22 พ.ค. 2020 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
ก้าวทันการค้าโลก กับ นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า: สงครามโรค – สงครามการค้า
นอสตราดามุส แพทย์ชาวฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายยิว ผู้ที่ภายหลังกลายเป็นโหราจารย์ของโลก ได้ทำนาย เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 3 เอาไว้กว่า 500 ปีมาแล้ว
โดยสงครามโลกครั้งที่ 3 จะเป็นสงครามระหว่าง “The republic of great city” ซึ่งคนตีความว่าเป็น สหรัฐอเมริกา
กับประเทศซึ่งไม่นับถือ “พระเจ้า” ซึ่งคนก็ตีความว่าเป็นจีน และรัสเซีย
ซึ่งช่วงที่เกิดสงครามการค้าก่อนที่จะเกิดโควิด ผู้คนก็กังวลว่าความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐฯ จะบานปลายถึงขั้นทำสงครามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 กันจริงๆ ตามคำทำนาย
แต่สถานการณ์ที่เราพบเจอกลับกลายเป็นสงคราม “โรค” แทนสงคราม “โลก” ที่สถานการณ์ล่าสุด (22/5) การระบาดผ่านไป 5 เดือน มีผู้เสียชีวิตกว่า 340,000 ราย
สร้างความเสียหาย ทางเศรษฐกิจ และดูเหมือนจะทำให้รอยร้าวระหว่างจีนและสหรัฐฯ ใหญ่ขึ้นไปอีก
แต่ที่เหมือนเป็นโลกคู่ขนาน ก็คือ สถานการณ์เศรษฐกิจที่ดูมืดมน แต่ตลาดหุ้นกลับเด้งขึ้นด้วย Infinite QE ของสหรัฐฯ
สำหรับผู้ประกอบการ ก็คงต้องติดตามสถานการณ์ ดูตัวเลขต่างๆ จะได้ปรับตัวได้ถูกต้อง อย่าใช้แต่อารมณ์ตัดสินใจ โดยเฉพาะประเทศเล็กๆ อย่างไทย ก็คงต้องเลือกข้างตามสถานการณ์ ในช่วงที่ยักษ์ ทั้ง 2 ฝ่ายกำลังชนกัน
Cr. CNBC
บทความนี้ เรามาอัพเดตข้อมูลข่าวสารการค้าโลกประจำสัปดาห์ ลองเช็คข้อมูลกัน
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
════════════════
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
════════════════
1) สถานการณ์เศรษฐกิจ ทั่วโลก
- สหรัฐอเมริกา ดัชนีการผลิตของภาคอุตสาหกรรม จาก FED ลดลง 11.2% ในเดือน เมษายน เป็นการลดลงสูงสุดต่อเดือน ในรอบ 100 ปี เลยทีเดียว โดยการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนลดลงกว่า 70%, อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ลดลง 64.9% ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ย ถึง 14.9%
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ มองว่าแย่ไปถึงปีหน้า โดยจากผลสำรวจของ New York Federal Reserve ทารสำรวจ 1,300 ครัวเรือนในสหรัฐฯ พบว่า
44.2% ของผู้ตอบแบบสบถามคาดว่าราคาบ้าน จะลดลงในปีหน้า
21.9% คิดว่ารายได้จะลดลง
46.7% คิดว่าจะกู้เงินยากขึ้น
แต่ถึงแม้ภาพเศรษฐกิจแย่ แต่คนสหรัฐฯ ก็คิดว่า หุ้นจะมีโอกาสขึ้น ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ถึง 51.8% เพิ่มขึ้นจาก 47.7% ของผลสำรวจในเดือน มีนาคม
- อุปทานน้ำมัน ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ใกล้ถึงจุดต่ำสุดในรอบ 9 ปี โดยปริมาณการผลิตน้ำมันลดลงถึง 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ 88 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพฤษภาคม
ในขณะที่ ความต้องการใช้น้ำมันเริ่มกลับมาหลังจากการเลิก lockdown ของหลายๆประเทศ ส่งผลให้ราคาน้ำมัน WTI เพิ่มขึ้นกลับมาที่แถวๆ 30 เหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 40% จากต้นเดือนพฤษภาคม
- GDP ญี่ปุ่น ในไตรมาสที่ 1 ลดลงกว่า 3.4% เทียบต่อปี จณะที่เยอรมัน GDP ลดลง 2.2%
- ในขณะที่จีน สถานการณ์ยัง ไม่แน่นอน โดยผลผลิตอุตสาหกรรม กลับมาเติบโตที่ 3.9% ในเดือน เมษายน ในขณะที่การค้าปลีกลดลง 7.5%
Cr. Business Insider
2) สงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ
- หัวเว่ย ยังเป็นเป้าใหญ่ โดนเตะตัดขาต่อเนื่อง หลักๆ คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลอย่าง TSMC ของไต้หวัน ได้หยุดขายของให้หัวเว่ย แล้ว ทั้งนี้ TSMC เอง ก็ได้ประกาศสร้างโรงงานใหม่มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ในสหรัฐฯ ซึ่งก็แน่นอนว่าต้องทำตามกฏของสหรัฐฯ ก็คือ ห้ามส่งออกสินค้าให้หัวเว่ย
- จีนเองก็โต้กลับ โดยกำลังเพ่งเล็ง บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ทั้ง Apple, Qualcomm, Cisco และ Boeing คือ เธอแบนชั้นได้ ชั้นก็แบนเธอได้เหมือนกัน ซึ่งบริษัทใหญ่เหล่านี้ก็คงนิ่งนอนใจไม่ได้
- โดนัลด์ ทรัมป์ มีวลีเด็ดๆ ยิงใส่จีน ออกมาทุกวัน มีการวิเคราะห์กันว่า หลักๆ ทรัมป์ ทำวิถีทาง เพื่อให้ตัวเองได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง การปั้นจีนให้เป็นศัตรูหลักของคนในชาติ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี...หรือว่าทรัมป์ คือ คนที่จะก่อสร้างคราม ตามคำทำนายของนอสตราดามุสจริงๆ...
3) การขนส่งทางทะเล
- สถานการณ์ที่ยุโรป โดนหนักสุด จากปริมาณการขนส่งที่ลดลง และการยกเลิกเที่ยวเรือ ที่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว
- ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้สายเรือส่วนใหญ่ ยอมใช้น้ำมันที่มีกำมะถันต่ำ แทนการติดตั้ง Scrubber หรือเครื่องบำบัดไอเสีย ซึ่งต้องลงทุนเพิ่ม
- ค่าระวางเรือ เริ่มคงที่ในหลายๆ เส้นทาง ยกเว้น เรือจากเอเชีย ไปสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มลดลง แตกต่างจากเอเชีย ไปยุโรป ที่ค่าระวางปรับสูงขึ้น
4) การขนส่งทางอากาศ
- เส้นทางเอเชีย จีน/ฮ่องกง สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ราคาขนส่งเริ่มปรับตัวลดลง สายการบินใหญ่ๆของสหรัฐฯ อย่าง Delta, United, American เริ่มกลับมายินไปจีนในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งก็จะทำให้การขนส่งสินค้าทำได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องระวังเรื่องการแพร่ระบาด
- เวียดนาม ได้ประโยชน์เต็มๆ จากโควิด-19 ช่วงนี้ส่งออกหน้ากาก PPE ไปสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ทำให้ค่าขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น
- สหรัฐฯ สถานการณ์เริ่มทรงตัว แต่ก็ต้องระวังความล่าช้าในการเคลียร์สินค้าที่สนามบิน
- ยุโรป สถานการณ์ยังปั่นป่วนเหมือนเดิม เครื่องบินมีจำกัด
5) สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทย
- มูลค่าการส่งออก เดือน เมษายน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยเติบโต 2.12% ในขณะที่การนำเข้าลดลง 17.1%
- แต่จริงๆ แล้วการส่งออก สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย แล้ว เดือนเมษายน ลดลง 7.53% คือ ภาพการส่งออก ก็ยังเหนื่อย
- การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัว 4.0% โดยเฉพาะสินค้าข้าว ขยายตัวสูงถึง 23.1% คือ เรื่องเกษตรและอาหารเป็นจุดที่ยังพอให้ความหวังได้
- ส่งออกไปยัง ตลาดสหรัฐฯ ถึงแม้จะหักเรื่องการส่งอาวุธคืนไปแล้ว ก็ยังเติบโตดี 8.5% จากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วน อาหาร ที่ขยายตัวได้ดี
- เริ่มขนส่งผลไม้ผ่านทางรถไฟ ไปจีนได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ด่านผิงเสียง ของประเทศเวียดนาม
ก็สรุปสถานการณ์การค้า มาให้อ่านกัน ประมาณนี้สำหรับสัปดาห์นี้ สงครามโรคยังไม่จบ แต่ต้องมาลุ้นสงครามการค้ากันต่อ ช่วงนี้ต้องปรับตัวกันรัวๆ จริงๆ
สิ่งที่จะทำให้อยู่รอดได้ก็คงเป็นเรื่อง "Resilience" แปลตรงตัวคือ "ความยืดหยุ่น" หรือ โดนต่อยล้มแล้วก็ต้องลุกให้เร็ว
ลองดู แบบจีน ที่ดูกลับมาได้เร็วมากๆ หรืออย่างเวียดนามเอง ที่ใจกล้า ตั้งเป้า GDP ปีนี้เติบโต ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ภาวนาไม่ให้ติดลบเยอะ
ก็คงต้องไปหาช่องธุรกิจ ตั้งเป้าดูว่าโตตรงไหนได้บ้าง พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสกันหน่อย
อยู่ที่ใครจะมองอย่างไร...
ปล. ขออภัย เพื่อนๆ ที่ติดตามเพจ ช่วงที่ผ่านมางานเข้า ทำไม่ทัน วินัยตกไปนิดหนึ่ง ตอนนี้กลับมาแล้วครับผม
════════════════
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
════════════════
👫 พิเศษสุด! "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace"
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
1
โฆษณา