1 พ.ค. 2020 เวลา 08:25
โลกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
** สถานการณ์โควิด-19 ที่ค่อนข้างรุนแรง คร่าชีวิตผู้คนทั้งโลกโดยปราศจากวัคซินที่ทำการรักษาโรคนี้
ทำให้ผู้คนทั้งหลายต้องหลบอยู่ในบ้านของตน หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน หลีกเลี่ยงจากการพบปะ เพื่อป้องกันไวรัสโรคร้ายอันเป็นละอองฝอยเล็ก ๆที่อาจจะเป็นพาหะในการติดต่อของโรค
เมื่อผู้คนทั้งหลายต่างเก็บตัวเพื่อมิให้โรคนี้กระจาย จึงเป็นโอกาสอันดีที่อาจจะทำให้ธรรมชาติที่เคยถูกรังแกฟื้นตัวขึ้นมา
ในคัมภีร์พระไตรปิฎก กล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่โดนบุกรุก ป่าอันร่มรื่นโดยที่พระอุปสีวเุถระ ได้กล่าวถึงการสร้างอาศรมใกล้กับภูเขาอโนมะ มีแม่น้ำไหลอยู่ ในแม่น้ำประกอบด้วยกอบัว อันประกอบไปด้วยบัวขาว บ้วแดง บัวสาย
ใต้กอบัวนั้นมีปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลาตะเพียน เต่าชุกชุม
ต้นไม้ที่มีหลายหลาก เช่นต้นดีหมี ต้นอโสก ต้นเข็ม ต้นชาตบุต มะงั่ว มะนาวขึ้นรอบอาศรม
ต้นที่ขึ้นเป็นหมู่ ๆ ประกอบไปด้วยต้นรัง ต้นสน ต้นจำปา ต้นกุ่ม ต้นอุโลก สลัดได ต้นประดู่ ต้นมะซางหอม ต้นราชพฤกษ์ ต้นราชพฤกษ แคฝอย ต้นประยงค์ ต้นมะกล่ำหลวง ต้นช้างน้าว
นกทั้งหลายอันประกอบไปด้วยนกพิราบ นกคับแค นกกวัก นกกาน้ำนกต้อยตีวิดนกค้อนหอย นกโพระดก กระรอก กระแต นกเขา เหยี่ยว ไก่ป่า ฟาน กวาง เสือโคร่ง เสือดาว ลิง หมี
จากบันทึกในพระไตรปิฎกพอสรุปได้ว่า ในสมัยนั้น ธรรมชาติช่างงดงามเหมาะสมในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ สัตว์ และป่าไม้ ค่อนข้างจะรักษาสมดุลระหว่างกัน
เมื่อเกิดโรคระบาดมนุษย์จึงต้องกักตัวอยู่ในที่พัก สิ่งนี้อาจทำให้ธรรมชาติได้พัก และฟื้นตัวเร็วขึ้น
นอกจากธรรมชาติจะได้ฟื้นฟูแล้ว
"ใจ" ของผู้ที่อาศัยร่วมโลกยังได้ปรากฏขึ้น
ดังเช่น
การแจกอาหาร ยารักษาโรค ปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพให้กับผู้ที่ยากไร้ ผู้ที่มีโอกาสน้อยทางสังคม
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากในสังคมปัจจุบันแต่ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว
"ใจ" เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อ"ใจ" อยากจะ "ให้"
การให้ เป็นการขจัดความตระหนี่ออกจากใจ
พระไตรปิฎก กล่าวถึงการให้ ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ได้ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
การให้ทานตามกาลเวลาในขณะที่เกิดโรคระบาด จะเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใสและได้อานิสงส์ของการให้ทานอย่างเต็มที่ ประดุจผลไม้ที่ดีเลิศที่คราวแรกจากสวน
กล่าวโดยสรุป
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ ก่อให้เกิดหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ขึ้นดังเช่นความเมตตา ความกรุณาที่ปรารถนาให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นสุข และมีมุทิตาจิตเป็นสุขเมืื่อผู้ที่ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือ รวมทั้งการมีจิตใจที่วางใจเป็นกลางในบางครั้งที่ผู้ประสบภัยอยู่ในฐานะที่ไม่อาจจะช่วยเหลือได้ทันท่วงที
สันนิษฐานได้ว่า เมื่อโรคระบาด ภัยพิบัติต่าง ๆ สงบลง มนุษย์จะมีจิตใจที่งดงามและสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์โลกผู้น่ารักรวมทั้งรักษาธรรมชาติที่เป็นป่า ภูเขา แม่น้ำ ทะเล ได้อย่างปรกติสุข
คำสำคัญ:โลก ธรรม ธรรมชาติ
refers:
พระไตรปิฎก เล่มท่ี่ 2 หน้าที่ 35 -36
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อที่ 25
เรื่อง ทานานิสังสสูตรและ กาลทานสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 32 หน้าที่ 410
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 1 ข้อที่ 407
เรื่อง อุปสีวเถราปทานที่ 5 ว่าด้วยการสร้างอาศรม
โฆษณา