5 พ.ค. 2020 เวลา 00:43 • การศึกษา
ปถวีธาตุก่อรูป..ตอนที่๒
ต่อ..ปัญจสาขา เมื่อมีครบกายเราจะเชื่อมการทำงานเป็นระบบ ในเรื่องธาตุย่อมต้องเกี่ยวข้องกัน ขาดไปธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ แต่มีธาตุอะไรมากกว่าก็เรียกธาตุนั้น เราเรียกมหาภูตรูปนี้ว่าอาการ ๓๒ และแบ่งชั้นการทำงานของธาตุว่า ปัญจกธาตุเหตุเพราะแต่ละชั้นจะมี อากาสธาตุเป็นตัวเชื่อมโยงธาตุทั้ง ๔ (เล็กสุดก็เป็นช่องว่างระหว่างเซลล์) ระบบปัญจกธาตุทำงานดังนี้
ชั้นที่๑ เป็นระบบทรงกาย(เอ็นเกาะกระดูก,เอ็นประสาท)และการรับความรู้สึกจาก สิ่งแวดล้อมผ่านผัสสะที่ผิว ที่อายตนะ ในนวดแผนโบราณเรียกกายชั้นนอก ถ้าระบบเสียในธาตุ จะเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์
ชั้นที่๒เป็นระบบการทรงกายที่เราต้องการเคลื่อนไหวกาย ไหววาจา การทำกิจกรรมต่างๆตามที่ จิตต้องการในชีวิต คือ กิน ใช้ ร่างกายทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็นค่ำ ชั้นนี้มีเอ็นเกาะที่กระดูก เอ็นเกาะที่เนื้อแดง แบ่งกลุ่มกล้ามเนื้อเป็นชั้นๆให้รวมกลุ่มกันเป็นมัดๆ ทั้งนอก และในเป็นชั้นๆ เรียก ปัตคาดนอกฝั่งสูรย์ปัตคาตขวา ฝั่งจันทร์ปัตคาตซ้าย
กายชั้นที่๓ ทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญต่างๆ เช่นสารน้ำ เลือดแดง-ดำ-ขาว น้ำเหลือง น้ำดี ไฟย่อย การขับทิ้งของสารน้ำในรูป มูตร และ เหงื่อ เรียกกาย ชั้นใน ชั้นนี้มีผังผืดมาช่วยผยุงเกาะอวัยวะภายในให้อยู่ในที่ของตน มีกล้ามเนื้อมัดชั้นในช่วยในการทำงานให้เป็นปกติ เรียกปัตคาต(ใน)เหมือนกัน ส่วนตัวที่แบ่งระบบเป็นเบื้องบนและเบื้องล่างคือ กล้ามเนื้อ กระบังลมเราเรียก บังลม บังไส้ เมื่อไม่สมดุลจะรัดแน่น ราวข้าวต้มมัดเรียก รัตตฆาต
1
ชั้นที่ ๔ เป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้คือ เสบียงนำไปใช้ในชั้นที่๓ จึงมีการกิน การย่อยอาหาร ๓ แบบคือ แข็ง เหลว และลม ให้มารวมกันเรียก อาหารใหม่ และดูดซึมเข้าไปเป็นหัวอาหารเรียกโอชะ จากนั้นอาหารเหล่านี้จะเปลี่ยนไปตามทางที่ร่างกายต้องการ เป็นรสธาตุ มีรสต่างๆกันตามหลักรวม ๖ รส ตามหลักธาตุ ๔ รส ตามกายในกายนอก ๘ รส และตามที่ร่างกายนำไปซ่อม สร้างเป็น ๙ รส แต่สถานะต่างๆนั้นคุมโดยปิตตะ วาตะ เสมหะ การวางยาจึงต้องประมวลรสแห่งความร้อน ถ้าปิตตะวางยาสุขุม เมื่อไข้วางยาเย็น วาตะ มากไปใจระส่ำระสายวางยาสุขุม น้อยไปวางยาร้อน เสมหะมากเกินวางยา ร้อน เสมหะน้อยไปวางยาสุขุม แต่เสมหะมากระบายไม่ออกกลัดติดแน่น ภายในจนเป็นปะระเมหะเหนียวข้นเพราะเกิดไข้หลบในที่เรียนกันมาว่าตัว ร้อน แต่มือเท้าเย็นก็วางยาสุขุมเย็น เมื่อร่างกาย นำไปใช้ไปเลี้ยงดูกาย และ สมอง ก็เหลือเป็นของเสียที่ต้องถ่ายออกมา สมองจะเชื่อมกับธรรม ชาติให้มีการหลับนอน ในเวลาค่ำคืนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในการใช้ งานตามระ บบต่างๆในนาฬิกาชีวิตคนเรา เมื่อถึง พร้อมก็สืบตระกูล ดำรงค์ เผ่าพันธุ์
ในส่วนชั้นที่๔ นี้ถ้าเป็นเรื่องธาตุจะโยงไปในเส้นที่ทำให้เจ็บป่วยคือ สันทฆาต และมุตฆาต เหตุแรก สันทฆาตการนำอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองแต่การดูดซึมไม่ดี ทำให้มีของเสียที่บูดเน่าเป็นกรด เป็นปะระเมหะ การขับถ่ายอุจจาระไม่ดีผูกเป็นพรรดึก ของเสียแล่นออก ไปเกาะที่สันหลังในส่วนเอวไปถึงคอ โบราณจึงว่าติดตรงไหนเจ็บตรงนั้น อีกส่วนจากระบบขับของเสียคือมูตร น้ำปัสสาวะเกิด ปะระเมหะ เกิดบูดเน่า เกิดความร้อน เกิดอักเสบ จึงมีอาการปัสสาวะแสบร้อน ถ่ายปนเลือด เรียก มุตตฆาต..จบเรื่องธาตุ
แต่ในส่วนนี้จะเล่าเรื่องราวของพลังชีวิต(ชีวิตตินทรีย์) เพราะจิตไปกับกายเสมอ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เราต้องได้พลังชีวิตมาหล่อเลี้ยงจิต ที่เรามักเรียกว่า ลมปราณ ปราณนั้นอยู่ที่ส่วนลำตัวและศีรษะย่อมกำหนดมาจาก เส้นจักร ๓ ช่องทางสำคัญคือ
อิทา(Iha) ทำหน้าที่ควบคุมจิตใจและอารมณ์ อยู่ด้านหลังเป็นปมประสาท(ระบบประสาทส่วนปลาย เชื่อมสมอง ไขสันหลังและหัวใจเป็นช่วงๆ เช็คได้จากคลื่นหัวใจและคลื่นสมอง)..ในส่วนจิตถือเป็นการล่วงรู้อดีตชาติ..หรือสำนึกในสิ่งที่ไม่ดีจากเรื่องราวก่อนเก่า เป็นอีคิว
ปิงคลา(Pingala)ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะทั้งหมด อยู่ด้านหน้าเป็นปมเส้นเลือด(ระบบประสาทอัตโนมัต ควบคุมการบีบตัวของเส้นเลือด ทำงานทั้งกระตุ้นลมสูรย์และระงับลมจันทร์)..ในส่วนจิตถือเป็นการล่วงรู้อนาคต..หรือปัญญาในการสร้างสิ่งใหม่ๆ เป็นไอคิว
สุสุมนา(Sushumna) ของไทยเราเป็นการฝึก นวหรคุณ ๙ ทางอิยิปต์ ทางโยคะและการแพทย์ทิเบตเรียกการ เชื่อมจากสมองลงมาถึงก้นกบมีจักระทั้ง ๗ รวมทำหน้าที่เชื่อมจักระที่ ๑ ถึง ๗ อยู่ตรงกลาง(ประสาทส่วนกลางเริ่มแต่ สมองลงไปสุดไขสันหลัง) เมื่อเชื่อมการวิ่งขึ้นลงของเส้นทั้งสามจะผ่านจักระที่ ๑ ถึง ๗ และลงจาก ๗ ไปถึง ๑ แต่ละจักระจะควบคุมอวัยวะเป็นส่วนๆ ไป....ในส่วนจิตถือเป็นการระลึกรู้ตัวตลอดเวลาไม่มองอดีตฝังใจไม่สนใจอนาคตที่ก้าวไกลเกินไป..หรือ EFที่มีทั้ง ไอคิวและอีคิว (โดย EFคือ - ความจำที่นำมาใช้งาน - การยั้งคิด ไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นทางความคิด - การใส่ใจจดจ่อ- การควบคุมอารมณ์- การวางแผน และการจัดระบบการทำงาน-การรู้จักประเมินตนเอง- การริเริ่ม และลงมือทำงานตามที่คิด - ความพากเพียร เพื่อให้จุดมุ่งหมายประสบความสำเร็จ)
ต่อมา จิตจะเชื่อมกาย เชื่อมความรู้สึกรับรู้เรื่องราวภายนอก และรู้ตัวเอง ตอบโต้สิ่งเหล่านั้นที่มากระตุ้น ก็ต้องเชื่อมด้วยอายตนะผ่านช่องว่าง บางที่ก็เรียกทวาร ๙
อิทา ปิงคลา สุมนา เป็นหลัก เช่มด้วย จมูก และลิ้น
กาลธารี ทำหน้าที่เชื่อมลำตัวกับแขน-ขา อาศัยพาไปด้วยเลือด น้ำเหลือง ลม จึงเชื่อม จมูก
สหัสรังสีและทวารี ทำหน้าที่เชื่อมเท้าไปศีรษะ เชื่อมด้วยตา
จันทภูสัง และรุชำ ทำหน้าที่เชื่อมลำตัวกับศีรษะ หู
สุขุมังและสิกขินี ช่องขับถ่าย
สิกขินีด้านหน้าเชื่อมลำตัวกับการเก็บกักและเบ่งปัสสาวะออกจากถุงกระ เพาะปัสสาวะเมื่อเต็ม และระบบสืบพันธิ์
สุขุมังด้านหลังเชื่อมระบบขับถ่ายอุจจาระลำไส้ และขับน้ำปัสสาวะคือไต
สรุปว่า...ในศาสตร์นวดโบราณ ผู้เรียนรู้จำเป็นต้องรู้ในเรื่อง ธาตุ๔ ขันธิ์๕ อายตนะ๖ ให้ละเอียด เนื่องจากต้องประมวลอาการจากสิ่งเหล่านี้ ในการเรียนรู้ต้องรู้ทั้งที่ตั้งและการทำงานของธาตุไปด้วยรู้กายรู้จิต รู้จิตรู้กายต่างอิงอาศัยไปด้วยกัน
ก็เขียนมาได้หลายตอนอยู่...จุดประสงค์ในการเขียนเรื่องราวเพราะรู้สึกภูมิใจที่แผนนวดในวัดโพธิ์มีเส้นสิบและธาตุ4 ของไทยเราได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงอยากเสนอแนวทางทฤษฏีที่เป็นอัตลักษณ์นี้ไว้ให้มีสืบไป ไม่มีในบทเรียนที่สอนกันมาบทความนี้มาจากการตกผลึกความรู้ของผู้เขียนที่ศึกษาธรรมะ การแพทย์โบราณ การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ในพุทธศาสนาแล้วมาเทียบเคียง อาจมีผิดตกยกเว้นไปบ้างขออภัยในมุมมองนี้..และขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
โฆษณา