30 เม.ย. 2020 เวลา 02:00 • ความคิดเห็น
ตามไปดู คนรวยใช้เงิน ตอนที่ 2
ถ้าคุณคิดว่าการร่วมกันบริจาคเงินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐของ Bill Gates และ Warran Buffet เยอะแล้ว วันนี้ผมจะพาไปตามติดคุณทวดผู้ที่บริจาคเงินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยและห้องสมุด และอื่นๆอีกมากมาย โดยคาดการว่ายอดเงินบรืจาคคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 350,000 ล้านเหรียญ มาตามติดชีวิตคุณทวด "Andrew Carnegie"
คุณทวด Andrew Carnegie ก็ไม่ได้เกิดมาเป็นมหาเศรษฐีเลยนะครับ ทวดเป็นชาวสกอตแลนด์อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลมาแสวงโชคที่ดินแดนใหม่นั้นก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่นี้คุณทวดก็เริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 13 เป็นเด็กเดินส่งหลอดด้ายในโรงงานสิ่งทอ (Bobbin boy) และก็ขยับขยายไปจนได้มี
โอกาสมาทำงานที่โทรเลข ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณทวดได้เห็นความสำคัญของห้องสมุด และได้โอกาสสร้างฐานะผ่านธุรกิจอีกหลายๆอย่าง
ในช่วงที่ทำงานโทรเลข เพื่อนของคุณทวดก็ชวนไปลงทุนในบริษัทรถไฟ บริษัทที่ให้บริการรถไฟตู้นอน เมื่อประสบความสำเร็จก็ไปลงทุนต่อในบริษัทขุดเจาะน้ำมัน ประสบความสำเร็จอีกก็ไปลงทุนให้อุตสาหกรรมเหล็กซึ่งกำลังขยายตัวและเติบโตเป็นอย่างมาก และท้ายที่สุดคุณทวดก็ได้ขายธุรกิจเหล็กให้กับนักเทคโอเวอร์ผู้ยิ่งใหญ่ J.P. Morgan
หลังจากนั้นคุณทวดก็มอบความมั่งคั่งกว่า 90% และทุ่มเวลาสุดตัวไปกับการทำการกุศล (ถึงกับมีการเซ็นต์สัญญาล่วงหน้ากับภรรยาว่าไม่มีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้คุณทวดใช้เงินเพื่อกิจกรรมทางการกุศล) แล้วคุณทวดใช้เงินทำอะไร
บ้างมาดูกัน
1. สร้างมหาวิทยาลัย คุณทวด Carnegie ศึกษาหาความรู้ด้วยการเรียนตอนกลางคืนบวกกับอ่านหนังสือจากห้องสมุดส่วนตัวของผู้บรหารสำนักงานโทรเลขที่ทำงานอยู่ คุณทวดรับรู้ถึงความสำคัญของการศึกษาโดยเฉพาะแรงงานที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในระบบ
ในปี 1900 คุณทวดจึงบริจาดเงิน 1M USD เพื่อก่อตั้ง Carnegie Technical School เพื่อเป็นที่ฝึกฝนพัฒนาคนในสายช่างในเมือง Pittsburgh ถึงตอนนี้มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon เติบโตมาอย่างยั่งยืนเป็นเวลากว่า 120 ปี และยังมีส่วนเป็นรากฐานทางการศึกษาของคนทั้งโลกอีกด้วย
นอกจากนี้คุณทวดยังเงินเพื่อร่วมสร้างคณะวิทยาศาสตร์ให้กับมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในอังกฤษ เพื่อให้มีคณะวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยเหมือนกับที่คอล์แนล
2. สร้างห้องสมุด ด้วยความรักในการอ่าน คุณทวดได้มีส่วนในการสร้างห้องสมุดสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้ โดยคุณทวดได้สร้างห้องสมุดกว่า ห้องในสหรัฐและต่างประเทศ โดยห้องสมุดแห่งแรกที่คุณทวดบริจาคเงินสร้างคือ ห้องสมุดที่เมือง Dunfermline บ้านเกิดของคุณทวดนั้นเอง
คุณทวดได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างห้องสมุดมากกว่า 2,500 แห่ง โดยได้มองการไกลว่าการสร้างเป็นเพียงจุดเริ่มต้น การดูแลเป็นปัญหาใหญ่กว่า คุณทวดจึงว่าระบบไว้ว่า เมื่อที่ต้องการเงินไปสร้างห้องสมุดนั้นต้องเข้ามา
มีส่วนรวมในการบริหารดูแล เช่น ต้องแสดงให้เห็นว่าประชาชนในท้องถิ่นมีความต้องการห้องสมุด ท้องถิ่นจะจัดสรรงบประมาณมาดูแล จ่ายค่าจ้างพนักงาน
คุณทวด Carnegie ยังได้ปรับปรุงระบบการให้บริการ จากที่เราต้องแจ้งให้พนักงานไปหยิบหนังสือมาให้ เป็นระบบช่วยตัวเองแบบปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของห้องสมุดอีกด้วย
ห้องสมุดแห่งแรกที่ Dunfermline Carnegie บริจาคเงินสร้างที่บ้านเกิดในสกอตแลนด์ Cr: www.simpsonandbrown.co.uk
3. การศึกษาสำหรับเด็ก ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะเกิดหลังจากที่คุณทวดเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กองทุนที่คุณทวดตั้งไว้ ได้ทำการศึกษาระบบโทรทัศน์ในอเมริกายุดนั้น และพบว่าน่าจะมีรายการโทรทัศน์ที่ช่วยสอนเด็กๆ
ค่ำวันหนึ่งขณะที่ Joan Ganz Cooney ประธานคณะทำงานโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของเด็ก หัวหน้าโครงการ Sesame Street workshop ได้ทานข้าวกับ Lloyd Morrisett ผู้บริหารมูลนิธิของ Carnegie โครงการของ Cooney จึงเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
ด้วยการสนับสนุนจากทางมูลนิธิ Sesame street จึงได้โลดแล่นบนหน้าจอโทรทัศน์และเป็นรายการที่ให้ความรู้ความบันเทิงกับเด็กทั่วโลกมากกว่า 50 ปี
Sesame Street Creator Joan Ganz Cooney attends the 12th Annual Sesame Workshop Benefit Gala at Cipriani 42nd Street on May 28, 2014
นี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ Andrew Carnegie ได้มอบความมั่งคั่งเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นไว้ให้คนรุ่นต่อไป
เหมือนดังที่ Andrew Carnegie กล่าวไว้ว่า
+ จงใช้เวลา 1/3 ของชีวิตกับการหาความรู้
+ ใช้เวลาอีก 1/3 ในการสร้างความมั่งคั่ง และ
+ ใช้เวลา 1/3 สุดท้ายของชีวิตสร้างสิ่งที่มีคุณค่า
ผมว่าคุณทวดได้ใช้เวลามากกว่า 1/3 ของชีวิตในการสร้างสิ่งที่มีคุณค่าแล้วละครับ 😊
ถ้าบทความมีประโยชน์
ฝากกดติดตาม
ฝากกดให้กำลังใจ
ฝากกดแชร์ให้หน่อยนะครับ 😉
โฆษณา