9 พ.ค. 2020 เวลา 01:00
ความพร้อมของไทยในการผลิตวัคซีน?
เมื่อวานได้นั่งไล่เรียงข่าวสารซึ่งเรื่องใหญ่หนีไม่พ้นข่าว
โควิด-19 สะดุดสายตากับเอกสารข่าวขององค์การอนามัยโลกสาขา South-East Asia ที่ได้มีการชวนอินเดีย อินโดนีเชีย และไทยเข้าหารือเพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ให้ชาวโลก??
สำหรับอินเดียเพื่อนๆคงทราบดีว่าเป็นฮับในการผลิตยาและวัคซีนของโลกแต่สำหรับไทย เรื่องซึ่งผมเอง ก็ยังไม่แน่ใจ อาจจะไม่ค่อยได้รับรู้ความสามารถในด้านการผลิตวัคซีนของไทย
ข่าวจาก WHO ชวนเราไปคุยจริงๆ
อย่ารอช้าไปสำรวจความพร้อมของกำลังการผลิตวัคซีนของประเทศไทยกัน 😉
สำหรับประเทศไทยนั้นเรามี สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์การมหาชนเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือหน่วยงานภายในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาและผลิตเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพ และสามารถที่จะดำเนินการในทางธุรกิจได้
โดยองค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา และบริษัทร่วมทุนองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ จำกัด เป็นสามหน่วยงานหลัก ที่รับหน้าที่ในการผลิตวัคซีน
ไทยมีความสามารถในการผลิตวัคซีนได้ครบทั้งระบบจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำในวัคซีนหลายชนิดเช่น วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG Vaccine) วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศแล้ว ยังมีสามารถส่งออกหารายได้เพิ่มเติมเข้าประเทศได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก องค์การเภสัชกรรม
ขณะที่องค์การเภสัชกรรมมีโรงงานขนาดใหญ่ที่สระบุรี ซึ่งมีความพร้อมในการผลิตวัคซีนป้องกันหวัดนก (ไม่ธรรมดาจริงๆ) ซึ่งได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการผลิตและคงสภาพไว้ที่ 2 ล้าน dose แต่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 10 ล้าน dose ในกรณีที่เกิดการระบาด เรียกได้ว่าคนไทยทุกคนปลอดภัยจากหวัดนกแน่ๆ
ออกจากสระบุรี พาอ้อมมาแถวฉะเชิงเทราผมอยากชวนไปดูบริษัทที่ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรอย่าง บริษัทร่วมทุนองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ จำกัด
ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ
1. องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
2. บริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด (ในเครือซาโนฟี่ ประเทศฝรั่งเศส)
3. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด
โดยบริษัทได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2545 (ผลิตกันมานานแล้วนะเนี้ย)
ปัจจุบันมีกำลังการผลิตวัคซีนทั้งชนิดเหลวและผงถึง 20 ล้านขวดต่อปี โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบที่สามารถส่งออกไปได้กว่า 15 ประเทศในทวีปเอเชียเปซิฟิก
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการขยายความสามารถเพื่อที่จะพัฒนาวัคซีนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไทยสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ในระบบสุขภาพ
เครดิตภาพจาก https://siamrath.co.th/n/59536
สุดท้ายถ้าไม่กล่าวถึง บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนของ บริษัทร่วมทุนองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ จำกัดคงเหมือนขาดอะไรไปเนื่องจากเป็นกิจการในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทุนลดาวัลย์ จึงมีบทบาทที่จะเป็นผู้นำในการลงทุน เพื่อวางรากฐานที่จำเป็นให้กับประเทศ ซึ่งนอกจากบริษัทร่วมทุน ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตวัคซีนแล้ว
ทุนลดาวัลย์ ยังเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามไปโอไซเอนซ์ กิจการวิจัยพัฒนาและผลิตยาไบโอฟาร์มา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ผลิตชุดตรวจโควิดออกมาให้ใช้ไปก่อนแล้ว เรียกได้ว่า ทุนลดาวัลย์ ได้ทำหน้าที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างพื้นฐานการดูแลรักษาสุขภาพให้กับคนไทยมายาวนานที่เดียว
ซึ่งสามารถตามอ่านข้อมูลของสยามไบโอไซเอนซ์
ได้ที่เพจนำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า เขียนไว้ดีมากๆเลยครับ
สำหรับคนที่อยู่นอกวงการสุขภาพอย่างผม
เมื่อพิจารณาถึงความพร้อม ความสามารถของประเทศไทย
ในการที่จะดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งผลิตยาและวัคซีนได้เอง
ซึ่งนอกจากดูแลรักษาคนไทยได้อย่างดีแล้ว
ยังเก่งพอที่จะไปช่วยสนับสนุนดูแลเพื่อนบ้านอีกด้วย
ก็เข้าใจแล้วว่าทำไม WHO ถึงรีบมาคุยกับเราเพื่อให้เตรียมสนับสนุนการผลิตถ้าการพัฒนาวัคซีนสำเร็จได้ในเร็ววันนี้
ภูมิใจจริงๆครับ
โฆษณา