1 พ.ค. 2020 เวลา 14:03 • ประวัติศาสตร์
"จักรพงษ์ ณ อยุธยา" ราชสกุลสำคัญที่เกือบจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
3
ต้นตระกูลของร็อคเกอร์มากความสามารถ
ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ ที่หลายคนไม่รู้............
4
สายราชสกุลวงศ์”จักรพงษ์ ณ อยุธยา”
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความน่าสนใจอย่างยิ่งบนหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
เจาะเวลาหาอดีตจะพาท่านผู้อ่านย้อนไปดูกัน
1
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
3
"สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์" ต่อมาทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิจประชานาถ" ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 และเสด็จสวรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระบรมราชชนนี 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์, สมเด็จเจ้าฟ้าจตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (ต้นราชสกุลจักรพันธุ์) และสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช (ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์)
3
ก่อนพระองค์ทรงขึ้นเสวยราชย์ ทรงมีพระราชธิดาอยู่ก่อนแล้ว 2 พระองค์เมื่อสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระราชโอรส 32 พระองค์ และพระราชธิดา 42 รวมอีก 2 เป็น 44 พระองค์ สิ้นพระชนม์ในพระครรภ์อีก 1 รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว มีทั้งสิ้น 15 ราชสกุล
15
ส่วนราชสกุล "จักรพงษ์ ณ อยุธยา" พระองค์ต้นราชสกุล คือ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีพระนามเดิมว่า
"สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ" ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 40 และเป็นลำดับที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ประสูติ เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2425
8
จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นคนไทยพระองค์แรกที่จบวิชการทหารบกจากประเทศรัสเซีย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำรงพระยศเป็นนายพลตรีราชองครักษ์ และตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
1
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้ทรงบัญชการกรมทหารมหาดเล็ก และได้เลื่อนพระยศขึ้นเป็นจอมพลทหารบก โดยผลงานที่โดดเด่นของพระองค์ก็คือ ทรงก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รวมทั้งทรงบุกเบิกทางด้านกิจการการบินขึ้นภายในกองทัพไทย และทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ประทับบนเครื่องบินอีกด้วย
เสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ณ ประเทศสิงคโปร์ สิริพระชันษาได้ 38 ปี
1
เรื่องราวของ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีความน่าสนใจตรงที่พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาในพระราชมารดาเดียวกับสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง
3
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่สองแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ (ลำดับที่1 คือ รัชกาลที่ 6)
5
แต่พระองค์ได้แหวกม่านของขัตติยราชประเพณีด้วยการเสกสมรสกับคัทริน เดสนิตสกี สุภาพสตรีเชื้อสายยูเครนจากรัสเซีย จนทำให้พระราชชนกและพระราชชนนีทรงผิดหวังและกริ้วหนัก
5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถว่า
3
"ถ้ามีลูกออกมาแล้ว จะให้มันเป็นอะไร"
สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถกราบบังคมทูลตอบว่า
"ไม่ต้องเป็นอะไรเลย ให้มันเป็นมิสเตอร์ก็ได้"
3
ซึ่งในกาลต่อหม่อมคัทรินประสูติพระโอรส "ลูกครึ่ง" และมีฐานันดรเป็นหม่อมเจ้าโดยอัตโนมัติคือหม่อมเจ้าพงษ์จักร
"หม่อมเจ้าพงษ์จักร" ประสูติ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2451 เวลา 23.58 น. ณ ห้องแดง ภายในวังปารุสกวัน ถือเป็นบุคคลเดียวที่ถือกำเนิดบนตำหนักวังปารุสกวัน
3
ด้วยเหตุที่หม่อมเจ้าพงษ์จักรทรงมิได้รับพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าดังที่ควรจะเป็น แต่พระองค์ก็เป็นที่หลงใหลให้แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงยิ่งนัก แต่เดิมที่เคยกริ้วในพระราชโอรสมาก่อน ก็ทรงกลับตื่นเต้นและหายกริ้ว เมื่อพบกับหม่อมเจ้าพงษ์จักร
11
หม่อมเจ้าพงษ์จักร
ภายหลังรัชกาลที่ 5 ได้สวรรคตในปี 2453 หม่อมเจ้าพงษ์จักรพึ่งอายุเพียง 2 ขวบ
3
หลังจากนั้นไม่นานหม่อมเจ้าพงษ์จักรพลัดพรากจากพระมารดาที่ไม่ได้เอ่ยคำร่ำลากัน หลังจากเกิดการหย่าร้างของพระบิดาและมารดาขึ้น
3
หม่อมเจ้าพงษ์จักร
ต่อจากนั้นชีวิตของหม่อมเจ้าพงษ์จักร ต้องมาเสียบุคคลซึ่งอันเป็นที่รักในเวลาติดๆกัน ซึ่งอีก 2-3 เดือนต่อมา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จย่าก็มาสวรรคต ตามด้วยการทิวงคตของพระบิดาในอีก 8 เดือนต่อมา
5
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระเมตตาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยศขึ้นเป็น
"พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์" เมื่อปี พ.ศ. 2463
5
หลังจากที่พระบิดาทิวงคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลกระหม่อมลุงและทูลกระหม่อมอาน้อย(ร.7) ทรงวางแผนการศึกษาให้พระนัดดาได้ศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อพระชันษาครบ 13 ปี โดยต้องการให้พระองค์จุลฯ รู้จักปกครองดูแลตนเองและทรงได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดจากครอบครัวของพระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) อัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ
5
จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทรงรับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงลอนดอน
3
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ทางราชสำนักจึงกล่าวถึงพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่มีโอกาสจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากรัชกาลที่ 7 (ร.6 ทรงมีแต่พระราชธิดา)
3
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงให้คำสัมภาษณ์กับเหตุการณ์นี้ว่า
"จะไม่มีใครมาเชิญฉันหรอก และถึงจะมีคนมาเชิญจริง ๆ ฉันก็ยินดีรับไม่ได้เพราะได้ถูกตัดออกอย่างเด็ดขาดมานานแล้ว ถ้าจะรบเร้ากันจริง ๆ ซึ่งก็ไม่เชื่อว่า จะมีใครมารบเร้า ฉันต้องยืนยันให้มีประชามติ (plebiscite) กันเสียก่อน"
7
คำสัมภาษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงหลักการของประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงเข้าใจอย่างถ่องแท้ และกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ที่ออกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 เกี่ยวกับลำดับชั้นเชื้อพระบรมวงศ์ ซึ่งจะควรสืบราชสันตติวงศ์ได้นั้น ในหมวดที่ 5 "ว่าด้วยผู้ที่ต้องยกเว้นจากการสืบราชสันตติวงศ์" มาตรา 11
5
"มาตรา 11 เจ้านายผู้เป็นเชื้อพระบรมราชวงศ์ ถ้าแม้ว่า เป็นผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ข้างล่างนี้ไซร้ ท่านว่า ให้ยกเว้นเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ ลักษณะที่กล่าวนี้คือ... (4) มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว กล่าวคือ นางที่มีสัญชาติเดิมเป็นชาวประเทศอื่น นอกจากชาวไทยโดยแท้"
5
ผนวกกับ "มาตรา 12 ท่านพระองค์ใด ตกอยู่ในเกณฑ์มีลักษณะบกพร่องดังกล่าวมาแล้วในมาตรา 11 แห่ง กฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ ท่านว่า "พระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น" ซึ่งได้แก่ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เองและลูกหลาน
3
อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงขยันขันแข็งในการทรงงาน ทรงแบ่งเวลาในแต่ละวันในงานพระนิพนธ์ ไม่เพียงทรงนิพนธ์งานทางประวัติศาสตร์เป็นภาษาไทย ยังทรงนิพนธ์ภาษาต่างประเทศไว้ก็มาก
1
พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศแต่ดำรงตนไว้ซึ่งพุทธศาสนิกชนและประเพณีไทยทุกประการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงพบ หม่อมเอลิสะเบธ แต่ขณะนั้นท่านตั้งพระทัยจะไม่รักสตรีต่างชาติเนื่องจากรัชกาลที่ 7 ทรงรับสั่งผ่างทางจดหมายกำชับไว้
3
จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงรู้สึกเป็นอิสระจากภาระหน้าที่ตามพระราชประเพณี ได้ตัดสินพระทัยเสกสมรสกับหม่อมเอลิสะเบธ
5
ซึ่งในช่วงแรกของชีวิตหลังเสกสมรสนั้น พระองค์ทรงตั้งพระทัยไม่ต้องการมีลูกเพราะเกรงปัญหาเกี่ยวกับราชประเพณี ซึ่งมีคำตรัสในจดหมายที่ส่งถึงหม่อมเอลิสะเบธ ความว่า
"ถ้าเผื่อเราแต่งงานกัน อย่ามีลูกกันเลย เพราะเด็กที่เกิดมาหลายเชื้อชาติ จะมีปัญหาตลอด"
แต่แล้วในภายหลังหม่อมเอลิสะเบธก็ได้ตั้งครรภ์ หลังจากที่เสกสมรสมาถึง 18 ปี ให้กำเนิดบุตรธิดา นามว่า
1
"หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์” ซึ่งเป็นมารดาของ ฮิวโก้ จุลจักร จักพงษ์ ที่คนไทยต่างรู้จักเขาในบทบาทร็อคเกอร์และนักแสดงผู้มากความสามารถนั่นเอง
1
หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ และ ฮิวโก้
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
2
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- หนังสือ "ย้อนรอยราชสกุลวงศ์วังหลวง" โดย กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร
- หนังสือ "เกิดวังปารุสก์" นิพนธ์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
1
URL อ้างอิงกรุณาก๊อปปี้ไปวางที่บราวเซอร์ถึงจะเข้าได้นะครับ!!
โฆษณา