5 พ.ค. 2020 เวลา 05:28
ผมร่วงและผมบาง เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายคน ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบทางกายไม่มาก แต่บางรายก็มีผลต่อสุขภาพจิตได้
.
ผมเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหนังกำพร้าที่เกิดจากเซลล์ขน และมีวงจรการเติบโตตามรอบ ในช่วงที่ผมเติบโตจะเรียกว่า anagen กินระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี และคลอบคลุมหนังศีรษะประมาณ 85-90% ส่วนระยะต่อมาจะเรียกว่า catagen เป็นระยะที่รากผมเลื่อนสูงขึ้น สีจะเริ่มจางลงและแยกตัวจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยง และระยะสุดท้ายคือ telogen โคนผมจะมีลักษณะเหมือนไม้กระบอง (club shapped) จากนั้นก็จะร่วงหลุดไป
.
โดยปกติเราจะมีเส้นผมประมาณ 100,000 เส้นยาววันละ 0.35 มิลลิเมตรและเข้าสู่ระยะ telogen และหลุดร่วงลงไม่เกิน 100 เส้นในคนปกติ (หรือเพิ่มประมาณ 2 เท่าในวันที่สระผม)
.
การที่ผมร่วงแบ่งจำแนกหลักเป็นสามประเภท
.
1. ผมร่วงแบบมีแผลบนหนังศีรษะ เช่น ผิวหนังไหม้ ถูกดึงรั้ง สารเคมีชนิดกัดผิวหนัง เนื้องอก แกะ เกา เป็นต้น
2. ผมร่วงแบบไม่มีแผลบนหนังศีรษะ เช่น ผมร่วงหลังคลอด โรคติดเชื้อ ยาเคมีบำบัด โรคไทรอยด์ โรค SLE เป็นต้น
3. ประเภทอื่นๆ เช่น ศีรษะล้านชนิดที่พบบ่อย ศีรษะล้านแต่กำเนิด ความผิดปกติของเส้นผม
.
การวินิจฉัยเพื่อจำแนกสาเหตุและความรุนแรงของโรค ทำได้โดยการซักประวัติและดูรอยโรค หากมีสาเหตุจากแผลก็ทำการรักษาที่แผล ส่วนสาเหตุจากไม่มีแผลก็แยกว่าเป็นแบบเฉพาะบางที่ (localized) หรือกระจายทั่วศีรษะ (diffuse)
.
การรักษาควรเริ่มที่สาเหตุเช่น รักษาแผลบนหนังศีรษะ รักษาการติดเชื้อ รักษาด้วยยากดภูมิสำหรับโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
การรักษาที่ใช้ในผมร่วง/หัวล้าน ปัจจุบันที่พบมากคือ Topical Minoxidil ทาเช้า-เย็น ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยจะมีผู้ป่วยใช้ยาได้ผลประมาณ 30% และผมจะกลับมาร่วงหรือบางลงได้เหมือนก่อนการรักษาเมื่อหยุดใช้ยา เมื่อใช้ยาไปนานๆผลการรักษาจะค่อยๆลดลง
.
ส่วนการรักษาด้วยยากิน ได้แก่ยากลุ่ม 5- reductase inhibitor เช่น Finasteride พบว่าการใช้ยากินร่วมกับยาทา Minoxidil จะให้ผลดีมากกว่าการใช้เพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่ยากินจะพบผลข้างเคียงเรื่องลดความต้องการทางเพศ 4.2% และยังพบว่ายาทำให้เกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ โรคซึมเศร้า ได้ด้วย
.
ดังนั้นหากใครที่มีปัญหาดังกล่าวและต้องการรักษาควรเริ่มจากการตรวจหาสาเหตุก่อน และหากจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆควรศึกษาการใช้ยาจากแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น
.
เอกสารอ้างอิง
สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. ผู้ป่วยโรคผมร่วงและผมบาง. Available from: https://med.mahidol.ac.th/…/…/medicinebook1/Ptn-Alopecia.pdf.
โฆษณา