25 พ.ค. 2020 เวลา 09:20 • ธุรกิจ
เวียตนาม กำลังจะกลายเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ของโลก
ข่าวล่าสุดที่พานาโซนิคปิดโรงงานในไทย แล้วย้ายฐานการผลิตทั้งหมดไปเวียตนามไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะมีอุตสาหกรรมย้ายฐานไปแล้วก่อนหน้านี้
LG ทะยอยย้ายฐานการผลิตจากไทยมาที่เมืองฮายฟอง ตั้งแต่ปี 2016
Samsung ก็ปิดโรงงานในเกาหลีใต้เพื่อย้ายมาตั้งฐานการผลิตที่เวียตนามตั้งแต่โควิดเริ่มระบาดในเกาหลีใต้
ในขณะที่ Apple เองก็ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน หนีสงครามการค้าโดยจะใช้เวียตนามเป็นฐานการผลิต Ipod
####อะไรที่ทำให้เวียตนามกลายเป็นจุดมุ่งหมายแห่งการผลิตของหลายๆอุตสาหกรรม####
1.ผลพวงของสงครามการค้าระหว่างจีน กับ สหรัฐอเมริกา
ผู้ชนะตัวจริงคือ เวียตนาม เพราะบริษัทชั้นนำของโลกหาทางหลีกเลี่ยงภาษีการค้า
จากการที่มีพรมแดนติดกับจีน สามารถขนส่งลำเลียงสินค้าในทางบกไปยังตลาดที่มีประชากร 1300 ล้านคนได้โดยสะดวก
ตลอดเส้นทางจาก ฮานอยไปยังอ่าวฮาลอง พื้นที่ระเบียงอุตสาหกรรม ทั้งสองข้างทางเป็นโรงงานผลิตสินค้ามากมายตั้งแต่ฟอร์ตโฟกัส ไอโฟน โรงงานซัมซุงในเมืองไท่เหวียน โรงงาน LG ในท่าเรือน้ำลึกเมืองฮายฟอง
2. โครงสร้างประชากรอยู่ในวัยทำงานและค่าแรงราคาถูก
นอกจากปัจจัยที่ตั้งใกล้จีนแล้ว เวียตนามยังมีแรงงานราคาถูก ต่ำกว่าจีน 1.5 เท่า และต่ำกว่าไทย 2 เท่า และยังเป็นแรงงานในช่วงหนุ่มสาว
เวียตนามมีจำนวนประชากร 97.3 ล้านคนในปี 2020 และอายุเฉลี่ยแค่ 32.5 ปี ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 20-30 ปี เทียบกับไทยที่มีประชากร 69.7 ล้านและอายุเฉลี่ย 40.1 ปี
ในปี 2018 และ 2019 GDP ของเวียตนามขยายตัว 7.08 และ 7.02% โดยได้แรงหนุนจากภาคการผลิตที่ขยายตัว 11.29% การเติบโตของเวียตนามสวนทางกับการค้าโลกที่เริ่มตึงตัว และมูลค่าทางการค้าของเวียตนามอยู่ที่ 5.17 แสนล้านดอลล่าร์
3. ความมั่นคงทางการเมืองและนโยบายที่ทำการค้าเสรีจำนวนมาก
เวียตนามมีข้อตกลงการค้าเสรีกับเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2015 โดยลดภาษีนำเข้า 89% และเกาหลีใต้ลด 95% และนอกจากนั้นยังได้ทำ FTA กับ EU อีกเมื่อ 30 มิถุนายน 2019 ซึ่งจะลดภาษี 71% ของเวียตนาม
นอกจากนี้ผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้ บริษัทข้ามชาติต้องหา Supply Chain รองรับการผลิตทั้งหมดของห่วงโซ่ ทำให้เวียตนามอาศัยจังหวะนี้สร้างกลยุทธยกระดับการผลิตให้มูลค่าสูงขึ้น นั่นคือ ยกระดับของ supply chain , กระบวนการผลิต และยกระดับมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์
 Vietnam's per capita GDP has increased tenfold over the past 30 years
อีกทั้งเวียตนามสามารถควบคุมโรคโควิด 19 และจำนวนผู้ติดเชื้อทำให้เริ่มเป็นที่สนใจของบริษัทข้ามชาติหลายๆแห่ง
ใครจะเชื่อว่าเมื่อประเทศที่ประชากรรุ่นที่แล้วล้าหลังจากสงคราม ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น อพยพหนีตายเอาดาบหน้าไปยังประเทศที่พัฒนา กลับกลายเป็นทุนข้ามชาติแห่กันเข้าหาแย่งกันเข้ามาเพื่อลงทุนในการสร้างโรงงาน ทุกอย่างกลับกันหมดภายในเวลาไม่กี่สิบปี
### ผลกระทบที่มีต่อไทย###
ไทยน่าจะเป็นประเทศฐานการผลิตเดิมที่ถูกผลกระทบเพราะเวียตนามมีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนแรงงานและจำนวนประชากร รวมทั้งเป็นตลาดเกิดใหม่ จึงคิดว่าไทยควรพัฒนาแรงงานให้เป็นแรงงานเชิงเทคนิค พัฒนาจุดเด่นของเราอย่าง ความหลากหลายทางเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร การท่องเที่ยวธรรมชาติและสาธารณสุขที่เรายังมีความได้เปรียบและดึงดูดต่อนักท่องเที่ยวระดับบนได้อยู่ ไทยเราต้องปรับตัวหาจุดเด่นของเราให้เจอ มิฉะนั้นคงโดนเพื่อนบ้าน อย่างเวียตนามแซงไม่เห็นฝุ่นแน่ๆ
อ้างอิงจาก:
โฆษณา