1 พ.ค. 2020 เวลา 13:23
Gen Y, Gen Z ยอมรับหรือทัดทาน “คลุมถุงชน”
pic : pixabay
“คลุมถุงชน” หนึ่งในวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนานนับพันปี ประเพณีการแต่งงานที่ฝ่ายหญิงนำสินสอดไปสู่ขอฝ่ายชาย หากพูดถึงเรื่องนี้ ประเทศแรกที่นึกถึงคงไม่พ้นอินเดีย ประเทศที่ประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก แล้วทุกวันนี้ล่ะ วัยหนุ่มสาว Gen Y, Gen Z ยังคงปฏิบัติตามแนวทางที่รุ่นปู่ย่าตายายเป็นแบบอย่างไว้หรือไม่
จากยุค Industrial Revolution สู่ยุค Internet Century ที่ความแตกต่างมีมากอย่างชัดเจน ทุกวันนี้โลกหมุนเร็ว จนก้าวตามอย่างเดียวไม่พอแล้วต้องเดินคู่หรือวิ่งนำจึงจะทันกาล
 
หันกลับมามองชีวิตผู้คน ขนบธรรมเนียมหรือวิถีที่มีมาแต่เก่าก่อนของประชากรบนโลกใบนี้ หลายสิ่งที่ยังคงอยู่ หลายเรื่องราวได้ผันแปรเปลี่ยนไป
ความเชื่อของคนอินเดียในเรื่องการแต่งงานไม่เพียงแต่เป็นประเพณีเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องราวความสำคัญลำดับต้น ๆ ของการมีชีวิต ที่เมื่อมีการเกิด ต้องมีการตายเป็นสัจธรรมเช่นไร ชีวิตก็ต้องมีการแต่งงานเป็นไปด้วยเช่นนั้น
1
เกิดเป็นหญิงสาวไม่ได้แต่งงานถือเป็นเรื่องผิดปกติ นี่คือหนึ่งในวิธีคิดความเชื่อของอินเดีย และแน่นอนว่าพิธีการแต่งงานที่ผ่านมาตั้งแต่ครั้งอดีต ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวรรณะ ศาสนา การศึกษา หน้าตา บุคลิกภาพ และอื่น ๆ
1
หรือหากกล่าวอีกนัย นั่นคือผู้เป็นลูกไม่สามารถตัดสินใจเลือกหรือคบใครได้อย่างอิสระตามที่ใจปรารถนา ผู้เป็นพ่อแม่จะมองหา เลือกสรรคนที่คู่ควร ทั้งจากการแนะนำโดยแม่สื่อพ่อชัก จากการหาข้อมูลบนเว็บไซต์หาคู่ (ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของอีกฝ่ายประกอบการคัดเลือก) รวมไปถึงการจ้างนักสืบเอกชน ให้ติดตามสืบเสาะข้อมูลพื้นเพของอีกฝ่าย จนมั่นใจว่าคนที่เลือกมีความเหมาะสม
แม้วันนี้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำเข้ามาในเขตแดนของความเชื่อและสิ่งยึดถือปฏิบัติ ก็อาจทำให้แปรเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ไม่มากเสียทีเดียว จากข้อมูลสถิติปี 2558 พบว่า
.
การแต่งงาน “คลุมถุงชน” ที่พ่อแม่จัดหาตามวิธีแบบดั้งเดิม ยังมีมากถึงร้อยละ 70
.
การแต่งงาน “คลุมถุงชน” เช่นกัน แต่หากวิธีอาจเปลี่ยนไป ในวันนี้รุ่นพ่อแม่หรือพี่น้องเครือญาติสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โยงใยไปยังเว็บไซต์ยอดนิยมมากมายได้เข้ามามีบทบาทให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ “คลุมถุงชน” วิธีสมัยใหม่แบบนี้ มีมากถึงร้อยละ 25
.
นอกนั้นเป็นการแต่งงานแบบตัดสินใจเลือกคู่อย่างอิสระ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น
1
ปี 2560 - 2562 ข้อมูลแหล่งข่าวและสื่อโซเชียลในช่องทางที่แตกต่าง ได้สัมภาษณ์และสอบถามวัยรุ่นยุคใหม่ในอินเดีย ได้ความเห็นแตกเป็น 2 ฝั่ง
.
ฝั่งหนึ่งเห็นด้วยกับการแต่งงานที่พ่อแม่เลือกให้ “คลุมถุงชน” เพราะเชื่อว่าพ่อแม่เลือกสิ่งที่ดีที่สุด (แต่หากเลือกได้ก็ขอเลือกเอง)
.
กับอีกฝั่งที่เล่าความจริงในใจแบบสุดทน ที่ต้องยอมจำนนแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รักกันมาก่อน พร้อมคร่ำครวญ เมื่อคนไม่รักก็คือไม่รัก พวกเขาต้องการแต่งงานกับคนที่รักเท่านั้น
ในบางข้อมูลพบว่าอัตราการหย่าร้างของคู่แต่งงานแบบ “คลุมถุงชน” มีน้อยกว่าการแต่งงานที่เกิดจากความรัก
.
ซึ่งเหตุผลในมุมหนึ่งของคู่ “คลุมถุงชน” ก็คือ เขาไม่คาดหวังต่อกัน เมื่อไม่หวังก็ไม่ผิดหวัง
.
หากเราคบหาใครด้วยความรัก เรามักจะคาดหวังการได้รับจากอีกฝ่าย หากสิ่งที่ได้รับน้อยกว่าที่ตั้งไว้แม้เพียงนิด ก็สะกิดให้เกิดปัญหาระหองระแหงระหว่างกันได้โดยง่าย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องการแต่งงานและการประคองชีวิตคู่ มีปัจจัยอีกมากมายหลายประการ ประกอบร่างก่อตัวเป็นเหตุและผลต่าง ๆ นานา ไม่มีสูตรอะไรที่ตายตัว ไม่มีแนวปฏิบัติใดที่การันตี
.
ชีวิตนี้คือของเรา จะเลือกใคร หรือใครจะเลือกให้ เมื่อได้มาแล้ว เมื่อไม่แคล้วกันไป ก็ขอให้ยึดมั่นปฏิบัติและทำดีต่อกัน
.
ทำเหตุให้สมบูรณ์ในวิถีและแนวทาง ส่วนผลจะออกมาเป็นเช่นไร ก็อย่าได้เสียใจหรือหมองเศร้า เพราะเราได้เป็นต้นเหตุของสิ่งนั้นอย่างดีที่สุดแล้ว
ดา เพจ 'เป็นฉัน'
ยินดีรับคำแนะนำและกำลังใจค่ะ ❤️
โฆษณา