9 พ.ค. 2020 เวลา 13:08 • การศึกษา
"คำอังกฤษ ที่มีรากศัพท์จากภาษาเอเซีย"🤔🤔🤔 EP 1
India Thailand England Iran China
สำหรับคนชอบเดินทางแบบผม การได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละที่ แต่ละชุมชน และแต่ละประเทศ มันทำให้การเดินทางมีคุณค่าขึ้นเยอะเลยครับในความรู้สึกของผม
และ "ภาษา" ก็เป็นตัวแทนสำคัญอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของแต่ละชนชาติ รวมถึงเราก็สามารถเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมได้ดีขึ้นจาก "ภาษา.." นั่นเอง
อย่างภาษาอังกฤษก็มีคำยืมจากภาษาอื่นมากมาย และคำยืมเหล่านี้ก็ทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์อังกฤษได้ดีขึ้น...
อย่างเช่น อังกฤษมีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสมากมาย เพราะประวัติศาสตร์ราชสำนักของอังกฤษมักจะเกี่ยวพันกับราชสำนักในฝรั่งเศส อย่างใกล้ชิด..😊😊
นอกจากนี้ภาษาอังกฤษเองก็ยังมีคำยืมจากภาษาเอเซียฝั่งบ้านเรามากมายเช่นกันครับ...
บทความนี้ผมเลยจะขอเล่าคำอังกฤษ 5 คำที่มีรากศัพท์จากภาษาเอเซียครับ😁😁😁 เริ่มเลยครับ...
#1 Tea = ชา... รากศัพท์มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน/แต้จิ๋ว
ภาพจากกูเกิล
ชา หรือ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Tea" มีความเป็นมายาวนานมากครับ ชามีหลักฐานพบว่าน่าจะมีการปลูกในจีนอย่างน้อย 1,600 ก่อนคริสตกาล หรือ 3,600 ปีที่แล้ว
แต่การบริโภคชาในจีนอาจจะนานกว่านั้น หรือประมาณ 4,000 ปี เลยทีเดียว จากนั้นชาก็ได้ขยายไปในอาณาจักรใกล้เคียงอย่าง เกาหลี ญี่ปุ้น เปอร์เซีย และอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย...
หลายพันปีที่ผ่านมา "ชา" กลับเป็นเพียงเครื่องดื่มในทวีปเอเซียเท่านั้น จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 ที่ชาวโปรตุเกสมาถึงเอเซียจากการเดินเรือ... และ "ชา" ก็ได้เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวยุโรปในเวลาต่อมา
1
จากนั้นไม่นานชาวดัทช์ (Dutch) ก็ได้มาตั้งสถานีการค้าในจีน และก็ได้มีการนำ "ชา" เข้าไปขายในยุโรป รวมถึงอังกฤษ และ "ชา" ที่ชาวดัทช์นำไปขายนั้น ส่วนใหญ่มาจากมณฑลฝูเจี้ยน หรือ ฮกเเกี้ยน (Fujian)...
เมืองในฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน (Fujian)
และภาษาของคนฮกเกี้ยน รวมถึงภาษาของคนเเต้จิ๋วนี่เอง จะเรียก "ชา" ว่า "Te หรือ เต๊" นั่นก็ทำให้ชาวดัทช์เรียก "ชา" ว่า "Thee (ที)" ให้เหมือนเสียงภาษาจีนฮกเกี้ยน
1
ภาษาอังกฤษก็เลยเรียก "ชา" ว่า Tea เช่นกันครับ ดังนั้นรากศัพท์ของ "Tea" ก็มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนและเเต้จิ๋ว นั่นเองครับ
ในภาษาจีนกลางเรียกภาษาฮกเกี้ยนว่า "หมิ่นหนานา (Min-nan)" นะครับ
ในศตวรรษที่ 19 ชาก็ได้เป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายในอังกฤษ จนเป็นส่วนหนึ่งวัฒนธรรมอังกฤษเลยก็ว่าได้ อย่าง "Afternoon Tea" จนกระทั่งปัจจุบัน😊😊😊
ฮกเกี้ยน
# 2 Ketchup = ซอส (ซอสมะเขือเทศ) ....มีรากศัพท์มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนในมาเลเซีย
ภาพจาก Google
ในเขตฮกเกี้ยนก็มีน้ำหมักปลาชนิดหนึ่งเรียกว่า "Ke - Chiep หรือ เคอเฉียบ" ที่กันเเพร่หลาย
ต่อมาชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมายังมาเลเซียก็ได้นำซอสน้ำหมักชนิดนี้มาด้วยเช่นเดียวกัน และนั่นก็ทำให้คนมาเลเซียก็เรียกซอสสีดำๆ ทั่วไปว่า "Kecap หรือ เคฉับ" ถึงจะไม่ใช่น้ำหมักปลาแบบดั้งเดิม
1
จากนั้นชาวอังกฤษซึ่งได้เป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย ก็ได้นำคำนี้ไปใช้กับซอสสีเข้มๆ เช่นกัน และเรียกว่า " Ketchup"
ในยุคแรกๆ ช่วงศตวรรษที่ 18 Ketchup ในอังกฤษส่วนใหญ่เป็น Mushroom Ketchup ครับ
จาก wikipedia
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมี "Tomato Ketchup หรือ เคทฉับมะเขือเทศ" และก็ได้เป็นที่แพร่หลายมากกว่าในที่สุด
นั่นก็ทำให้ Ketchup มักหมายถึง ซอสมะเขือเทศ (Tomato Ketchup) ในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบันครับผม🤔🤔🤔
บ้านชาวฮกเกี้ยนใน Malaysia
#3 Shampoo = แชมพู ....มีรากศัพท์มาจากภาษาฮินดี ในอินเดีย
ภาพจาก Google
Shampoo หรือน้ำยาที่ใช้สำหรับสระผมนี้ น่าจะมีมาแล้วหลายพันปีครับ แต่ครับคำว่า "Shampoo" ของภาษาอังกฤษนั้น มีรากศัพท์จากภาษาฮินดีในประเทศอินเดียจากคำว่า "Champu"
"Champu" ในภาษาฮินดีหมายถึงการนวดศรีษะและร่างกายเบาๆ ให้ร่างกายสงบ โดยคนอินเดียสมัยก่อนมักใช้ผลไม้ชนิดหนึ่งในกลุ่ม Sapindus หรือ soapberries ในภาษาอังกฤษ หรือ ลูกประคำดีควายในภาษาไทย มาทำน้ำยาสระผมครับ
1
Sapindus จาก Google
และเอาน้ำยานี้มาสระและนวดหัวและตัว และเรียกการนวดนี้ว่า "Champu"
ในปี 1814, ชาวอินเดียชือ Sake Dean Mahomed ได้นำการนวดแบบ "Champu" มาเปิดร้านในอังกฤษและเรียกว่า "Shampooing" ซึ่งก็คือการเอาน้ำยามานวดหัว...
และสุดท้ายคำว่า "Shampoo" ก็เป็นคำที่หมายถึงน้ำยาสระผมในเวลาต่อมา นั่นก็ทำให้ Shampoo มีรากศัพท์จากภาษาฮินดีครับ😊😊
1
India
#4 Checkmate = รุกฆาต .....มีรากศัพท์จากภาษาเปอร์เซีย (Persia) หรือ อิหร่าน
หมากรุก หรือ Checkmate จาก Google
หมากรุกทั่วโลกมีลักษณะการเล่นที่คล้ายกันนะครับ ถึงจะมีความแตกต่างกันบ้างในปลีกย่อย ไม่ว่าจะเป็นหมากรุกฝรั่ง หมากรุกแขก หมากรุกจีน (ไม่นับรวมถึง Weiqi หรือ โกะ ครับ) และหมากรุกไทย
1
ล้วนมีต้นกำเนิดจากอินเดียในสมัยอาณาจักรคุปตะ (Gupta Empire) ในศตวรรษที่ 6
*หมากรุกจีน (Xiangqi) ยังมีการถกเถียงอยู่ครับ เพราะนักประวัติศาสตร์ชาวจีนบางท่านมองว่า หมากรุกจีนน่าจะมาจากเกม Liubo ในจีนเอง... ส่วน โกะ หรือ Weiqi เกมหมากล้อมที่มีตัวหมากขาวดำน่าจะเกิดในจีนและเก่าแก่กว่าหมากรุกจีนมากครับ
จากนั้นเกมหมากรุกนี้ก็กระจายไปเปอร์เซียในศตวรรษที่ 7 และต่อมาได้กระจายไปอาหรับและยุโรปในเวลาต่อมา โดยเกมของหมากรุกฝรั่งจะเหมือนกับหมากรุกแขก รวมถึงเปอร์เซียมากๆ
อังกฤษคาดว่าได้รับการเล่นเกมหมากรุกมาจากทางสเปน และโปรตุเกสครับ เนื่องจากชาวอาหรับได้มายึดดินเเดนแถบนี้ตั้งศตวรรษ 8 ถึง 14..
และคำว่ารุกฆาตหรือ "Checkmate" ในภาษาอังกฤษเองก็ยังมาจากคำว่า "Shah Mat" ของภาษาเปอร์เซีย ซึ่งหมายถึง "King is dead (กษัตริย์...ตาย) " ครับ.....
Checkmate นี่เองก็มีเลยมีรากศัพท์มาจากภาษาเปอร์เซียครับ🙂🙂
Iran
#5 Bong=บ้องกัญชา.... มีรากศัพท์มาจากภาษาไทย
1
Bong จาก Google
Bong ที่ใช้ในการสูบฝิ่นหรือกัญชา น่าจะมีการใช้มา 2,000 กว่า ปีที่แล้ว ในชนชาติ Scythian ซึ่งเป็นชนชาติโบราณในทุ่งหญ้าเอเซียกลางถึงยุโรป
จีนในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการปรับ Bong มาใช้ในการสูบฝิ่น และ Bong นี้เองก็เข้ามาแพร่หลายในหมู่ชาวไทย ลาว และม้ง ด้วย
1
โดยชาวไทย ลาว และม้ง ก็เรียกว่าไม้ไผ่ทรงกระบอกที่ใช้สูบกัญชาหรือฝิ่น ว่า "บ้อง"
1
และคำว่า "บ้อง" ในภาษาไทยก็ถูกยืมไปใช้ในภาษาอังกฤษ และในปี 1941 เริ่มมีการบันทึกคำว่า "บ้อง (Bong) ใน Dictionary ของภาษาอังกฤษแล้ว
และในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนา "บ้องสูบกัญชา" ให้เป็นแบบแก้ว และก็ยังเรียกว่า "Bong" หรือ " Bong Water pipe" ครับ
1
และคำว่า "Bong" นี้เองก็มีรากศัพท์มาจากภาษาไทยครับ😁😁😁
1
Thailand
หวังว่าจะสนุกนะครับผม และเสียใจนิดหนึ่งที่ยืมภาษาไทยไปใช้ทั้งที ดันเป็นยาเสพติดซะนี่😭😭😭
ภาษาอังกฤษ เริ่มใช้คำไทยมากขึ้นจากอาหารครับ แต่ยังเป็นคำใหม่ครับ..
#worstory😊😊😊
โฆษณา