23 พ.ค. 2020 เวลา 15:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เตรียมพบกับอินเตอร์เนตไฟเบอร์ความเร็วแสง!! ⚡😉
เมื่อนักวิจัยประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงได้เร็วกว่าเดิมสองแสนเท่า ด้วยชิปเพียงตัวเดียว 😮👍
เนตไฟเบอร์ที่ว่าเร็วแต่ด้วยชิปตัวใหม่เราจะมีเนตที่เร็วไวแสงของจริง
จะดู NetFlix 4K HD กันทั้งบ้าน พร้อมโหลดไฟล์อีกนับสิบก็บ่อยั่น ด้วยชิปแสงตัวใหม่นี้
เมื่อทีมนักวิจัยในออสเตรเลียประสบความสำเร็จในการพัฒนาชิป Microcomb เพื่อช่วยให้สามารถส่งสัญญานอินเตอร์เนตได้อย่างคมชัดและรวดเร็ว
โดยเจ้าชิป Microcomb นี้ย่อมาจาก microresonator frequency combs ชิปที่ใช้กระจายแสงเลเซอร์ให้มีลักษณะเหมือนคลื่นที่ถูกสับออกเป็นหลายพันชิ้นราวกับซี่หวี
หน้าตาของชิปซี่งหัวใจคือวงแหวน microresonator ขนาดเล็กจิ๋ว
ซึ่งทำให้ได้คลื่นเล็ก ๆ ที่สามารถใช้นำส่งข้อมูลเพิ่มได้โดยยังเป็นแสงเลเซอร์ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไร
ตัวอุปกรณ์จะสับคลื่นให้กระจายออกเหมือนซี่หวี
แต่ละคลื่นเล็ก ๆ ที่ถูกแยกเพิ่มมานั้นจะถูกนำมาใช้รวมสัญญาณก่อนที่จะนำมารวมกันเป็นแสงเลเซอร์ที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูลไปในเส้นใยแก้วนำแสง
แยกแสงสับออกเป็นชิ้น ๆ แล้วใส่ข้อมูลเข้าไปก่อนมัดรวมใหม่ก่อนส่งไปยังปลายทางผ่านท่อใยแก้วนำแสง
ผลจากการทดสอบส่งสัญญาณผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงความยาว 75 กิโลเมตร สัญญาณที่ได้มีความคมชัดในระดับ Noise Free เลยทีเดียว เรียกได้ว่าไร้สัญญาณรบกวน
ส่วนอัตราการส่งสัญญาณนั้นสามารถทำได้สูงถึง 44 terabits per second (Tbps) เมื่อเทียบกับอินเตอร์เนตไฟเบอร์ในบ้านเราปัจจุบันโปร 599 ที่ความเร็ว 200 Mbps ก็จะเร็วกว่าเดิมประมาณ 220,000 เท่า
ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำมาใช้กับระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้เลย ด้วยการ Upgrade ใส่ชิปเพิ่มเข้าไปเท่านั้นเอง
อนาคตของอินเตอร์เนตความเร็วแสง โหลดหนัง 4K เรื่องละไม่ถึงวิ
ทั้งนี้เทคโนโลยี Microcomb นี้ได้มีการพัฒนามาเป็นสิบปีแล้ว แต่วันนี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำมาใช้งานจริง
ผมนี้รอเลยครับ เนตไวแสง กดปุ๊บมา แม้วันนี้ดูจะเร็วเกินไปกับการเล่นเว็บทั่วไป แต่ด้วยข้อมูลในเว็บที่มีลูกเล่นและข้อมูลเพิ่มขึ้นทุกวัน ความเร็วเนตก็ต้องเร็วให้ทันเพื่อรองรับอนาคต 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา