24 พ.ค. 2020 เวลา 01:00 • ความคิดเห็น
ความเชื่อไม่ใช่ความจริง
คนเรามักจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองเชื่อนั้นมันจะเป็นความจริงเสมอ โดยที่ไม่ใช้วิจารณญาณให้ดีก่อนที่จะตัดสิน
ในสังคมเรามักจะพบเห็นแบบนี้ได้บ่อย ๆ คือสิ่งที่เราเชื่อเป็นแบบหนึ่ง แต่ความเป็นจริงเป็นอีกแบบหนึ่ง
เราต้องเผื่อใจไว้ว่าบางทีความเชื่อก็ไม่ใช่ความจริงเสมอไป
และอย่าไปตัดสินคนอื่นด้วยเงื่อนไขที่เราเป็นคนกำหนดขึ้นมาเอง เพราะบางทีเขาอาจจะมีตัวแปรบางอย่างที่ทำให้เราอาจจะเข้าใจผิดก็ได้
การที่เราตัดสินคนที่ภายนอกมักจะมาจาก"การวางเงื่อนไข"ให้ตัวเราเอง
สามารถอธิบายการกระทำแบบนี้ได้จากตัวอย่างการทดลองทางจิตวิทยาชิ้นหนึ่ง ที่ได้ทำการทดลองโดยนําสุนัขมาแล้วก็ให้ผงเนื้อกับสุนัขจะสังเกตเห็นว่าสุนัขจะน้ำลายไหล
จากนั้นเขาเปลี่ยนมาเป็นการสั่นกระดิ่งแล้วถึงให้ผงเนื้อกับสุนัขสังเกตว่าสุนัขจะน้ำลายไหลหลังจากได้ผงเนื้อนั้นแล้ว
แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานเพียงแค่เขาสั่นแค่กระดิ่งสุนัขก็น้ำลายไหลเองโดยที่ไม่มีผงเนื้อให้
เรียกสิ่งนี้ว่า"การตอบสนองต่อเงื่อนไขที่วางเอาไว้"
โดยที่สุนัขจะถูกวางเงื่อนไขว่าหากได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้รับผงเนื้อ มันจึงน้ำลายไหลนั่นเอง
การที่สังคมตัดสินคนที่ภายนอกก็เพราะว่าเขาได้ถูกวางเงื่อนไขไว้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่นคนที่ก่อเหตุไม่ดีส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีรอยสักเต็มตัว เมื่อเราเห็นแบบนี้บ่อย ๆ เราก็จะสร้างเงื่อนไขให้กับตัวเองว่าถ้าเห็นคนที่มีรอยสักแสดงว่าเขาเป็นคนไม่ดี ทั้ง ๆ ที่เรายังไม่ได้พูดคุยหรือทำความรู้จักกับเขาเลยแต่เราก็ตัดสินเขาไปแล้วเพราะเงื่อนไขที่เราวางไว้ คนที่มีรอยสักเต็มตัวก็ใช่ว่าเขาจะเป็นคนไม่ดีไปทั้งหมด
ฉะนั้นเราควรใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่เราเชื่อกับสิ่งที่มันเป็นจริงให้ดีเพราะบางทีมันอาจจะมีตัวแปรอะไรบางอย่างที่เป็นเงื่อนไขที่อาจจะทำให้สิ่งที่เราเชื่อไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
ยิ่งในยุคนี้เป็นยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย หากเราไม่มีวิจารณญาณในการเสพข่าวเราก็จะตกเป็นทาสของสื่อก็ได้
เราต้องพยายามที่จะฟังความทั้งสองข้าง อย่ามองแค่ในมุมตัวเองแล้วตัดสินว่ามันจะเป็นแบบนั้นเสมอไป
บทความเพื่อชีวิต
โฆษณา