27 พ.ค. 2020 เวลา 09:47 • ปรัชญา
ธรรมชาติ"ใกล้ตัว"ในการโกหกของมนุษย์
กี่ครั้งแล้วครับที่เราเคยโกหกว่า
1. “เดี้ยวถึงแล้ว อีกแปปเดียว"
2. “ขอโทษที่ตอบช้าพอดีแบตหมด, พอดีกำลังเรียนอยู่ พอดีช่วยทำงานให้พ่อแม่ พอดีกำลังอยู่กับแฟน พอดีกำลัง....." ซึ่งความจริงแล้วก็คือ "พอดีกำลังโกหกคุณอยู่นั่นแหละ"
ซึ่งการโกหกแบบนี้ เป็นสิ่งที่"ใกล้ตัว"จนกลายเป็น Old Normal ที่ยังไม่เคยเสื่อมคลายเลย ตราบใดที่จิตใจของมนุษย์ยังคงอยู่
ซึ่งการโกหกแบ่งออกมาได้ 2 แบบ
1.โกหกเพื่อให้คุณเข้าใจผิด
2.พูดความจริงไม่หมดเพื่อให้คุณเข้าใจผิด
หากว่าพูดในเชิงศีลธรรมแล้ว การโกหกทั้ง 2 แบบต่างก็ผิดศีลข้อที่ 4 ทั้งคู่ เพราะตามหลักธรรมแล้วเขาดูกันที่เจตนาที่จะทำให้ผู้อื่น"หลงผิด"ครับ(อ้างอิงมาจาก พระครูปลัดสุวัฒนนโพธิคุณ ซึ่งผมจะทิ้งไว้ใน Referenceที่ 1 นะครับ)
พระครูปลัดสุวัฒนนโพธิคุณ
เพราะการพูดที่ดีโดยไม่ผิดศีลจะต้องพูดให้เกิดประโยชน์ ไม่จาบจ้วงหยาบคายและถูกกาลเทศะ เพื่อให้คำพูดเป็นผลดีต่อผู้ฟังอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่หากพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยและมีแต่จะทำให้เกิดการทะเลาะและแตกแยกกัน ก็ไม่สนควรที่จะพูดจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ที่ผู้ฟังว่าควรจะรู้แล้วจริงๆ เพราะความจริงบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเกินกว่าที่มนุษย์จะยอมรับได้ หากยังไม่ถึงเวลา
หากพูดในเชิงจิตวิทยาแล้วล่ะก็ เขาจะดูกันที่ 2 เรื่องด้วยกัน เริ่มจาก
1.ธรรมชาติของการโกหกของมนุษย์
งานวิจัยของริชาร์ด ไวส์แมน นักจิตวิทยาได้เขียนเอาไว้ว่า "ประชากรราว 1 ใน 3 พูดโกหกคำโตอยู่ทุกวัน" ซึ่งบ่งชี้ว่า การโกหกหลอกลวงนั้น เหมือนโรคระบาด บวกกับความเป็นมนุษย์เอง ทำให้คนเรานั้น สามารถพูดความจริง หรือปั้นเรื่องราวขึ้นมาได้ตามความต้องการที่เราอยากจะให้ผู้อื่นเชื่อในสิ่งที่เราคิด พูด และทำ
และเมื่อการโกหกแบบนี้เริ่มกลายเป็นบรรทัดฐานในสังคม สิ่งที่ตามมาก็คือ คนที่อยู่รอดในสังคมก็คือคนที่กุเรื่องโกหกเหลวไหลออกมาพูดให้ดูน่าเชื่อถือที่สุดมากกว่าคนที่พูดความจริง ได้แก่ การแต่งหน้าของผู้หญิง การPostรูปลงใน IG และ Facebook เพียงแต่การโกหกเหล่านี้มันกลายเป็น New Normal ของสังคมไปแล้ว เราจึงไม่ถือสาอะไรกันมากนัก
โดยธรรมชาติในการโกหกในชีวินประจำวันของเรานั้นมีอยู่มากมาย ได้แก่
1.1 เราเคยโกหกว่า “เดี้ยวถึงแล้ว” “ขอโทษที่ตอบช้า” “พอดีแบตหมด” “พอดีกำลังเรียนอยู่” (หลักๆแล้วมักจะมีคำว่า“พอดีกำลัง...”) ทั้งทีจริงๆแล้ว คำว่า พอดีกำลัง=โกหกไปแล้ว 50%
1.2 การโกหกผ่านโทรศัพท์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุด เพราะไม่มีใครเห็นสีหน้าเราและไม่มีใครรู้ว่าเราทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร
1.3 การโกหกเพื่อปกป้องตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ตัวเองและผู้อื่น
1.4 การโกหกด้วยการเป็นผู้สร้างเรื่องที่เก่ง ใคร? เกิดอะไรขึ้น? และมักจะเล่าแต่เรื่องที่ “เป็นของตัวเองล้วนๆเพื่อให้คุณเชื่อว่า เขาไม่ได้โกหกนะ” แต่คนที่พูดความจริงมักจะเล่าสิ่งที่ตัวเองได้ไปเจอในสถานที่และผู้คนที่ได้พบเจอมากกว่าตัวเองล้วนๆ
1.5 ข้อมูลใน IG Facebook และ Social Media ต่างๆจะเป็นตัวฟ้องการโกหกของเรา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “คำพูดและการ post ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยิ่งโกหกมากเท่าไหร่ เรายิ่งสับปรับคำพูดตัวเองมากขึ้นเท่านั้น”
และนี่ก็คือ ธรรมชาติของการโกหกของมนุษย์ครับ
2.วิธีจับผิดคนโกหก
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนๆนี้กำลังโกหกเราอยู่ และเขาโกหกไปเพื่อจุดประสงค์อะไร เหตุผลนั้นมีอยู่มากมายมากๆครับ เนื่องจากจิตใจของมนุษย์นั้นยากที่จะคาดเดาได้ เพราะอย่างแรกเลยคือ เราสามารถจับการหลอกลวงได้แย่มากๆ ความถูกต้องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 54% เวลาที่เราบอกได้ว่าคนๆ นั้นโกหกหรือไม่ เนื่องจากเราไม่ได้รู้จริงๆว่าตัวเรามีวิธีจับการโกหกที่ดีอย่างไร
คนจมูกยาวแสดงถึงคนโกหก
หลายๆคนบอกว่าหากเราเขาจะดูกันที่ พฤติกรรม คำพูด สีหน้า และการกระทำ แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ถูกต้อง 100% ครับ เพราะคนที่โกหกฉลาดหน่อยมักจะ
1. ปฏิเสธแบบไม่ผูกมัดและมุ่งมั่นที่จะปฏิเสธ และการผลักเรื่องราวต่างๆที่ตัวเองต้องการโกหกออกไปให้ไกลตัวมากที่สุดด้วยการเน้นไปที่ “ความจริงที่ตัวเองสร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้อื่นโดยเฉพาะ”
2. คนโกหกที่ฉลาดๆมักจะโกหกด้วยการสบตามากกว่าปกติเพื่อเป็นการปกปิดการโกหกของตัวเอง
3. คนโกหกมักจะมีรายละเอียดที่เยอะกว่าปกติและจะเจาะจงให้การเล่าเรื่องไม่ตรงกับหัวข้อที่คุณถาม(พูดง่ายๆก็คือถามอีกอย่าง ตอบอีกอย่างที่ไม่ได้ถาม)
4. คนโกหกมักจะมีปฏิกิริยาที่อึดอัดเวลาถูกถามเจาะลึกไปเรื่อยๆ แต่จะเริ่มสบายใจอย่างเห็นได้ชัดเมื่อคุณหยุดยิงคำถาม
5. คนโกหกมักจะมองต่ำ หยุดคิด และรุกรี้ลุกรน(มักจะเป็นคนที่โกหกไม่เก่ง)
6. คนโกหกจะเริ่มมีรอยยิ้มหรือความสุขใจที่ตัวเองรู้สึกว่า “ผ่านพ้นมาจากการจับผิดของคุณได้”
7. คนโกหก เวลาที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นมักจะทำให้เกิด “ฉันสิแน่ แต่เธอกระจอก” เพื่อเป็นการ “โยนการโกหกของตัวเองให้ไปปรากฏความจริงที่ไม่ใช่ตัวเอง”(หมายถึงโกหกเพื่อให้ผู้อื่นเป็นแพะรับบาปในความผิดของตัวเอง)
สรุปก็คือ
1.จงดูพฤติกรรมที่เขาทำมาในอดีตจนถึงปัจจุบันให้ดีๆ เพราะคนโกหกมีแนวโน้มที่จะสับปรับคำพูดไปๆมาๆ ครึ่งๆกลางๆ มาโดยตลอด หากคุณสังเกตุพบเห็น นั่นแปลว่าคุณกำลังเจอคนโกหกแบบมืออาชีพเข้าแล้วล่ะครับ
2.คนโกหกไม่ได้แปลว่าเขามีเจตนาร้ายกับคุณเสมอไป บางที เขาอาจจะไม่อยากบอกคุณเพราะว่าเขาเป็นห่วงคุณที่อาจจะยังไม่สามารถยอมรับความจริงบางอย่างได้
3.คนที่เป็นบัณฑิตจะโกหกผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่คนพาลมักจะโกหกเพื่อให้ชีวิตตัวเองดูดีขึ้นบนซากศพของผู้อื่น
ฝากกดLike กดShare และกดFollow เพจ Near us ด้วยนะครับ
โฆษณา