17 พ.ค. 2020 เวลา 06:20 • ความคิดเห็น
ไขปริศนาพุทธอุบัติภูมิในประเทศไทย ตอนแรก
จากที่ได้ผ่านวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ อัฏฐมีบูชา และวันวิสาขบูชามาไม่นานนี้ จึงทำให้ฉุกคิดถึงงานวิจัยที่ต้องการตามรอยพระพุทธเจ้าจากหลักฐานต่างๆที่ปรากฏจริงในประเทศไทยและพระไตรปิฎก
จากที่มีทีมของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ทำการศึกษาว่าประวัติศาสตร์ของไทยเรานั้นมีความสัมพันธ์กับเรื่องราวที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกอย่างยิ่ง
ผมเองก็ได้เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาประมาณ 20กว่าปีมานี้ ทำให้สนใจเรื่องราวที่ทีมวิจัยดังกล่าวได้นำเสนอว่าจะเป็นไปได้หรือไม่
ถ้าหากเป็นจริงแล้ว ข้อเท็จจริงของชมพูทวีป สถานที่ต่างๆในพระพุทธประวัติก็อาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีไทยเราเป็นศูนย์กลางและทุกประเทศในดินแดนนี้จะต้องนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกันทั้งหมด
ผนวกกับความคิดที่ว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า ในครั้งสมัยพุทธกาลนั้น สุวรรณภูมิ ศรีลังกาและอินเดียบางส่วนมีพื้นที่ใกล้กันหรือห่างกันไม่มากนัก แต่ต้องเชื่อว่าสิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นความจริงทั้งหมด
ภาพแผนที่โลกในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันของพื้นดินทั้งโลก ซึ่งอาจตรงกับประวัติศาสตร์ที่เป็นคำพูดติดปากของแต่ละชนชาติในอดีต
นักปราชญ์ชาวกรีกเองเดิมทีก็เชื่อว่าโลกแบนและมีผืนแผ่นดินติดต่อกันเป็นผืนเดียว และอาจตกขอบโลกได้ หากเดินทางสำรวจไปไกลมากๆ
ฝั่งซีกโลกตะวันออกของเราก็มีการพูดถึง ชมพูทวีป และยุทธภพ ซึ่งชาวมคธ ชาวมอญ ชาวรามัญ ชาวอินเดีย และชาวจีน ถือว่าเป็นเจ้าของดินแดนมาแต่โบราณกาล
แพนเจีย(Pangaea) เป็นชื่อเรียกที่นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่าในอดีตนั้นโลกของเรานั้นอาจมีพื้นแผ่นดินที่ติดต่อกันไม่แบ่งเป็นทวีปดังเช่นในปัจจุบัน
และดินแดนที่เป็นเมือกเขาสูงนั้น ก็อาจเคยเป็นก้นทะเลลึกก็เป็นได้ ดังนั้น อาจมีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและการโก่งงอขึ้นในช่วง สองพันกว่าปีมานี้ก็เป็นได้
แผนภาพแสดงมหาทวีปแพนเจีย
มหาทวีปแพนเจียนั้น หากเป็นจริงในครั้งสมัยพุทธกาล แล้วมีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกทำให้มีอ่าวเบงกอล ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศต่างๆในแถบอาเซียนขึ้นในปัจจุบัน
ก็อาจเป็นไปได้ว่าดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางของชมพูทวีปในฝั่งตะวันออกโดยมีแคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นกาสี แคว้นวัชชี ลังกาทวีป และมีการใช้ภาษามคธ ภาษาบาลีเป็นภาษาหลักในครั้งสมัยพุทธกาล
โดยในภายหลังอาจเป็นไปได้ว่ามีการยึดครองดินแดนของชาวเปอร์เซีย กรีก โรมัน จีน มองโกล ทำให้พุทธประวัติอาจต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างตามความเชื่อของผู้ปกครองในขณะนั้น
ซึ่งในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น จะต้องมีการจำลองสถานที่ต่างๆที่อยู่ในพระไตรปิฎกให้กับชาวพุทธได้รำลึกและสร้างความศรัทธาให้กับประชาชน
ภาพแสดงมหาทวีปแพนเจียจาก Natinal Geographic
และอาจเป็นไปได้อีกว่า ชาวสุวรรณภูมินั้นซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและสถานที่ต่างๆในพุทธประวัติ รวมทั้งพระธาตุต่างๆที่กระจายอยู่ในประเทศไทย พม่า ลาว เขมรทั้งหมด
นอกจากนี้อาจมีรอยพระพุทธบาทจำลองที่เป็นสิ่งคอยเตือนให้ขาวพุทธน้อมรำลึกถึงพระพุทธองค์ ตลอดจนปรากฏการณ์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆที่อาจมีดวงแก้วพระธาตุต่างๆ หรือบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจริงทุกปี
ในวันอัฏฐมีบูชาในปีนี้ เป็นวันที่ทำให้เริ่มทำให้คิดศึกษาพุทธประวัติในเชิงลึก และนำมาเทียบกับความเป็นจริงในยุคปัจจุบัน
โดยต้องรำลึกถึงวันที่พระมารดาของพุทธองค์สิ้นพระชนม์และพิธีถวายพระเพลิงในสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล
โดยพระอัฐิธาตุนั้น ควรจะเก็บไว้ที่พระธาตุที่ไม่ห่างไกลจากสถานที่ประกอบพิธีมากนัก และพิธีกรรมที่ใช้นั้น คล้ายกับที่ชาวสุวรรณภูมิใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
จึงเป็นเหตุให้เราต้องฉุกคิดว่า แท้จริงแล้ว ชมพูทวีป ชาวมคธ อาณาจักรโกศล แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์ เมืองพาราณสี เมืองสาเกต เมืองอโยธยา ภาษาบาลีและภาษาล้านนา พิธีพราหมณ์นั้นอาจเป็นรากเหง้าที่ถูกปลูกฝังมาแต่ครั้งพุทธกาล
ในตอนต่อๆไปนั้น เราจะมาช่วยกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่า ถ้าพระไตรปิฏกบันทุกความจริงไว้ทั้งหมดแล้วงานวิจัยในการสืบค้นพุทธอุบัติภูมินั้นจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามเรามาโดยตลอดครับ
แหล่งข้อมูล
โฆษณา