17 พ.ค. 2020 เวลา 04:34 • ธุรกิจ
3 “อยู่” (อยู่รอด-อยู่ได้-อยู่เป็น) เพื่อความสำเร็จ ในมหาวิกฤตเศรษฐกิจ COVID-19
1. การ “อยู่รอด” เมื่อเกิด วิกฤต
ช่วงเริ่มต้นวิกฤติ เป็นสถาณการณ์ ที่ไม่เคยพบ มาก่อน (Abnormal)
ควรตระหนัก (Aware) ว่าเป็นวิกฤติ
ควรทิ้ง แผนธุรกิจ อันยอดเยี่ยม ที่มีอยู่
แล้ว ตั้งวัตถุประสงค์ใหม่ คือ ทำอย่างไร ให้ “อยู่รอด” ได้ โดย
• ระงับ การลงทุน
• ลดต้นทุน ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้
• ประเมินค่าใช้จ่าย เทียบกับ รายได้
• ทบทวน กระแสเงินสด เพราะในช่วงนี้ เงินสด คือ ราชา (Cash is King) ให้เพียงพอ ในระยะเวลา 6 ถึง 12 หรือ 18 เดือน
อ่านเพิ่มเติม ...
ด่วน สถานการณ์วิกฤติ เปลี่ยนกลยุทธ์ เป็น Total Cost Down
หากเงินสด มีไม่เพียงพอ (อย่างน้อย 6 เดือน) ต้อง
• หยุดดำเนินการผลิต ชั่วคราว
• ลดขนาด ขององค์กร (พนักงานที่ไม่สามารถสร้างรายได้ ในระยะสั้น)
• ปรับลดเงินเดือน ตามลำดับขั้น (เช่นเดียวกับ ปี 2000 และ 2008)
• ปรับ / เปลี่ยน ธุรกิจบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อหารายได้ ในระยะสั้น
อ่านเพิ่มเติม ...
9 มาตราการ ที่องค์กร ควรดำเนินการ “ทันที” เพื่อรับมือ วิกฤติ COVID-19
2. การ “อยู่ได้” ในช่วง วิกฤติ
เปิดดำเนินธุรกิจ ในรูปแบบที่ไม่ปกติ แบบใหม่ (New Abnormal)
โดยค่อยๆ ดำเนินธุรกิจต่อไป (Rebound) จากการเรียนรู้ ทางแก้ ที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง และไม่มีคำตอบที่กำหนดไว้ ล่วงหน้า โดยที่ค่านิยมหลัก ของบริษัทฯ ต้องไม่เปลี่ยนแปลง
• อย่าทุ่มเงิน เพราะความไม่แน่นอนสูง (ยังมีการ เปิด-ปิด เมือง) เป็นช่วงที่ต้องทดลอง ต้องปรับตัวให้เร็ว ปรับให้เข้ากับ ความเป็นจริง ใหม่ (Adapt the New Reality) โดย
• เรียกพนักงาน กลับมาทำงาน (ตามแผน ก่อนที่จะให้หยุดงาน)
• ประชุม และสื่อสารให้เข้าใจว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลง ต้องช่วยกันส่งเสริมให้เกิด การปรับวิธีคิด วิธีการทำงาน ไม่ใช่แค่ กลับมาทำงานใหม่ ( Reset vs. Restart)
• ช่วยพนักงาน ในการ วางแผนและจัดการการเงิน ด้วย “คู่มือการใช้ชีวิต” (ใหม่)
• เน้น ผลิตภัณฑ์ ของบริษัทที่ มีประโยชน์ต่อชีวิตของผู้บริโภค และมีส่วนช่วย สร้างความปลอดภัย ในสังคม
• เป็นส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหาสังคม (Help Community)
• การติดตามและการคาดการณ์ทางธุรกิจ (Business Tracking and Forecasting)
• ทบทวน สิ่งที่ได้เรียนรู้ (ผลกระทบ และวิธีการกัไข ควรได้รับการบันทึกไว้ เพื่อตรวจสอบในภายหลัง และเป็นบทเรียน)
• ถือโอกาส วิธีที่ปรับ / เปลี่ยน ธุรกิจบางส่วน หรือทั้งหมด, กระบวนการทำงาน (ใหม่), การฝึกอบรม (ใหม่) ฯลฯ
3. การ “อยู่เป็น” ในระยะยาว หลัง COVID-19
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ คลี่คลายสู่ กลับสู่ กิจวัตรปกติ (New Normal) เมื่อผลิค วัคซีน ได้สำเร็จ
แต่ ... ไม่มีใครรู้ว่า ในระยะยาวจะเป็นเช่นไร
ควร ทำความเข้าใจว่า การดำเนินธุรกิจอะไรที่น่าจะเปลี่ยนไปถาวร การดำเนินธุรกิจอะไร จะเป็นแค่ชั่วคราวที่อยู่แค่ช่วงสถาณการณ์ที่ไม่ปกติ (Abnormal) เพื่อให้องค์กรนั้น ยืนอยู่ได้ ในระยะยาว เช่น
• ความต้องการโดยรวม (Demand) จะเพิ่มขึ้น หรือลดลง
• รูปแบบการใช้จ่าย (Spending Pattern) จะเปลี่ยนไปอย่างไร
• ช่องทางการขาย (Distribution Channel) ใหม่ (เช่น ออนไลน์) หรือไม่
• กลุ่มลูกค้า (Customer Group) ใหม่ หรือไม่
• ความกังวลด้านความปลอดภัย (Safety Concern) เพิ่มขึ้น หรือไม่
เพื่อความสำเร็จ
1. ตัดสินใจ ที่จะชนะ
“ทุกวิกฤติ มีโอกาสเสมอ” - สร้างเป้าหมายที่จะออกจากวิกฤติ และภาวะเศรษฐกิจถดถอย สู่ชัยชนะในระยะยาว เป้าหมาย จะเปลี่ยนความคิด จากการป้องกันไป เป็นการพัฒนาไปข้างหน้า ให้มากกว่าคู่แข่ง
ควร เตรียมพร้อม สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลง เพราะ “ความกล้าหาญ มีพลัง และเวทย์มนตร์”
2. ให้ “คำจำกัดความ” ของธุรกิจ ( Industry Scope) ใหม่
พิจารณา ทั้งสินค้า หรือตลาดที่ให้บริการ ต้องกำหนดรูปแบบธุรกิจให้ดี โดยเริ่มมองหา “คำจำกัดความ” ที่มีโอกาส ชนะคู่แข่ง และ เสนอบริการใหม่ ให้กับลูกค้าที่มีอยู่ จะง่ายกว่า ที่จะไปหาลูกค้าใหม่
3. คิดคุณค่า และราคาใหม่
ผู้บริโภคจำนวนมาก ต้องการสินค้าปริมาณ ที่น้อยลง เพื่อประหยัดเงิน จึงต้องคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมในการส่งมอบ ให้สอดคล้องกับ ราคาที่ผู้บริโภคลูกค้าต้องการที่จะจ่าย
4. รูปแบบธุรกิจใหม่
วิกฤตการณ์นี้ จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และวิธีการดำเนินงานไปอย่างไร (How Crisis Can Drive Business Model Change) ความเป็นไปได้และแนวโน้มที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานที่ ของบริษัท เช่น การกำหนดค่าห่วงโซ่อุปทาน แบบบูรณาการ (Agile) ที่ดีกว่า (Reinvent) รูปแบบธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจธนาคาร ถูก Disruption
อ่านเพิ่มเติม ...
หลัง Covid-19 เทรนด์ผู้บริโภคไทยเปลี่ยนพฤติกรรมถาวร เปิด ‘4 แนวทาง’ธุรกิจพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
การตลาดออนไลน์ สำหรับธุรกิจ - ขั้นตอน และวิธีการเริ่มต้น
โฆษณา