21 พ.ค. 2020 เวลา 11:44 • ปรัชญา
เวนิสวาณิช.... (. The Merchant of
Venice)
บทละครเรื่องเวนิสวาณิช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2459 โดยทรงแปลมาจากบทประพันธ์ของวิลเลี่ยมเชกสเปียร์ กวีลืมนามของโลก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้นักเรียนมัธยมศึกษารุ่นเจเจ้ได้เรียน จึงได้คุ้นกับชื่อ อันโตนิโย และ ไชล็อด ยิวเจ้าเล่ห์
2
เวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598 จัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็คสเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อก
The Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459
บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ
The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
1
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
1
และอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ
Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell
1
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
1
ตอบเอยตอบถ้อย เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้ เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย
1
เนื้อเรื่องย่อ
อันโตนิโยพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสกำลังกลุ้มใจเรื่อที่เรือสินค้าเดินทางมาถึงช้ากว่าปกติ เกรงว่าเรือสินค้าจะอับปาง ขณะนั้นเองบัสสานิโยเพื่อนสนิทที่เดินทางมาของยืมเงินไปเมืองเบลมอนต์เพื่อพบนางปอร์เชียคนรัก ผู้มั่งคั่งจากการรับมรดกมากมายเนื่องจากบิดาเธอเสียชีวิตซึ่งก่อนตายบิดาเธอได้มีเงื่อนไขว่า "นางปอร์เชียต้องทำพิธีเสี่ยงทายด้วยหีบ 3 ใบเพื่อเลือกคู่ ชายใดเลือกหีบที่มีรูปนางปอร์เชียก็จะได้แต่งงานกับนาง แต่ถ้าเลือกผิดชายคนนั้นก็ต้องห้ามแต่งงานตลอดชีวิต"
บัสสานิโยซึ่งชอบอยู่กับนางปอร์เชียจึงคิดจะไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย อันโตนิโยซึ่งมีเงินไม่มาก จึงไปขอยืมเงินไชล็อก พ่อค้าเงินกู้หน้าเลือดชาวยิว ไชล็อกซึ่งมีจิตใจคิดร้ายและเกลียดอันโตนิโยมาแต่ต้น ตกลงให้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย จำนวน 3,000 เหรียญ แต่ทำสัญญาว่าหากถึงเวลาถ้าอันโตนิโยไม่สามารถใช้หนี้ได้จะต้องชดใช้โดยการให้ไชล็อกเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์
...ถ้าหากถึงเวลากำหนดใช้
ท่านมิได้ใช้เงินกู้ไปนั่น
ให้ต้องตามหนังสือคู่มือพลัน
ตัวดิฉันจะขอสิ่งอื่นแทน
ขอมังสังชั่งหนักหนึ่งปอนด์ถ้วน
แล่เอาตามแต่ที่ควร อย่าหวงแหน...
ลอเร็นโซเพื่อนบัสสานิโยชอบพออยู่กับเจ็สสิก้าลูกสาวของไชล็อกและได้พากันหนีไป สร้างความโกรธแค้นแก่ไชล็อกอย่างมาก
ต่อมาเมื่อบัสสานิโยเดินทางไปถึงเมืองเบลมอนต์ก็ได้เข้าทำพิธีเลือกคู่ เจ้าชายมอร็อคโคเลือกหีบทองภายในมีกะโหลกผี เจ้าอาร์ระคอนเลือกหีบทองภายในมีตัวจำอวดอยู่(ตัวตลก) บัสสานิโยเลือกหีบตะกั่วซึ่งภายในมีรูปนางปอร์เชียอยู่ นางปอร์เชียจึงดีใจมากและมอบแหวนให้แก่บัสสานิโย
ต่อมาลอเร็นโซและสะเลริโยถือจดหมายมาจากเมืองเวนิสว่าเรือสินค้า
ของอันโตนิโยอับปาง บัสสานิโยจึงนำเรื่องไปบอกแก่นางปอร์เชีย นางจึงมอบเงินแก่บัสสานิโย 20 เท่าเพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก แต่ไชล็อกไม่ต้องการ เพราะในใจคิดว่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แก้แค้นอันโตนิโยที่เคยด่าว่าและทำร้ายตน พ่อเมืองเวนิสช่วยเกลี้ยกล่อมแต่ไม่เป็นผล
wekipedia
นางปอร์เชียจึงให้ลอเร็นโซถือจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากอาจารย์เบ็ลลานิโยญาติขอนางซึ่งเป็นทนายความมาช่วยอันโตนิโย แต่อาจารย์ไม่อยู่ นางเปอร์เชียจึงตัดสินใจปลอมตัวเป็นบัลถะสาร์ททนายความมาช่วยว่าความให้
ไชล็อกซึ่งมีใจโหด ไม่ยอมรับเงินใช้หนี้ไม่ว่าจะกี่เท่าก็ตาม ขณะนั้นนางปอร์เชียซึ่งปลอมตัวเป็นเนติบัณฑิตเข้ามาในศาล นางขอให้ไชล็อกกรุณาแต่ไชล็อกกลับกล่าวว่าจะบังคับกันหรือ และนี่คือคำพูดของปอร์เชีย
The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
พระราชนิพนธ์แปลความว่า
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
ไม่ว่าอย่างไรไชล็อกก็หายอมไม่ นางปอร์เชียจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้แล่เนื้อได้ แต่ห้ามให้มีโลหิตติด และไม่ให้น้ำหนักขาดหรือเกิน และถ้าทำเช่นนั้นจะะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์
...ดังนี้จงเตรียมแล่มังสะไป
แต่โลหิตอย่าให้ไหลแม้สักนิด
อย่าแล่มากหรือน้อยกว่าหนึ่งปอนด์
ถ้าตัดก้อนเนื้อนั้นน้ำหนักผิด
หนักเบาไปแม้แต่สักนิด
ผิดแม้แต่ส่วนมาตราไป
หรือตราชูเอียงไปข้างใดแม้
แต่เพียงเท่าน้ำหนักเส้นเกศา
ยิวจะต้องถูกประหารซึ่งชีวา
และริบสาระสมบัติด้วยทันที...
ในที่สุดไชล็อกก็ถูกริบทรัพย์ไปกึ่งหนึ่ง และให้ไชล็อกทำพินัยกรรมว่าเมื่อถึงแก่กรรมแล้วต้องยกสมบัติทั้งหมดให้แก่ลอเร็นโซผู้เป็นลูกเขย พร้อมทั้งให้ไชล็อกเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ด้วย ไชล็อกจึงยอมทำตามและขอลากลับบ้าน เพราะรู้ว่าอย่างไรตนก็ต้องแพ้ความ
ในภายหลังเรือสินค้าของอันโตนิโยก็กลับมา และมีอับปางบ้าง ก่อนบัลถะสาร์(นางปอร์เชีย)จะกลับก็ได้ลองใจลอเร็นโซ โดยการขอแหวนของบัสสานิโย แต่แรกบัสสานิโยทำท่าจะไม่ให้ แต่ในที่สุดก็ยอมถอดแหวนให้ เมื่อถึงเมืองเบลมอนต์ นางปอร์ชียก็ได้ถามถึงแหวน บัสสานิโยก็เล่าความจริงให้ฟังว่าบัลถะสาร์ซึ่งมีบุญคุณต่อเขา เพราะบัลถะสาร์ช่วยเพื่อนรักของเขาไว้ และบัลถะสาร์ก็ได้ขอแหวนเป็นการตอบแทนเขาจึงต้องยอมมอบแหวนให้ ดังนั้นนางปอร์เชียจึงไม่โกรธบัสสานิโย
ข้อคิดจากเรื่อง เวนิสวาณิช
“เวนิส วาณิช” สอนให้เราตระหนักรู้ว่า ไม่ว่าความความยุติธรรมบนโลกนี้จะมีอยู่จริงหรือไม่ หรือมันสำคัญกับมนุษย์ขนาดไหนนั้น แต่นั่นก็ไม่สำคัญไปกว่าความเมตตาปราณีที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับและพึงมอบให้แก่กัน ดังวลีหนึ่งที่ทนายความของแอนโตนิโอกล่าวไว้ในช่วงเวลาหนึ่งของการว่าความ “เมตตาธรรม จึงเหนือกว่าอำนาจใด ๆ ทั้งปวงในโลกนี้”
ประโยชน์ที่ได้จากเรื่อง เวนิสวาณิช
ประโยชน์ที่ได้จากเรื่อง เวนิสวาณิช คือ สอนให้เราตระหนักรู้ว่า ไม่ว่าความความยุติธรรมบนโลกนี้จะมีอยู่จริงหรือไม่ หรือมันสำคัญกับมนุษย์ขนาดไหนนั้น แต่นั่นก็ไม่สำคัญไปกว่าความเมตตาปราณีที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับและพึงมอบให้แก่กัน ดังวลีหนึ่งที่ทนายความของแอนโตนิโอกล่าวไว้ในช่วงเวลาหนึ่งของการว่าความ “เมตตาธรรม จึงเหนือกว่าอำนาจใด ๆ ทั้งปวงในโลกนี้”
5
อ้างอิง
www.su-usedbook.com/product-th-97359-5135846 - แบบเรียนวรรณคดี
th.wikipedia.org/wiki /เวนิสวาณิช
ฝากบทความบทกลอนที่หน้าศึกษาไว้ด้วยนะคะ.. เจเจ้ขอบคุณค่ะ
โฆษณา