12 พ.ค. 2020 เวลา 14:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมเราจึงชอบกินอะไรที่ หวานๆ มันๆ ทั้งที่รู้ว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพ ?
Cr : snook
ทำไมเราถึงชอบ “เนื้อติดมัน” มากกว่า “อกไก่คลีนๆ”
ทำไมเราถึงชอบ “ชานมไข่มุก” มากกว่า “น้ำดื่มสะอาดๆ”
ทำไมเราถึงชอบ “พิซซ่าที่เพิ่มชีส” มากกว่า “ข้าวกล้องในจาน”
ทำไมเราจึงชอบทนกิน “หมูกะทะ”ทั้งๆที่รู้ว่าอิ่มมากแล้ว และยังไปตบท้ายล้างปากด้วย “ของหวาน” เย็นๆซักถ้วย
เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร กินอะไรอยู่ รู้ว่ามันส่งผลต่อร่างกายยังไงเมื่อกินมันเข้าไปแล้ว แต่ทำไม ? เราไม่สามารถควบคุมหรือห้ามใจได้เลยซักที...
เดี๋ยวผมมาเล่าให้ฟังครับ
มีทฤษฎีหนึ่งที่ชื่อว่า “ทฤษฎียีนตะกละตะกลาม”
ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนักจิตวิทยาวิวัฒนาการ
ว่าพฤติกรรมการกินหรือบริโภคของมนุษย์ได้รับอิทธิพลที่ส่งผลมาจากยีน (gene)
ทำไมคนถึงชอบกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงๆ ทั้งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อยมาก จนทำให้เกิดโรคอ้วนที่แพร่กระจายมากราวกับเชื่อไวรัส
หากจะเข้าใจเรื่องนี้ต้องย้อนไปหลายหมื่นปีที่บรรพบุรุษของเราล่าสัตว์และเก็บของป่า หากพิจารณาถึงการกินแล้ว ในทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าที่มนุษย์อาศัยอยู่ การที่จะได้ผลไม้หวานๆซักลูกเป็นเรื่องที่ยาก และเมื่อพวกเขาเจอผลไม้ซักต้น สิ่งที่เขาทำก็คือการกินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในเวลาอันรวดเร็ว ก่อนที่ตะมีฝูงสัตว์มาเจอเข้า
พฤติกรรมเช่นนี้ถูกสะสม และกลายมาเป็นสัญชาตญาณการกินอาหารที่มีพลังงานสูงๆอย่างตะกละตะกลามก็เพื่อให้อยู่รอด และมันกะฝังอยู่ใน DNA และถ่ายทอดมาสู่รุ่นของเรา
Credit: sapiens
โฆษณา