10 พ.ค. 2020 เวลา 06:47 • ข่าว
🐘 กว่าจะมาเป็นช้างเผือกของแผ่นดิน
เนื่องในโอกาสที่วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช้างเผือกประกอบข้อมูล Content ให้ลูกค้าเจ้าหนึ่ง ระหว่างนั้นก็มี Feed ของคุณพระ (ช้างเผือกประจำรัชกาล) ขึ้นมาให้อ่านมากมาย เรื่องราวเหล่านี้น่าสนใจมาก ๆ จึงขอเก็บมาเล่าให้คุณได้ฟังกันครับ
คำว่า "ช้างเผือก" มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่หายาก เช่นเดียวกับเรื่องราวของช้างประจำรัชกาล ที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดิน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 มีช้างเผือกที่น่าสนใจอยู่ 2 เชือก คือ "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ" และ "พระเศวตสุรคชาธารฯ"
พระเศวตสุรคชาธารฯ
แต่พิธีการสมโภชข้างเผือกนั้นมีมานานมากแล้ว ในรัตนโกสินทร์ก็มีพิธีสมโภชช้างเผือกที่พบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5, รัชกาลที 6 และ รัชกาลที่ 7 ซึ่งช้างที่ได้เข้าพิธีสมโภชจะได้รับเครื่องแต่งกายทรงเครื่องคชาภรณ์ สวยงามมาก ๆ ในภายหลังที่ไม่มีเหตุสงคราม ช้างเผือกจะได้รับหน้าที่มาต้อนรับพระราชอาคันตุกะในช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ
🐘 กล่าวถึง "คุณพระเศวตอดุลยเดชพาหน"
ราวปี พ.ศ. 2494 ชาวบ้าน จังหวัดกระบี่ เจอลูกช้างอยู่ในป่า รูปร่างแปลกจากช้างในโขลงจึงไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ จนมาตรวจสอบพบว่าเป็นช้างที่มีคชลักษณ์ตรงกับช้างสำคัญ จึงถูกนำมาเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ดุสิตก่อนจะได้ถวายตัวเป็นช้างในวัง ช้างพลายแก้วก็ฟาดงวงฟาดงาอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต มีนิสัยดุร้ายจนคนไม่กล้าเข้าใกล้ มีบันทึกโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า
"ในขณะที่นำคุณพระจากสวนสัตว์ดุสิตไปยังสวนจิตรลดา ซึ่งเพียงแต่มีถนนคั่นอยู่สายเดียวนั้น คุณพระก็อาละวาดอย่างหนัก ไม่ยอมออกเดิน เอางวงยึดต้นไม้จนต้นไม้ล้ม จนแทบจะหมดปัญญาเจ้าหน้าที่
กว่าจะนำคุณพระจากเขาดินไปถึงประตูสวนจิตรลดา ซึ่งมองเห็นกันแค่นั้น ก็กินเวลาหลายชั่วโมง ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากถือปลายเชือกที่ผูกไว้กับขาคุณพระทั้งสี่ขา คอยลากคอยดึง และดูเหมือนจะต้องใช้รถแทรกเตอร์เข้าช่วยขนาบข้าง เสี่ยงอันตรายกันมากอยู่ แต่ในที่สุดก็นำคุณพระไปยังประตูพระราชวังได้
พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา"
และคุณพระได้ถวายตัวในปี พ.ศ. 2502 เป็นช้างเผือกยืนโรงประจำรัชกาลที่ 9 ได้รับพระราชทานพระนามว่า "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ" ได้เข้าไปอยู่ในวังจิตรลดา อันเป็นพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่วนโรงช้างในพระราชวังดุสิต ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีช้างยืนโรงเป็นเวลานาน แต่ได้รับการทำนุบำรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ช้างต้นในปัจจุบัน
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
🐘 กล่าวถึง "คุณพระเศวตสุรคชาธารฯ" หรือ คุณพระเศวต ฯ เล็ก
คาดว่าชื่อ คุณพระเศวตฯ เล็ก มีที่มาจากการมาทีหลังคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ซึ่งเข้ามาภายหลัง และมีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 9 ปีเท่านั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เล่าว่า มีชาวบ้านจังหวัดยะลา พบอยู่ใต้ถุนบ้าน ราวกับว่าแม่ช้างรู้ว่าลูกช้างตัวนี้มีบุญจึงนำมาส่งเพื่อเข้าสู่พระบารมีตั้งแต่ยังไม่หย่านม
และมีเรื่องเล่าว่า ก่อนจะนำมาส่งตัวในวัง มีสุนัขป่วยหนักมาเลียน้ำที่อาบตัวคุณพระ และก็หายจากอาการป่วย แต่ยังมีอาการปากเบี้ยว ชาวบ้านก็เรียกว่านางเบี้ยว และนางเบี้ยวก็ได้ติดตามเข้ามาอยู่ในวังด้วย
เพราะก่อนจะนำคุณพระเศวตฯเล็กเข้ามาอยู่ในวัง นางเบี้ยวเคยอยู่คลอเคลียกันมาอย่างผูกพัน และพอแยกจากกันนางเบี้ยวก็ร้องทรมานทั้งวันทั้งคืน ชาวบ้านและข้าราชการไม่ได้นำนางเบี้ยวมาด้วย จนเรื่องทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นำนางเบี้ยวเข้ามาอยู่ด้วยกันได้ โดยรับสั่งว่า "ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย"
พระเศวตสุรคชาธารฯ
พระเศวตสุรคชาธารฯ กับนางเบี้ยว
บางข่าวเขียนว่าคุณพระเศวตฯ เล็ก เป็นพระสหายของกรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ เมื่อทรงพระเยาว์ ตอนอ่านพบรู้สึกตะขิดตะขวงว่าใช้คำผิดหรือเปล่า ? ต้องดูภาพประกอบ
ถึงแม้ว่าคุณพระเศวตฯเล็ก จะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็เคยถวายงานต้อนรับแขกสำคัญ ๆ ในครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ แห่งสหราชอาณาจักร ได้เสด็จเยือนประเทศไทย ครั้งนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้บันทึกเล่าว่า คุณพระเศวตฯ เล็กยังคงดูแลลูก ๆ ของนางเบี้ยวเรื่อยมา ในครั้งนั้นลูกหลานนางเบี้ยววิ่งกระจัดกระจายไม่สมควร ก็มีคนกระซิบบอกคุณพระฯ ให้จัดการ
คุณพระส่งเสียงดุจแตรก้องกังวาล ลูกหลานของนางเบี้ยวจึงสงบลง ไม่เป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาทต่อพระราชอาคันตุกะ
ชาวต่างชาติต่างบ้านต่างเมืองคงจะสงสัยว่าคนไทยเลี้ยงช้างไว้ในบ้านทุกคนหรือเปล่า ? เนื่องจากข้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติ โชคดีของพวกเราที่มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง และดูแลช้างให้เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองเราจนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าพวกเราจะมานิยมใช้รถยนต์เป็นพาหนะ แต่ช้างก็เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของบ้านเรา และความใจดีเอื้ออารีย์ ที่คนมีต่อช้างก็จะส่งผลให้ความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์บ้านเรายังสมบูรณ์อยู่
ขอบคุณแหล่งที่มาด้านล่างด้วยครับ
10.05.2020
ประมวลภาพขบวนช้างมงคล 11 เชือก ทำพิธีถวายบังคมพระบรมศพ “ช้างเผือกของในหลวงรัชกาลที่9
ที่มา :
1. “คุณพระเศวตอดุลยเดชพาหน” ช้างเผือกในรัชกาลที่ 9 https://www.posttoday.com/social/general/474715
2. ยายวัย 89 กับเรื่องเล่าถึง "พระเศวต" ช้างเผือกคู่พระบารมีจากยะลา https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/50987-elephant-50987.html
4. พระเศวตฯ กับคุณเบี้ยว เรื่องเล่าสุดสนุก ช้างเผือกขี้เล่นจากยะลา https://www.thairath.co.th/content/771637
5. “คุณพระเศวตอดุลยเดชพาหน” ช้างเผือกในรัชกาลที่ 9 https://www.posttoday.com/social/general/474715
โฆษณา