12 พ.ค. 2020 เวลา 09:54 • ความคิดเห็น
ว่าด้วยเรื่องหุ้น.....
นี่เป็นพอร์ตของลูกศิษย์เคทคนนึงนะคะ จะขอนำมาใช้เป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายหลักการจัดสมดุลย์(Balance)
พอร์ตในหลัก ทฤษฎี mew (แบบคร่าวๆนะคะ 🤗)
แม้ผลประกอบการของพอร์ตนี้โดยรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี - ดีมากก็ตาม (พอร์ตนี้ระยะเวลาไม่ถึง1เดือน)
แต่นี่ก็ยังไม่ใช่พอร์ตที่สมบูรณ์ที่สุดตามหลักทฤษฎี
พอร์ตนี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีกลุ่มไฟแนนซ์ แบงค์ หรือ อสังหา เพิ่มเข้ามา(เป็นอย่างน้อย) ซึ่งจะทำให้พอร์ตนี้แข็งแกร่งและยืนระยะได้นานขึ้น จนสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ 50 - 100% ภายในปีหรือสองปีข้างหน้า
ความสมดุลย์ของพอร์ต คืออะไร
หากคุณสังเกตุตลาดดีๆ คุณจะพบว่าในวงรอบของวัฏจักรตลาดหุ้น ในแต่ละช่วงล้วนแล้วแต่มีหุ้นกลุ่มนำตลาดเสมอ เช่น สมมุติวันนี้กลุ่มอาหารขึ้นนำตลาด เดือนหน้าอาจจะเป็นอิเล็คทริคนำ เดือนถัดไปเป็นอสังหา ฯลฯ ด้วยการผลัดกันขึ้นลงของกลุ่มตลาดในลักษณะนี้นั้นจะทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำการค้าขายมีเงินหมุนเวียนในแต่ละช่วงไทม์เฟรมหรือแต่ละกรอบ แต่ละรอบฤดูกาลได้ ไปจนจบเทอม โดยที่..." เงินไม่จมอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากไป "
ทำให้เราสร้างโอกาสการลงทุนได้มากขึ้น และในขณะเดียวกันพอร์ตที่มีการวางกลยุทธกระจายหุ้นไปในหลายเซคเตอร์ก็จะมีความแข็งแกร่ง ไม่อ่อนไหวหรือเกิดการสั่นกระเทือนมากจนมีผลต่อสภาวะจิตใจ
3
"โอกาสในการลงทุน" คืออะไร
คือการที่เรามีสภาพคล่องนั่นแหละค่ะ ถ้าคุณไม่มีสภาพคล่อง ก็เท่ากับปิดโอกาสในการลงทุน
อธิบายง่ายๆให้เห็นภาพ คือ วันนี้คุณซื้อนาฬิกามาขาย โดยคุณอาจจะสต็อกสินค้าไว้สัก 10 ชิ้น ในรอบ1 เดือนคุณขายไป 5 ชิ้น แต่คุณไม่ซื้อเข้ามาเพิ่มเลย เพราะคุณหวังรอขายให้ครบทั้ง 10ชิ้นก่อน เพื่อจะเคลียร์ยอดได้เป็นรอบๆ หรือคุณอาจจะกังวลว่าจะขายสินค้าไม่หมด กลัวค้างสต็อก จะด้วยเหตุผลใดก็ตามเท่ากับคุณเสียโอกาสในการลงทุนสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นค่ะ เพราะอย่าลืมว่า คุณไม่จำเป็นต้องขายแต่นาฬิกาเพียงอย่างเดียว จริงไหม ?
ดังนั้นการออกแบบพอร์ตให้เกิดโอกาสการลงทุนได้ตลอดเวลา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนทำให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น "ความสมดุลย์" นอกจากเรื่องของการจัดพอร์ตให้มีความแข็งแกร่งทนทานแล้ว ยังหมายถึง การออกแบบให้เกิดสภาพคล่อง และกระแสเงินหมุนเวียนในพอร์ต
พอร์ตที่ดีจะต้องสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตลอดทั้งปี ต้องมีการค้าขาย เกิดการค้าขายอยู่ตลอดเวลา (ปันผลก็ถือเป็นกระแสเงินที่ดีเช่นกัน)
อ่ะ...ทีนี้มาดูตัวอย่างของพอร์ตลูกศิษย์เคทค่ะ
ในพอร์ตนี้ กลยุทธที่ใช้หากเป็นการเทรดแบบโฟกัสระยะกลาง หรือเล่นรอบ จะถือว่าจัดพอร์ตได้ค่อนข้างดี แต่ปัญหาที่พบคือ เมื่อวางกลยุทธระยะกลางหรือเล่นรอบแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการขายหุ้นออกไปเมื่อหุ้นถึงกรอบการทำกำไร ในการลงทุนระยะกลางนั้นผลประกอบการกำไรระดับ 15-30% ต้องแบ่งขายนะคะ ต้องมีการล็อคกำไรเสมอ กรณีนี้คนที่ติดตามกันมาจะเห็นว่า บริเวณนี้เคทจะขายทำกำไรเสมอ
เพราะเมื่อเราขายเราจะมีโอกาสในการลงทุนเพิ่มขึ้นค่ะ
ในตอนที่ Set ทดสอบ 1,300 หุ้นอย่าง sf และ stec ขึ้นไปไฮที่ 4.80 และ 15.50 แล้วจากนั้นก็ย่อลงมา ที่ 4.48 และ 14.80 หากใครไม่ขาย นั่นหมายถึงส่วนต่างที่หายไปเกือบๆ 10% ของแก็ปเลยนะคะ !!
การที่นักลงทุนไม่ขายโดยมากก็เพราะ ไม่สามารถกำหนดเป้าได้ หรือ กำหนดแล้วแต่ไม่สอดคล้องกับสภาวะของตลาด วิธีนี้ง่ายๆไม่ยากค่ะ ให้เรากำหนดเป้าโดยดูจากค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของตลาดเป็นหลัก เอาสถิติมาดูให้ชัดๆว่า ในรอบปีนึงนั้นตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยกี่เปอร์เซนต์ ในแต่ละสภาวะของตลาดให้ผลตอบแทนอย่างไร และหุ้นแต่ละกลุ่มให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซนต์
การกำหนดเป้าหมาย
โดยพิจารณาผลตอบแทนจาก 2 ปัจจัยเป็นหลัก คือ
1) Set (ภาพใหญ่)
2) รายกลุ่มอุตรสาหกรรม (ภาพย่อย)
ก่อนกำหนดเป้าหมายเราต้องหาค่าเฉลี่ยผลตอบแทนให้ชัดเจนก่อนนะคะ ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาเองมั่วๆ หรือมโนเพ้อฝันเอาเอง เมื่อได้ตัวเลขที่แน่นอนก็ต้องยึดถือเป็นกลยุทธอย่าว่อกแวกนะคะ ไม่ใช่วางกลยุทธแบบยาวแต่ไปขายสั้น วางกลยุทธสั้นแต่ไปขายยาว แบบนั้นไม่ควรนะคะ คุณจะทำแบบนั้นได้ก็ต่อเมื่อคุณโปรระดับนึง คือ สามารถประยุกต์ผลิกแพลงตามสถาณการณ์ได้
แต่ถ้าใครที่ไม่รู้จะหายังไง เบื้องต้นก็สามารถใช้ตามนี้ได้ค่ะ ค่าเฉลี่ยกลางที่นิยมยึดถือกันคือ เล่นสั้น 5-10% (สั้นมาก 3%) เล่นกลางหรือรอบ 15-30% เล่นระยะยาว 50% ขึ้นไป นี่คือค่าเฉลี่ยโดยประมาณของตลาดค่ะ และทฤษฎี mew ก็ยึดตัวเลขสำคัญนี้เป็นหลัก
กล่าวคือ เมื่อ Set ทดสอบแนวต้าน แต่หุ้นรายกลุ่มยังปรับตัวไม่มากนักหรือไม่ปรับตัวขึ้นเลย(laggard) เราอาจจะยังถือต่อไปได้ หรือ หุ้นราคาขึ้นไปถึงเป้าหมายแต่ Set ยังไม่วิ่งตามก็อาจจะถือรอได้(outperfrom) แต่อย่างไรก็ตามควรแบ่งขายเมื่อถึงเป้าเสมอ
แต่....เมื่อใดก็ตามหากภาพรวมสอดคล้องกัน คือ Set ทดสอบแนวต้าน แล้วหุ้นก็วิ่งขึ้นระดับบริเวณเป้าหมาย ถึงจุดนี้นักลงทุนต้องขายออกเสมอ โดยไม่ต้องฝันลมๆแล้งๆนะคะ ไม่มีเหตุผลที่จะถือต่อ เพราะเราไม่ขาย ตลาดก็จะขาย แล้วหุ้นก็จะปรับตัวลงมา ทำให้เราพลาดโอกาสในการทำกำไร ถ้าเราขายที่เป้าหมายเมื่อหุ้นย่อตัวเราก็สามารถเข้าซื้อเพื่อทำกำไรรอบใหม่ได้อีก
คนที่เคยเห็นแบบจำลองการลงทุนของเคทจะเห็นความสอดคล้องในเรื่องนี้และมองภาพการลงทุนได้ชัดขึ้นนะคะ ส่วนใครที่พลาดไปหรือยังไม่เข้าใจสามารถรออ่านในหนังสือได้ค่ะ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ The Mew Theory
ไม่มีเจตนาในการชี้นำหุ้นใดๆ นักลงทุนควรใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ให้มาก อย่ายึดถือแต่จงนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้ต่อไป
มิ้วๆ
โฆษณา