30 เม.ย. 2020 เวลา 12:28 • สุขภาพ
Basic life support ทักษะที่ควรรู้ไว้ ช่วยหัวใจในวันที่ไม่มีแรงเต้นเอง
ในปัจจุบันมีทักษะการร้องเพลง การเต้น การทำงาน ที่ใครๆต่างให้ความสนใจกันมากมาย
แต่ทักษะที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งอย่างที่ทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็น เด็ก วัยรุ่น หรือ ผู้ใหญ่ ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญ นั่นคือ
‘การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน’
ทำไมใครๆก็บอกว่าทักษะนี้สำคัญกันนักหนา เดี๋ยวปูเป้จะยกตัวอย่างสถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้ในชีวิตประจำวันสักสองสามตัวอย่างนะคะ
สิ่งที่ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นมาได้ทุกเมื่อ อาจจะเกิดขึ้นในวันที่คุณกำลังเดินออกจากร้านกาแฟ ขณะที่ลิ้มรสชาติกาแฟอยู่นั้น อาจจะมีใครบางคนทรุดตัวลงบนพื้นต่อหน้าต่อตาคุณ
เจอแบบนั้นคุณจะทำยังไงดีคะ?
1. ทิ้งกาแฟไปปั๊มหัวใจในทันที
2. ตั้งสติ หายใจเข้าออกลึกๆ
3. ตะโกนขอความช่วยเหลือในทันที
1
พอนึกออกกไหมคะ การเกิดสถานการณ์คับขันอาจทำให้เราไม่มีสติและทำอะไรไม่ถูก
คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี่คือ 2. ค่ะ
การมีสติจะสำคัญที่สุดในสถานการณ์นี้
หลังจากมีสติแล้วก็ดูรอบๆตัวก่อนว่ามันปลอดภัยไหมที่จะเข้าไปช่วยเหลือ อย่าทำให้ตัวเองต้องเสี่ยงเพิ่มค่ะ เราเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตและอาจตายได้ทุกเมื่อเช่นกัน
ถ้าไม่ปลอดภัยให้ตามคนช่วยในทันที ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเคลื่อนย้ายตัวเขามาในที่ปลอดภัย จากนั้นค่อยเดินเข้าไปหาผู้ป่วยคนนั้น วางแก้วกาแฟลง จับให้นอนหงาย
1. ลองเรียกดู ถ้ายังอือ อา ออ ส่งเสียงได้ และยังหายใจได้ ***สังเกตจากหน้าอกที่ยังกระเพื่อมเป็นจังหวะอยู่*** ก็แสดงว่าอาจจะแค่เป็นลมไป อากาศอาจจะร้อนเกิน ชุดแน่นไป หรืออาจจะน้ำตาลต่ำ ความดันต่ำ ลองพาไปอยู่ในที่ลมโกรก หาน้ำหวานให้ดื่ม
*ถ้าไม่รู้ว่าจะทดสอบยังไงให้ถามว่า ‘คุณชื่ออะไรคะ’ + ตบบ่าสองข้างแรงๆ
2. เรียกแล้วไม่ตื่น ไม่ส่งเสียง จับชีพจรดูเลยค่ะ แนะนำบริเวณข้อมือนี่แหละง่ายดีค่ะ ว่างๆลองจับชีพจรตัวเองเล่นๆนะคะ อัตราปกติคือ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่สำหรับการจับชีพจรในคนที่หมดสติ เอาแค่ 10 วินาทีพอค่ะ ถ้ายังมีชีพจร + ยังหายใจ ให้รีบโทร 1669 แจ้งพิกัด และขอคำแนะนำในการดูแลระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่มา
1
การจับชีพจร
3. เรียกไม่ตื่น ชีพจรหาย หายใจเฮือกสุดท้ายแล้วหยุดไปเลย 😱😱😱😱
**** โปรดตั้งสติ*****
ขยับแก้วกาแฟออกไปให้ห่างจากตัว ตะโกนดังๆว่า ช่วยเรียก 1669 เอาเครื่อง AED มาให้ด้วย
หลังจากนั้นเราก็จะเข้าสู่การกดนวดหน้าอกเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นในวันที่มันไม่มีแรงจะเต้นเอง
เราจะมากู้ชีพกันอย่างสโลว์ๆในเพจของปูเป้นะคะ เพราะสถานการณ์จริงทุกอย่างจะเร็วมากๆ ตั้งสติให้ทันกันนะทุกคน
1
1.ต้องจัดให้นอนหงายราบ ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
ในภาพแบบนี้สบายไป ไม่มีกระดานรองกดแล้วไม่มีประสิทธิภาพค่ะ ต้องหาพื้นแข็งๆ หรือกระดานรองหลังนะคะ พอดีหล่อค่ะเลยเอามาลง โฮะๆๆ
อ่ะ อย่างนี้โอเคค่ะ พื้นราบแข็ง ดูแล้วรอบข้างปลอดภัย ไม่ใช่ปั๊มหัวใจอยู่ดีๆรู้ตัวอีกทีวิญญาณหลุดไปพร้อมๆกัน
1
2. นั่งลงข้างตัวผู้ป่วย นั่งแบบยืนเข่าในฝั่งที่ถนัด ชิดข้างตัวผู้ป่วยคนนั้น แนะนำว่าฝั่งขวานะคะ
การกดนวดหน้าอดจะกดที่กึ่งกลางหน้าอก นั่นคือ ใช้ส่ยตากะคร่าวๆ ลากเส้นระหว่างหัวนม แล้วหาจุดกึ่งกลาง มันจะเป็นกระดูกแข็งๆ หวำลงไปนิดหน่อย
*ถ้าคนนั้นเป็นผู้ชายถอดเสื้อออกเลยค่ะ จะได้เห็นชัดๆ ถ้าเป็นผู้หญิงก็อย่าไปเปลือยเขานะ กะๆเอาก็พอ
1
ได้ตำแหน่งแล้วให้วางสันมือลงไปตรงตำแหน่งนั้นค่ะ
หลังต้องเหยียดตรง แขนต้องเหยียดตึงตลอดเวลา ใช้สะโพกเป็นจุดหมุนนะคะ เพื่อให้มีแรงส่งเต็มที่จากไหล่ลงไปที่มือ
การวางมือ ใช้สันมือข้างหนึ่งวางลงตำแหน่งก่อน ค่อยตามด้วยอีกข้าง แล้วกำมือหรือไม่กำก็ได้ แล้วแต่ค่ะ ปูเป้ถนัดกำมือมากกว่า เพิ่มแรงมากกว่า
อัตราการกดคือ 100-120 ครั้งต่อนาที
จังหวะเหล่านี้ฟังตามจังหวะเพลงก็ได้นะ
เสิร์ช Songs to do CPR แล้วเลือกจำเอาเพลงที่ชอบสักเพลง เก็บจังหวะนั้นไว้ดีๆ แล้วลองนับจังหวะเพลงออกเสียง 1 และ 2 และ 3 และ 4 .... และ 10
สิบ เอ็ด สิบ สอง สิบ สาม ไปเรื่อยๆเลยจ้า
ไม่ต้องผายปอดก็ได้ เน้นการกดนวดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพ คือ กดลึก 2 นิ้ว เวลาปล่อยก็ปล่อยขึ้นให้สุด และ 100-120 ครั้งต่อนาที
**แนะนำแอพพลิเคชั่นให้จังหวะการกดหน้าอก cardio tempo โหลดมาลองฟังเล่นก็ได้ค่ะ
ถ้ามีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อยู่แถวนั้น เขาจะมาช่วยเปลี่ยนมือเองค่ะ ระหว่างนี้ต้องมั่นใจว่ามีคนเรียกเจ้าหน้าที่ให้เราจริงๆนะ
เหนื่อยไม่ใช่เล่นๆเลยนะคะ เหนื่อยกว่า plank อ่ะบอกเลย
ในกรณีที่กดนวดหน้าอกไปแล้วเขาตื่นขึ้นมา หายใจ มีเสียงตอบรับ ให้จับนอนตะแคงนะคะ เน้นว่าระบบทางเดินหายใจต้องโล่ง *ห้ามมุง* แล้วก็คอยดูตลอดว่ายังหายใจ ยังมีชีพจรอยู่ไหมจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึงค่ะ
สำหรับวันนี้รอดชีวิตแล้ว โล่งใจได้ค่ะ
คราวหน้าปูเป้จะพาไปเล่นเครื่อง AED กันนะคะ 💕
เรียบเรียงโดย
การเดินทางของผีเสื้อ🦋
โฆษณา