17 พ.ค. 2020 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
'ทักษะผู้นำ' ฝ่า Covid-19 DOs & DON’Ts
เปิดหลักคิด 5L และ 4s ทักษะที่ผู้นำในยุคโควิด-19 “ต้องมี” เพื่อรับมือกับโลกในยุค New Normal และที่ผู้นำ “ต้องหลีกเลี่ยง” มีอะไรบ้างมาดูกัน
โดย รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร | คอลัมน์ THINK MARKETING IS ALL AROUND I กรุงเทพธุรกิจ
'ทักษะผู้นำ' ฝ่า Covid-19 DOs & DON’Ts
การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในการขับเคลื่อนผู้คน และสังคมไปสู่ความปกติใหม่ หรือ New Normal ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภค บริบทต่างๆ ในสังคม ที่ล้วนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงและไม่มีวันกลับเป็นเหมือนเดิมได้อีก
รวมทั้งการขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตในยุคนี้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทำงานเดิมๆ หรือ Business Model แบบเดิมๆ ที่อาจเคยนำมาซึ่งความสำเร็จและเติบโตในอดีต แต่อาจไม่สามารถนำมาซึ่งความสำเร็จในบริบทของโลกใหม่ได้อีกต่อไป
ในโลกธุรกิจ โดยเฉพาะผู้นำของแต่ละองค์กร จำเป็นต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการรับมือให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งจำเป็นต้องงัดทักษะสำคัญของผู้นำมาใช้แทบทุกกระบวนท่า หรือการปรับแผนกลยุทธ์ให้สามารถรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
เพราะในยามวิกฤติเช่นนี้ทักษะความสามารถของผู้นำ ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการนำพาองคาพยพธุรกิจให้ขึ้นฝั่ง “รอด” ไปด้วยกันได้ทั้งหมด ทางตรงข้าม ถ้าผู้นำขาดวิสัยทัศน์ ขาดทักษะและความสามารถ ก็อาจทำให้ทุกคนในองค์กรทั้งหมด “ลงเหว” ได้เช่นกัน
อะไรคือทักษะที่ผู้นำในยุคฝ่าโควิด-19 “ต้องมี” เพื่อรับมือกับโลกในยุค New Normal และอะไรคือสิ่งที่ผู้นำ “ต้องหลีกเลี่ยง” คำตอบเป็นหลักคิด 5L และ 4s ดังนี้
‘5L’ ทักษะผู้นำที่ควรมีในยุค New Normal
Lean
ผู้นำต้องทำให้องค์กรมีศักยภาพและตอบโจทย์ธุรกิจ ฝ่าโควิด-19 ด้วยการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในทุกหน่วย ธุรกิจล้วนเสริมความสามารถขององค์กร ไม่มีส่วนประกอบใดที่ไม่ฟังก์ชันหรือเป็น Fat ขององค์กร ทุกองค์กรต้องปรับให้เกิด ความคล่องตัว เพราะบริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไป ทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับให้รอด ซึ่งไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นภาคบังคับสำหรับทุกองค์กรเพื่อไม่ต้องล้มหายตายจากไปในที่สุด
Learn
ผู้นำต้องสามารถเรียนรู้และปรับตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ธุรกิจยังขับเคลื่อนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อรองรับ Work from home หรือการพิจารณาทุก Touchpoint ของกระบวนการทำงานทั้งหมด เพื่อลด Waste ในองค์กร พยายามนำดิจิทัลหรือ เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาปรับใช้ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในภาพรวมให้ดีขึ้น ทั้งรองรับพฤติกรรมใหม่ของผู้คนที่จะเป็น New Norma เช่น ความนิยมสั่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี่ จะยังคงดำเนินต่อแม้สถานการณ์ต่างๆ อาจจะคลี่คลายลงแล้ว เป็นต้น
Linkage
ในโลกธุรกิจไม่มีใครสามารถจะอยู่รอดหรือเติบโตได้เพียงลำพัง ผู้นำที่ดีจึงต้องมีความสามารถในการสร้าง Connection ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งเอกชน ด้วยกัน หรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเชื่อมโยงศักยภาพพันธมิตรแต่ละรายให้เป็นประโยชน์ สนับสนุนและสร้างให้เกิดการเติบโตร่วมกันทั้ง Ecosystem โดยไม่ใช่ เพียงแค่ในมิติของออนไลน์หรือออฟไลน์เท่านั้น ต้องสามารถบูรณาการได้แบบองค์รวม
Liquidity
หรือการรักษาและเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ จากการปรับเปลี่ยนและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น การนำหลัก Lean Management มาใช้ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน หรือดูแล Cashflow ในธุรกิจ อาจจะต้องมีแผนสำรองที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ธุรกิจก็ไม่อาจทำในสิ่งเดิมๆ เหมือนแบบที่ผ่านมาได้เช่นกัน
LongTerm
การรับมือต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถคาดการณ์หรือวางแผนแค่ในระยะสั้นๆ ได้ แต่ต้องสามารถมองข้ามชอตออกไปได้มากกว่าเดิม และวางแผนสำรองที่หลากหลายมากกว่า แค่ Plan A หรือ Plan B แต่ต้องมองเป็น Scenario ไม่ว่าสถานการณ์จะปรับเปลี่ยนไปเช่นไร ก็สามารถหยิบ แผนรับมือให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
1
โฆษณา