20 พ.ค. 2020 เวลา 16:13 • ประวัติศาสตร์
อุบัติเหตุสำคัญในการบินที่พลิกโฉมการพัฒนาความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการบินมาจนถึงทุกวันนี้ 😔
3
เพราะเหตุการณ์สะเทือนขวัญเหล่านี้ได้เป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนาความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการบินจนกลายเป็นวิธีการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ✈️
เครื่องบินตกคือหนึ่งในอุบัติเหตุสะเทือนขวัญเพราะเกือบทุกครั้งที่เกิดเหตุนั่นหมายถึงชีวิตของลูกเรือและผู้โดยสารมากมาย
การเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นถือว่าเป็นวิธีการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบันเมื่อเทียบกับจำนวนเที่ยวโดยสาร แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าเราจะมาถึงวันนี้ได้ อุบัติเหตุสุดสะเทือนขวัญที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายนั่นแหละคือแรงผลักดัน
รู้ไหมครับว่าทำไมหน้าต่างห้องเครื่องบินถึงมีลักษณะกลมมน ไม่มีเจ้าไหนทำหน้าต่างสี่เหลี่ยมหรือทรงอื่นบ้างเลย?
หลังจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก 3 ครั้งติดกันในระหว่างปี 1953-1954 ของเครื่องบินเจท 4 เครื่องยนตร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น de Havilland Comet จากการที่ตัวเครื่องแตกออกกลางอากาศ ทางการอังกฤษจึงสั่งระงับการบินทั้งหมดจนกว่าจะหาสาเหตุให้ได้
de Havilland Comet ถือว่าเป็นเครื่องบินโดยสารล้ำสมัยในยุคนั้น
de Havilland เป็นเครื่องบินที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยกระจกห้องโดยสารสี่เหลี่ยมบานใหญ่แต่นั่นคือสาเหตุแห่งหายนะและการสูญเสียชีวิตมากมาย
ภาพภายในห้องโดยสาร จะเห็นได้ว่าหน้าต่างสี่เหลี่ยมบานใหญ่เครื่องบินในปัจจุบันมาก
สุดท้ายหลังจากการวิเคราะห์อย่างละเอียดจึงพบว่าสาเหตุเกิดจากความล้าของวัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องบินจากการเปลี่ยนแปลงความดันภายในเครื่องตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ทำการบินจนทำให้เกิดรอยแตกจนลำตัวเครื่องแตกออก
ซึ่งความล้าสะสมนี้จะเกิดมากที่ขอบมุมกระจกมากกว่าบริเวณอื่น จึงเป็นที่มาของการออกแบบกระจกห้องโดยสารเครื่องบินที่มีลักษณะกลมมน เพื่อลดความเค้นในเนื้อวัสดุที่บริเวณมุมหน้าต่าง
3
และทำให้การออกแบบวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องบินหรืออุปกรณ์ที่ต้องรับแรงเปลี่ยนแปลงตลอดการใช้งาน (Cycle Loading) ต้องมีการเผื่อความแข็งแรงของวัสดุให้เพียงพอต่ออายุการใช้งานที่ออกแบบ เช่นการเพิ่มความหนา
2
อุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศในปี 1958 นำมาสู่การก่อตั้ง FAA
เมื่อเครื่องบินของสายการบิน TWA เที่ยวบิน 2 และ United Airlines เที่ยวบิน 718 ประสบเหตุชนกันกลางอากาศเหนือแกรนแคนยอน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดการปฏิรูประบบการจราจรทางอากาศในอเมริกาครั้งใหญ่ และนำไปสู่การก่อตั้ง Federal Aviation Agency หรือ FAA ในปี 1958
1
ซึ่งการยกเครื่องระบบการจราจรทางอากาศนี้ทำให้ไม่มีอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศในอเมริกาอีก (แต่ที่อื่นก็ยังมีอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศอีกหลายครั้ง)
อุบัติเหตุเครื่องบินชนกันบนรันเวย์ของสนามบิน Los Rodeos airport ในปี 1977 ได้คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน
1
ยักษ์ชนยักษ์ ที่สุดของหายนะ
เมื่อเครื่องโบอิ้ง 747 ของสายการบิน KLM เที่ยวบิน 4805 ชนเข้ากับเครื่อง 747 ของสายการบิน PAN AM เที่ยวบิน 1736 ขณะกำลังทะยานขึ้นบิน
ด้วยความสับสนในการสื่อสารกับหอบังคับการบิน นักบินที่ Licence กำลังจะขาด สภาพอากาศ (หมอกลงจัด) จึงทำให้ 309 ชีวิตต้องจบลง
หลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้มีการยกเครื่องระบบ crew-resource management (CRM) ในอุตสาหกรรมการบินครั้งใหญ่
1
รวมถึงการเริ่มบังคับใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษามาตราฐานในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างนักบินและหอบังคับการบินทั่วโลก
การตกของ United Airlines เที่ยวบิน 173 ในปี 1978 ก่อให้เกินการปฏิรูปการทำงานเป็นทีมในห้องนักบิน
1
United Airlines เที่ยวบิน 173 ที่มีปัญหาระบบกางล้อขณะลงจอดที่สนามบิน Portland airport ทำให้นักบินง่วนอยู่กับการแก้ปัญหา Landing Gear ติดขัด จนลืมไปว่าน้ำมันกำลังจะหมดลงแล้ว
หลังจากบินอยู่ 1 ชั่วโมง แม้นักบินผู้ช่วยจะเตือนแล้วแต่กัปตันก็ยังดึงดันที่จะพยายามแก้ปัญหา Landing Gear จนทำให้ตัดสินใจบินวกกลับไปลงจอดฉุกเฉินไม่ทันทำให้เครื่องตกลงบริเวณชุมชน ทำให้มีผู้เสียชิวิต 10 ราย
อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้มีการพัฒนาระบบ CRM มีการเพิ่มการฝึกการทำงานเป็นทีมในห้องนักบินในหลักสูตรฝึกบินสำหรับนักบินพาณิชย์
เหตุเพลิงไหม้บนเที่ยวบิน 797 ของ Air Canada ในปี 1983 ทำให้มีการติดเครื่องตรวจจับควันในห้องน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติในเครื่องบิน
เที่ยวบินนี้บินจากดักลาสไปยังโตรอนโต แต่เมื่อขึ้นบินไม่นานก็เริ่มควันไฟออกมาจากห้องน้ำท้ายเครื่อง และหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนควันลามเข้าระบบปรับอากาศเข้าห้องนักบินจนนักบินแทบมองไม่เห็นแผงควบคุม
สุดท้ายนักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบิน Cincinnati airport แต่ในวินาทีประตูฉุกเฉินถูกเปิดออกก็เกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดไฟลุกท่วมในห้องโดยสาร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย
ซึ่งปรากฏการณ์นี้คือ Back fire หรือ Back Draft เมื่อไฟที่ขาดอากาศอยู่ในห้องปิดและเราเปิดประตู ไฟที่ได้รับออกซิเจนเติมเข้ามาก็จะกลับมามีชีวิตและพุ่งออกมาอย่างรุนแรง คร่าชีวิตนักพจญเพลิงมามากมาย
1
อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้เครื่องตรวจจับควันและระบบดับเพลิงอัตโนมัติในเครื่องบินกลายเป็นอุปกรณ์มาตราฐาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ลามไฟสำหรับเก้าอี้โดยสารและไฟบอกทางออกฉุกเฉินตามทางเดิน
3
โศกนาฏกรรมของสายการบิน Delta เที่ยวบิน 191 ทำให้เราได้รู้จักกับ Microbrust ภัยร้ายที่มองไม่เห็น
ไมโครเบิร์ส กระแสลมพุ่งกดลง ทอร์นาโดที่มีทิศตรงกันข้าม
ในปี 1985 เครื่อง Lockheed L-1011 ของสายการบิน Delta เที่ยวบิน 191 ประสบอุบัติเหตุตกด้วยอาการน่าพิศวงระหว่างลงจอดที่สนามบิน Dallas/Fort Worth Airport
ซึ่งขณะนั้นกำลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนองใกล้กับสนามบิน โดยเที่ยวบินที่เพิ่งลงก่อนหน้านั้นสามารถลงจอดได้ตามปกติ แต่เมื่อเที่ยวบิน191 กำลังบินลงจอด จู่ ๆ ความเร็วก็พุ่งขึ้นและตัวเครื่องบินก็ถูกกดลง
ล้อของเครื่องได้กระแทกเข้ากับรถที่วิ่งอยู่บนทางหลวงใกล้สนามบินทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย ก่อนเครื่องจะพุ่งเข้ากระแทกกับถังน้ำข้างรันเวย์ ส่งผลให้ลูกเรือและผู้โดยสารเสียชีวิต 118 ราย
1
สร้างควาตื่นตะลึงให้กับเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินที่เห็นเหตุการณ์เพราะเหมือนมีมือที่มองไม่เห็นกดเครื่องลงกระแทกพื้น
1
สภาพเครื่องหลังชนเข้ากับถังน้ำจนลำตัวเครื่องแตกไฟลุกไหม้
FAA ต้องขอให้ NASA เข้ามาช่วยหาสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ ซึ่งสาเหตุก็คือเที่ยวบิน 191 ได้บินเข้าไปเจอกับกระแสลม Microbrust กระแสลมเฉือนลงแนวดิ่งที่เกิดจากพายุที่อยู่ใกล้เคียงนั้นเอง
1
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงมีการติดตั้ง forward-looking radar wind-shear detectors หรือเรดาห์ตรวจจับกระแสลมเฉือนแนวดิ่งบนเครื่องบินเพื่อแจ้งเตือนนักบินล่วงหน้า
ความพยายามลงจอดฉุกเฉินที่สิ้นหวังของ United Air Line เที่ยวบิน 232 ทำให้มีการปรับปรุงความปลอดภัยในการออกแบบเครื่องยนต์ครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมการบิน
1
19 กรกฎาคม 1989 เครื่อง DC-10 ของเที่ยวบิน 232 เกิดปัญหาขัดข้องที่เครื่องยนต์ด้านท้าย ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องยนต์เสียเครื่องเดียวจากที่มี 3 เครื่องไม่ควรทำให้เครื่องตกได้
1
แต่เพราะการออกแบบของเครื่อง DC-10 ที่ให้เครื่องยนต์ท้ายเป็นต้นกำลังให้กับระบบไฮโดรลิคของเครื่อง ทำให้เมื่อเครื่องยนต์ท้ายเสีย นักบินไม่สามารถทำการควบคุมเครื่องได้เลย
ซึ่งเป็นการออกแบบที่พลาดมาก ๆ ที่ไม่มีระบบไฮโดรลิคสำรองสำหรับเหตุการณ์แบบนี้
นักบินพยายามลงจอดฉุกเฉินแต่ไม่สามารถลดความเร็วเครื่องได้มากพอ ทำให้เครื่องกระแทกพื้นอย่างแรงก่อนตัวเครื่องจะแตกกระจายเกลื่อนรันเวย์ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 104 ราย
จากการตรวจสอบของ FAA พบข้อบกพร่องในการออกแบบเครื่องยนต์รวมถึงการไม่มีระบบควบคุมสำรอง ทำให้มีการสั่งแก้ไขการออกแบบเครื่อง DC-10 ทั้งหมดรวมถึงการออกแบบในรุ่นถัดไปด้วย
US Air เที่ยวบิน 427 การตกที่สั่นสะเทือนไปทั้งอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน
การนำชิ้นส่วนของเครื่องโบอิ้ง 737 เที่ยวบิน 427 เพื่อสืบสวนหาสาเหตุการตก
8 สิงหาคม 1994 ขณะที่เครื่องโบอิ้ง 737 ของเที่ยวบิน 427 กำลังมุ่งหน้าลงจอดที่สนามบิน Pittsburgh airport แต่จู่ ๆ เครื่องบินก็หมุนซ้ายและปักหัวดิ่งกระแทกพื้นจากความสูง 1,500 เมตร 132 ชีวิตบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด
การสืบสวนชั้นแรกจากข้อมูลการบินและกล่องดำพบความผิดปกติว่านักบินนั้นบังคับเครื่องผิดทาง นั่นคือแทนที่พยายามบังคับเชิดหัวกลับแต่กับกดหัวเครื่องลง
ซึ่งทำให้เกิดสงครามน้ำลายระหว่างสายการบิน โบอิ้งและญาตินักบินว่าเป็นความผิดใครกันแน่ เพราะแน่นอนว่าผลออกมาแบบนี้โบอิ้งย่อมโบ้ยเป็นความผิดนักบิน ถึงขั้นจะมีการฟ้องร้องกันเลยทีเดียว
แต่เจ้าหน้านี่สืบสวน FAA ยังไม่ปักใจ เพราะมันดูแปลกมากที่นักบินจะจงใจทำแบบนั้น และเสียงการสนทนาจากกล่องดำแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแก้สถานการณ์ แต่ทำไมนักบินถึงบังคับเครื่องดิ่งลง นั่นสร้างความคาใจให้กับเจ้าหน้าที่สืบสวน
1
ซึ่งตรงนี้ผมทึ่งในความพยายามค้นหาความจริงของทีมสืบสวน FAA มาก ที่ในที่สุดหาจนเจอว่าสาเหตุมันเกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชุดวาล์วควบคุมระบบไฮโดรลิค ซึ่งจะทำงานกลับทิศเมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำมาก ๆ
นั่นคือสาเหตุของการควบคุมเครื่องที่ดูผิดปกติของนักบิน คือจริง ๆ แล้วนักบินพยายามบังคับดึงเครื่องขึ้น แต่ยิ่งดึงคันบังคับขึ้นยิ่งกลายเป็นว่าเครื่องจะกดหัวลง ซึ่งใครจะไปรู้ว่าวาล์วทำงานผิดปกติทำให้ระบบควบคุมกลับทิศ
สรุปสุดท้ายนักบินไม่ผิด ตอนดูสารดดีเคสนี้ผมสงสารนักบินเลย ซวยมาก และทึ่งในความเทพของทีมสืบสวน FAA จริง ๆ ที่หาจนเจอว่าวาล์วชิ้นเล็ก ๆ นี่แหละปัญหา
จากเหตุการณ์นี้ บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนระบบควบคุมนี้ให้กับโบอิ้งต้องทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนให้กับเครื่อง 737 ทั้งหมดรวม 2,800 ลำ
และทำให้สภาคองเกรสผ่านกฏหมาย Aviation Disaster Family Assitance ซึ่งให้การคุ้มครองและช่วยเหลือญาติของผู้ประสบภัยจากการบิน
การตกของคองคอร์ดในปี 2000 ได้ปิดฉากตำนานเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงรุ่นเดียวของโลก
1
เที่ยวบินสุดท้ายของคองคอร์ด จากไปพร้อม 113 ชีวิต
25 กรกฎาคม 2000 เครื่องบินคองคอร์ดของ Air France เที่ยวบิน 4590 ที่กำลังทะยานขึ้นจากสนามบิน ชาล์ล เดอโก ในกรุงปารีส
แต่ยังไม่ทันได้บินขึ้นจากพื้นนักบินก็รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน เสียงระเบิด และเปลวไฟที่ลุกท่วมเครื่องยนต์ด้านซ้าย
ทีมนักบินพยายามแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่นี่คือช่วงเวลาวิกฤติของการบินและความเสียหายนั้นมากเกินไป เพียงไม่ถึง 2 นาที เที่ยวบิน 4590 พุ่งตกเข้าใส่ Airport Hotel ใกล้สนามบิน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 113 ราย
1
หลังจากนั้นเครื่องคองคอร์ดก็เริ่มเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้เครื่องคองคอร์ดขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องบินที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ไม่เคยมีประวัติตกแม้แต่ลำเดียว
2
ปิดฉากคองคอร์ด ตำนานเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงหนึ่งเดียวที่มี
ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะภาพเครื่องคองคอร์ดที่ไฟลุกท่วมบินพุ่งเข้าชนโรงแรมนั้นมันน่าสะเทือนขวัญผู้คน ข่าวคองคอร์ดตกนี้ถือเป็นข่าวใหญ่ในช่วงนั้นเลยทีเดียว
คองคอร์ดต้องหยุดบินไปในเดือนตุลาคม 2003 แม้สุดท้ายแล้วสาเหตุการตกนั้นไม่ได้มาจากเครื่องคองคอร์ดเลยแม้แต่น้อย
สาเหตุนั้นเกิดจากเศษชิ้นโลหะจากเครื่องบินเที่ยวก่อนหน้าที่ตกอยู่บนรันเวย์ และเมื่อล้อหน้าคองคอร์ดวิ่งไปเหยียบเข้าได้ดีดกระเด็นเข้ากระแทกใต้ปีกซ้ายซึ่งไปกระแทกโดนท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงแตกและติดไฟลุกลามจนทำให้เครื่องตก
1
เรียกได้ว่า เหมือนดู Final Destination เลยครับตอนดูสารคดีเคสนี้ เหมือนทุกคนบนเครื่องได้ถูกชะตากำหนดมาแล้วว่า . . .
และนี่ก็คือเรื่องราวการพัฒนาต่อเนื่องยาวนานที่แลกมาด้วยชีวิตมากมาย ก่อนที่เราจะมีการบินที่ดูปลอดภัยหายห่วงอย่างในทุกวันนี้ 🧐
ส่วนตัวผมชอบดูสารคดี Air crash investigation กับ 0 second to disaster มี 2 เที่ยวบินที่ยังจำได้ดี
- JAL 123 โบอิ้ง 747 หางด้วน แต่ด้วยความเทพของทีมนักบินและช่างเครื่องสามารถประคองเครื่องไปได้อีกเกือบชั่วโมง เป็นที่มาของคำสั่งเสียของเหล่าผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่อง น่าทึ่งและน่าเศร้ามากครับ 😢
- HELIOS 522 เที่ยวบินผี ที่ไร้การตอบรับจากคนบนเครื่องจนกองทัพอากาศกรีซต้องส่งเครื่องบิน F-16 บินไปดู สิ่งทีนักบิน F-16 เห็นนั้นชวนอึ้งเพราะทุกคนบนเครื่องหลับหมด 😱

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา