25 พ.ค. 2020 เวลา 13:58 • ธุรกิจ
จากลิบรา สู่หยวนดิจิทัล สู่บาทดิจิทัล
2
จากการประกาศเปิดตัวโครงการลิบราของเฟซบุ๊ค ไปจนถึงการเปิดตัว "หยวนดิจิทัล" ของจีน ทำให้เกิดความสนใจในสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้น วันนี้ผมมีความเคลื่อนไหวของธนาคารแห่งประเทศในเรื่องนี้มาฝากกันครับ
2
[ข่าว]
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้าพัฒนาระบบบาทดิจิทัล เพื่อเชื่อมต่อภาคธุรกิจ เปิดตัวเดือนมิถุนายนนี้ โดธปท. ขยายขอบเขตการออกแบบ - พัฒนาระบบการชำระเงิน โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC)
จากการสัมภาษณ์ในรายการ "Suthichai Live: ดิจิตอลหยวน ดิจิตอลบาท", นางสาววชิรา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังการทดสอบโครงการอินทนนน์ ได้เสร็จสิ้นเมื่อปลายปีพ.ศ. 2562 ธปท. ได้เตรียมต่อยอดทดสอบอีก 2 โครงการ ซึ่งเป็นการออกแบบระบบการชำระเงิน โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) สำหรับภาคธุรกิจ และประชาชน (Retail CBDC)
จากเดิมที่ออกแบบระบบเพื่อใช้ในธุรกรรมมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC)
โครงการทั้ง 2 ได้แก่
1
1. โครงการทดสอบแรกทำในประเทศ โดยระบบการชำระเงินจะเชื่อมต่อจากธนาคารกลางไปยังธนาคารธนาคารพาณิชย์ จากนั้นธนาคารพาณิชย์จะเชื่อมต่อลงไปยังภาคธุรกิจ ซึ่งจะเริ่มจากธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ก่อน ภาคธุรกิจเองก็จะมีซัพพลายเชนแยกออกไปอีกในหลายบริษัทย่อย ทั้งหมดนี้จะต้องลงลึกในรายละเอียดอีกมาก พิจารณาจุดที่ต้องปรับแก้ รวมไปถึงการออกแบบหน้าตาของระบบว่าจะเป็นอย่างไร
2. โครงการทดสอบที่สองทำระหว่างประเทศ ขั้นตอนกาเชื่อมต่อจะเหมือนกับโครงการแรกเพียงแต่จะเป็นการเชื่อมต่อระบบการชำระเงินข้ามประเทศ ซึ่ง ธปท.จะต่อยอดความร่วมมือกับแบงก์ชาติฮ่องกง (HKMA) ซึ่งเคยร่วมทดสอบกันมาแล้วในการใช้ CBDC จำลองการโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์ระหว่างธนาคารสมาชิกบน DLT แพลตฟอร์ม โดยไม่ผ่านตัวกลาง
2
อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรก ธปท.จะทดสอบถึงแค่ระดับภาคธุรกิจเอกชนก่อน และในอนาคตก็มุ่งหวังที่จะพัฒนาถึงขั้นนำไปสู่การใช้งานในระดับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเห็นได้ว่า Retail CBDC เป็นกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นกับธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อฟซบุ๊กประกาศเปิดโครงการลิบรา (Libra) เมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ธนาคารกลางหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง สิงคโปร์ แคนาดา หรืออังกฤษ ในระยะนี้ก็เริ่มให้ความสนใจพิจารณา Retail CBDC เนื่องจากเกิดคู่แข่งในภาคเอกชนมากขึ้น และที่โด่งดังมากในปีก่อน คือ ลิบรา (libra) ได้กระตุ้นให้ธนาคารหลายแห่งเริ่มหันมาศึกษา Retail CBDC
4
จากกรณีศึกษาประเทศอื่น เช่น จีน และสวีเดน ซึ่งพัฒนาจาก Retail CBDC จะวางระบบการดำเนินงานเป็น 2 ขั้น (two-tier operation) กล่าวคือ ธนาคารกลางทำหน้าที่ออก CBDC เป็นเหรียญ/โทเคน (แทนการออกเป็นธนบัตร) จากนั้นจะกระจายการถือครอง CBDC ผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์กระจายการถือครอง CBDC ไปยังภาคธุรกิจและประชาชน
3
รูปแบบของ two-tier operation คล้ายกับระบบปัจจุบันที่ธนาคารกลางผลิตธนบัตร และกระจายไปยังธนาคาร จากธนาคารกระจายไปยังประชาชน เพียงแต่เปลี่ยนจากเงินกระดาษเป็นเงินในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งการดำเนินงานแบบ 2 ขั้น มีข้อดีคือ ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีบทบาทอยู่ในระบบไม่ใช่ถูกตัดขาดออกไป เนื่องจากไม่มีธนาคารพาณิชย์ ประชาชนเข้าถึงธนาคารกลางโดยตรง จะไปกระทบต่อรูปแบบการทำธุรกิจของสถาบันการเงิน
ดังนั้น การออกแบบ Retail CBDC ของ ธปท. ("บาทดิจิทัล") ต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมต่างๆ ควรจะออกแบบไว้แค่ไหน (อย่างกรณี หยวนดิจิทัล ก็ไม่ได้ใช้ DLT ทั้งหมด) พิจารณาในเรื่องกฎหมาย ความเป็นส่วนตัวในการใช้งานจะต้องมีมากในระดับใด ความพร้อมของประชาชน และที่สำคัญคือผลกระทบที่จะเกิดต่อระบบสถาบันการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน
โดยสรุปเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาระบบการชำระเงินโดยใช้ CBDC คือ การที่ประเทศไทยต้องมีระบบที่พร้อมใช้งานได้เท่าทันความต้องการ หากเมื่อถึงวันที่ทั้งโลกมีความพร้อมเต็มที่ในการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ดังคำกล่าวที่ว่า "digital currency for digital economy" หมายถึง การมีสกุลเงินดิจิทัลเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในโลกใหม่ โดยขณะเดียวกันธนาคารกลางยังคงรักษาความสามารถในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และนโยบายการเงินของประเทศได้
1
เป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมที่หยิบมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ครับ
ขอขอบคุณทุกๆ คนที่ติดตาม และยินดีต้อนรับผู้อ่านใหม่ทุกคนครับ เพจ Thailand+ เป็นเพจที่รวบรวมข่าว เรื่องราวที่น่าสนใจของประเทศไทย มาแบ่งปันกันเป็นประจำ (ตามแต่ภารกิจ และเวลาจะเอื้ออำนวย🙌) โดยตั้งใจรายงานแบบมีที่มาที่ไป และสามารถถกเถียงกันได้เต็มที่
ถ้าถูกใจ กดถูกใจ กดแชร์ และติดตามกันด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา