31 พ.ค. 2020 เวลา 02:00
ทุกวันนี้ "ชีวิต" แข่งกับอะไร
ปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก การสื่อสารเป็นไปอย่างกว้างขวางจนกระทั่งคนจำนวนมากมีความรู้สึกว่า ชีวิตดำเนินไปอย่างกระหืดกระหอบเหลือเกิน ต้องแข่งกับเวลา แข่งกับงาน แข่งกับตนเอง แข่งกับคนอื่นจนไม่มีเวลาเหลือ นอนหลับยังไม่เต็มอิ่มก็ต้องตื่นเช้าไปทำงานอีกแล้ว รู้สึกว่าชีวิตวุ่นวายไปหมด ทำอะไรไม่ค่อยจะทัน
หากไปดูวิถีปฏิบัติของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะพบว่า เขามักจะทำงานแบบสบาย ๆ ไม่กระหืดกระหอบ ไม่รีบร้อนลุกลี้ลุกลน โต๊ะทำงานสะอาด ไม่ได้กองสุมกันเป็นพะเนิน ดูแล้วโปร่งเบา
เขาทำได้อย่างไรกัน...
เคล็ดลับการบริหารเวลาของมหาเศรษฐี แบ่งเวลาในแต่ละวันให้ดี ในการทำกิจสำคัญต่าง ๆ ให้เราแบ่งเวลาเป็นกรอบใหญ่ ๆ ไว้ก่อน เริ่มต้นด้วยการแบ่งเวลานอน ทุกคนรู้ว่าตนเองควรนอน กี่ชั่วโมงต่อวันถึงจะพอดี แต่โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราควรนอนให้เพียงพอ วันละ 8 ชั่วโมง
เพราะฉะนั้น เราควรตีกรอบตนเองไว้ก่อนว่า เราควรจะ เข้านอนกี่โมง ตื่นนอนกี่โมงถึงจะไปทำงานทัน ซึ่งการล็อกเวลาให้ดี อย่างนี้เหมือนทำง่าย แต่บางคนมักจะทำพลาด ถ้าเข้านอนช้าไป พอตื่นมาก็งัวเงีย ทำให้รู้สึกลุกลี้ลุกลนตลอดทั้งวัน
เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตในแต่ละวันไม่ใช่ เวลาตื่นนอน แต่เป็นเวลาเข้านอน มีโคลงโลกนิติสุภาษิตเก่าแก่แต่ โบราณสอนใจว่า
“คนตื่นคืนหนึ่งช้า จริงเจียว
มล้าวิถีโยชน์เดียว ดุจร้อย
สงสารหมู่พาลเทียว ทางเนิ่น นานนา
เพราะบ่เห็นธรรมน้อย หนึ่งให้เป็นคุณ”
เพียงตื่นช้านิดเดียวจะทำอะไรก็ไม่ทัน กระหืดกระหอบไป หมด การใช้ชีวิตก็ไม่สำเร็จเสร็จสิ้น ถ้ามองลึกลงไปอีกก็เป็นเพราะ เรานอนดึกจึงไม่อยากตื่นนอนตอนเช้า แล้วต้องกระหืดกระหอบ เพราะไม่ทันเวลา แต่ถ้าเราเข้านอนตั้งแต่หัค่ำพอได้นอนเต็มอิ่ม แล้ว เช้าก็ตื่นขึ้นได้ทันที ดังนั้น
"ความสำเร็จของการ บริหารเวลาเริ่มที่การเข้านอน"
จากนั้นให้เราแบ่งเวลาที่นอกเหนือจากเวลานอน คือ แบ่งเวลาทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน และแบ่งเวลาในการ บริหารขันธ์ การเข้าสังคมอีกประมาณ 8 ชั่วโมง เราควรจัดแบ่ง กิจกรรมเป็นช่วงเวลากว้าง ๆ ให้ลงล็อกในแต่ละวันว่า วันธรรมดา ควรทำอะไรบ้าง วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ควรทำอะไรบ้าง เป็นต้น
พิจารณารายละเอียดในการใช้เวลาแต่ละช่วง
เมื่อเราแบ่งช่วงเวลากว้าง ๆ ออกเป็น 8/8/8 ชั่วโมงแล้ว ต้องไม่ลืมพิจารณารายละเอียดในการใช้เวลาแต่ละช่วงที่แบ่งไว้แล้วด้วย เช่น ช่วงเวลานอน 8 ชั่วโมง ก็ให้เรามาดูว่า ทำอย่างไรตนเองถึงจะนอนหลับสนิท ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับเต็มอิ่ม เพื่อจะได้ตื่นมาสดชื่นแจ่มใส
หรือช่วงเวลาในการบริหารขันธ์ เช่น เวลาอาบน้ำกินข้าว เดินทาง เวลาในการเข้าสังคมและการพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเวลาที่ใช้ ไปในการเข้าโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เราต้องบริหารจัดการเวลาเหล่านี้ให้พอดี ไม่ปล่อยเวลาไปเรื่อยเปื่อย แต่ควรล็อกเวลาให้ชัดเจน หมดเวลาต้องหยุดแล้วไปทำกิจกรรมอื่นต่อทันที ไม่เล่นเพลินจนไปกินเวลางาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ เด็ดขาด
เราต้องพิจารณาก่อนเสมอว่า มีงานอะไรสำคัญและเร่งด่วนที่เราต้องรีบทำให้เสร็จภายในวันนี้ ก็ควรหยิบขึ้นมาทำก่อน งานใดไม่เร่งด่วนนัก อาจจะทำพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ได้ ก็ให้วางแผนบริหารเวลาในสัปดาห์นี้ เดือนนี้ ปีนี้ให้ดี งานใดที่สำคัญหย่อนลงไปไม่เร่งด่วน ก็ให้เราขยับเวลาในการสะสางงานนั้นออกไป เป็นต้น
เพราะฉะนั้น เราจะมีแผนงานทั้งงานประจำวัน งานประจำสัปดาห์ งานประจำเดือน และงานประจำปี บางทีอาจจะมีงาน ประจำ3 ปี หรืองานประจำ5 ปี ที่สร้างขึ้นเพื่อวางแผนการฝึกฝน เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพหลาย ๆ ด้านของเราก็ได้ นี่คือการวางแผน การใช้เวลาในแต่ละช่วงที่เราแบ่งไว้แล้วให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
พอแบ่งเวลาออกเป็นกรอบใหญ่ ๆ แล้ว ให้เรามาดูว่า เวลาที่แบ่งไปแล้วนั้น เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกันเรื่องที่ อาจจะทำให้เสียแผนงานได้
เรื่องของการบริหารเวลาที่เราได้วางไว้แล้วอย่างดีนั้น จะมีตัวบ่อนทำลายหลัก ๆ คือ “อบายมุข” พอไปเมาเมื่อไร แผนงานที่วางไว้เสียหมด พอได้ดื่มน้ำเมา ได้เตร็ดเตร่เฮฮาเที่ยวกลางคืน ถึงเวลานอนไม่ได้นอน ถึงเวลาตื่นไม่ได้ตื่น เวลางานก็รวนหมด บางคนดูการละเล่นเป็นนิตย์ สมัยนี้การละเล่นมาถึงในมือเราง่าย ๆ ทั้งสมาร์ตโฟน ทั้งคอมพิวเตอร์ เช่น ถ้าเราเผลอติดเกม มันก็ดึงเวลาเราเสียหายหมด ดังนั้น ถ้าไม่มีวินัย การบริหารเวลาก็จะรวนหมดทันที
บางคนคบคนชั่วเป็นมิตร เผลอไปคบคนไม่ดีที่คอยจูงเราไปทางเสื่อม ชวนดื่มเหล้าบ้าง ชวนเล่นไพ่บ้าง ชวนเตร็ดเตร่บ้าง จนเราติดอบายมุข เสียการบริหารเวลา เราต้องหมั่นปฏิเสธคนจำพวกนี้ให้ ได้ พอเราทำได้อย่างนี้ ความเกียจคร้านในการทำงานจะหายไปโดยปริยาย ทำให้เราสามารถทำตามแผนงานที่วางไว้ ได้สำเร็จ
Cr : dmc.tv
ตัวอย่าง 5 กิจวัตรหลัก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การบริหารเวลาที่วางไว้แล้วอย่างดีนั้น เราชาวพุทธมีตัวอย่าง ที่ดีมาก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยหากจะเรียงลำดับกิจวัตรของ พระองค์ให้เข้าใจได้ง่าย พระองค์มีกิจวัตรหลัก 5 เรื่อง ดังนี้
กิจวัตรที่ 1
เวลาเช้ามืด ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ประมาณตี 4 - ตี 5 พระองค์นั่งสมาธิสอดข่ายพระญาณตรวจดู สัตว์ โลกว่า วันนี้ใครคือบุคคลที่พระองค์ควรจะไปโปรด
กิจวัตรที่ 2
เสด็จไปโปรดบุคคลนั้น บางครั้งไปโปรด เพียงพระองค์เดียว บางครั้งเสด็จนำหมู่สงฆ์ไปบิณฑบาตโปรดสัตว์
กิจวัตรที่ 3
พระองค์เทศน์สอนญาติโยมเป็นกิจวัตร ประจำวันในตอนเย็น พอตกเย็นชาวบ้านเลิกการงาน ก็ถือดอกไม้ ธูปเทียนบ้าง ปานะบ้าง เภสัชบ้าง เข้าวัดฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กิจวัตรที่ 4
พอยามคํ่าญาติโยมเดินทางกลับไปแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประชุมภิกษุสามเณรในวัด แล้วประทานโอวาท
กิจวัตรที่ 5
เวลาเที่ยงคืน พระองค์แสดงธรรม ตอบปัญหาเทวดาที่มาเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลปัญหาเรื่องต่าง ๆ
เหล่านี้คือกิจวัตรประจำวัน 5 เรื่อง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนอาจจะสงสัยว่า ตั้งแต่เช้ามืดจนกระทั่งเย็น ค่ำเที่ยงคืนพระองค์ไปโปรดสัตว์ชัดเจนแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ทรงพักผ่อนใช่หรือไม่ แล้วช่วงกลางวันพระองค์ทำอะไร...
เหล่านี้คือกิจวัตรประจำวัน 5 เรื่อง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนอาจจะสงสัยว่า ตั้งแต่เช้ามืดจนกระทั่งเย็น ค่ำเที่ยงคืนพระองค์ไปโปรดสัตว์ชัดเจนแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ทรงพักผ่อนใช่หรือไม่ แล้วช่วงกลางวันพระองค์ทำอะไร...
ในช่วงเวลากลางวันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ ในการดูแลหมู่คณะ บางคราวพระภิกษุสงฆ์นั่งคุยกันหลังฉัน พระองค์จะเสด็จไปถามไถ่ภิกษุ แล้วภิกษุทั้งหลายจะกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง
จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะระลึกชาติไปดูบ้าง สอดข่ายพระญาณไปดูบ้าง แล้วพระองค์ก็จะเล่าให้พระภิกษุฟังว่า เรื่องนั้น ๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงเกิดเรื่องอย่างนั้นขึ้น เพื่อเป็นคติสอนใจ ให้กับภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามไถ่ แนะนำและพูดสอน พระภิกษุทั้งหลายก็จะเกิดความอบอุ่นและได้คติข้อคิด จากพระพุทธองค์ เรียกว่า
"เป็นการสอนอย่างไม่เป็นทางการ”
ตอนช่วงค่ำประชุมพระภิกษุสามเณรทั้งหมดแล้วประทาน โอวาทนั้นจึงเป็นทางการ บางทีมีพระภิกษุที่ป่วยไข้ ไม่สบาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปเยี่ยมเยียนดูแลและเช็ดตัวให้ แล้วทรงตรัสว่าหากใครประสงค์จะได้บุญในการอุปัฏฐากพระองค์ ขอให้อุปัฏฐากภิกษุเถิด จะได้บุญเหมือนอุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดูแลคณะสงฆ์เป็นอย่างดี บางครั้งมีกิจพิเศษก็จะทรงเสด็จไปที่ต่าง ๆ บ้าง พูดง่าย ๆ ว่า เวลากลางวัน เป็นเวลาอิสระในการทำกิจต่าง ๆ ที่จำเป็นทั้งในแง่พุทธกิจ ในฐานะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในแง่เป็นญาตัตถจริยา คือ กิจเพื่อหมู่ญาติ พระองค์ก็ตั้งใจทำบางคราวเป็นกิจเพื่อสงเคราะห์โลก พระองค์ก็ตั้งใจทำโดยใช้เวลากลางวันนี้เอง
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะบริหารเวลาให้ได้ดี ต้องทำอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ แบ่งเวลาให้เป็นกรอบใหญ่ ๆ แล้วถึงมาดูรายละเอียดว่า ในช่วงเวลานั้น ๆ ควรจะทำอะไรและทำอย่างไรบ้าง ถ้าทำได้อย่างนี้เราจะพบว่า เวลาเรามีเหลือเฟือ ดังนั้น บริหารจัดการเวลาตนเองให้ดี วางแผนแบ่งเวลาให้ดี แล้วใช้เวลาทำกิจให้คุ้มค่า
อาตมภาพขอยกตัวอย่างโยมคุณแม่ท่านหนึ่งซึ่งมีลูก 5 คนแล้ว ท่านเป็นนักธุรกิจ เป็นผู้บริหารที่มีภาระหน้าที่มากมาย แต่ก็ยังสามารถจัดเวลาทำวัตรเช้าเย็น นั่งสมาธิทุกวันจนกระทั่งเข้าถึงธรรมะภายในตัวได้ คุณโยมท่านนี้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
เขาล้างหน้าแปรงฟันและสวดมนต์ทำวัตรเช้าคลอไปด้วย บ้างสวดอยู่ ในใจ ถ้าตอนไหนที่ปากเป็นอิสระก็ออกเสียงเบา ๆ คลอไปด้วย จนกระทั่งคล่องปากขึ้นใจ สวดมนต์ ไปใจก็ตรึกนึกถึงองค์พระภายในไปอย่างนี้มีแต่ได้บุญ การตรึกถึงพระรัตนตรัยภายในนั้น ตรึกได้ตลอดเวลา นั่งรถไปก็
“สัมมา อะระหัง” ไปได้นั่นเอง
เมื่อบริหารเวลาได้อย่างคุ้มค่า ก็ประสบความสำเร็จทั้งชีวิต ครอบครัว ลูก ๆ ประพฤติปฏิบัติดีทุกคน การงานประสบความ สำเร็จ ได้เป็นมหาเศรษฐีใหญ่ พอปฏิบัติธรรม ธรรมะก็ก้าวหน้า
จนกระทั่งเข้าถึงองค์พระภายใน เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่ที่ตนเองแล้วว่า เราจะบริหารจัดการเวลาอย่างไร ถ้าทำได้ถูกต้องแล้วจะพบว่า
“ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก”
เจริญพร
โฆษณา