำเนิดของรถไฟไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ผมจากเพจ ให้ตัวหนังสือได้เล่าเรื่อง ก็ขอขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่าน และก็ด้วยสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19ในตอนนี้ก็ขอให้ทุกๆคนปลอดภัยจากโควิด-19 และก็อย่าลืมล้างมือให้สะอาด ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง แล้วเราจะผ่านมันไปได้ครับ ขอบคุณครับบบ😁
โฆษณา