28 พ.ค. 2020 เวลา 08:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การกลับไปอวกาศอีกครั้งของอเมริกา ตอน ยาน Dragon 2
หากท่านใดตามข่าวอวกาศอยู่บ่อย ๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าชาติที่มุ่งมั่นจะกลับไปเยือนอวกาศ คือ อเมริกา โดยองค์กรอวกาศในอเมริกาไม่ได้มีเพียง NASA เหมือนในอดีตแล้ว โดยโปรเจคการกลับไปอวกาศในครั้งนี้นำโดย NASA และองค์กรอวกาศเอกชนอย่าง SpaceX ซึ่งในบทความนี้เราจะหยิบยกเรื่องของยาน Dragon 2 มาพูดถึง
ยาน Dragon 2 เป็นยานที่พัฒนาและสร้างโดย SpaceX พัฒนาต่อยอดมาจากยาน Dragon 1 Cargo ซึ่งถูกใช้ในการขนส่ง Supply ให้ ISS ด้วยจรวด Falcon 9 ของ SpaceX อีกเช่นกัน Dragon 1 Cargo ถือเป็นยานที่ผลิตโดยบริษัทเอกชนลำแรกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และยังเป็นยานเอกชนลำแรกที่สามารถ Rendezvous และเชื่อมต่อกับ ISS ได้ Dragon-2 เป็นรุ่นอัพเกรดของ Dragon-1 นั้นเองทั้งระบบที่ออกแบบให้เป็น Human-rated capsule ซึ่งหมายถึงเป็นยานที่สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้ ซึ่งก่อนที่จะเป็นยาน Human-rating capsule ได้จำเป็นจะต้องผ่าน Human-rating certification ก่อนนั้นก็คือภารกิจ Crew Dragon Demo-2 นั้นเอง ถ้าผ่าน Dragon 2 ก็จะเป็น Human-rating capsule ของบริษัทเอกชนลำแรกที่สามารถขนส่งนักบินอวกาศทันที
ยาน Dragon 2 ในภารกิจ Spx-Demo 2 ขณะกำลังเตรียมการขั้นสุดท้ายก่อนการปล่อยที่แหลม Canaveral – ที่มา SpaceX
Dragon 2 มีสอง Variants หรือสองแบบ นั้นก็คือ Cargo Dragon ซึ่งใช้สำหรับขนส่ง Supply ให้ ISS เหมือน Dragon 1 ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ Crew Dragon ซึ่งใช้สำหรับขนนักบินอวกาศนั้นเอง Crew Dragon มีระบบใหม่ที่เรียกว่า Launch Escape System หรือ LES ซึ่งใช้นักการยกเลิกภารกิจหากเกิดความผิดพลาดขึ้นระหว่างการปล่อยและจำเป็นต้องแยก Crew Capsule ออกจากจรวด Falcon 9 Block 5 ระบบ LES จะเป็นระบบที่จะพา Crew Capsule แยกออกจากจรวดด้วยการจุดเครื่องยนต์ SuperDraco สองตัวขนาบข้าง Crew Capsule
ยาน Dragon 2 มีจรวดขับดัน SuperDraco ทั้งหมด 8 ตัวขนาบข้าง ใช้สำหรับการยกเลิกภารกิจระหว่างการปล่อย (In-flight abort) และยังมีจรวดขับดัน Draco อีก 4 ตัว ใช้สำหรับการ Translate และ Rotate ยานรวมไปถึง Altitude control และ Orbital maneuvers
Flight Control ในยานที่เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด – ที่มา SpaceX
นอกจากนี้ยาน Dragon 2 ยังมี Flight computer และระบบควบคุมการบินแบบใหม่ซึ่งงพัฒนามาจาก Dragon 1 ซึ่งทำให้ยาน Dragon 2 นั้นเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดตั้งแต่ปล่อยจนถึงการเชื่อมต่อกับ ISS ที่แต่เดิมการเชื่อมต่อกับ ISS ต้องใช้แขนกล Canadarm บน ISS มาช่วยในการเชื่อมต่อ แต่ใน Dragon 2 ไม่จำเป็นต้องใช้แขนกลช่วยอีกต่อไปเพราะยานสามารถเชื่อมต่อได้เองเลยด้วยระบบ Autonomous Docking System นักบินอวกาศมีหน้าที่แค่คอย Monitor ระบบต่าง ๆ ของยานและเตรียม Take over หากเกิดความผิดปกติ
ก่อนหน้านี้ยาน Dragon 2 รหัสยาน C201 เคยไปเทียบกับ ISS ในภารกิจ SpX-DM1 หรือ Demo 1 มาแล้ว ซึ่งเป็น Flight แรกของ Dragon 2 ถูกปล่อยในวันที่ 9 มีนาคม 2019 ภารกิจ Demo-1 เป็นการทดสอบระบบทั้งหมดตั้งแต่การปล่อย การเชื่อมต่อกับ ISS การ Re-entry และการ Splashdown ซึ่งจำเป็นต่อการทดสอบ Human-rating certification หลังจากการกู้ยาน Dragon C201 มันก็ถูกนำมาใช้ในการทดสอบต่าง ๆ สำหรับภารกิจ Demo 2
ยาน Crew Dragon 2 C201 ในภารกิจ SpX-DM1 ขณะกำลังเชื่อมต่อกับ ISS – ที่มา ISS
แต่เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2019 ระหว่างการทดสอบระบบ Launch Escape System สำหรับการยกเลิกภารกิจระหว่างการปล่อยซึ่งเป็นการทดสอบ Static fire ของ SuperDraco หรือจรวดของระบบ LES เกิดการรั่วของ Dinitrogen Tetroxide เข้าไปที่ท่อ Helium ซึ่งใช้ในการ Pressurize ถังเชื้อเพลิงทำให้ Check valve เสียหายและเกิดการระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้ Dragon 2 C201 กลายเป็นซากยานอวกาศทำให้ SpaceX ต้องเลื่อนภารกิจ Demo 2 ออกไป จากเดิมที่ภารกิจ Demo-2 จะถูกปล่อยในเดือนกรกฎาคม 2019 กลายมาเป็นวันที่ 27 พฤษภาคม 2020 หรือคืนเมื่อวาน แต่ว่าด้วยสภาพอากาศทำให้ต้องเลื่อนการปล่อยออกไปเป็นวันเสาร์นี้แทน โดยกว่าจะประกาศเลื่อนก็เหลือเวลาก่อนปล่อยเพียง 16 นาทีเท่านั้น
เดิมยาน Dragon 2 ถูกเสนอให้ลงจอดด้วยจรวด LES (เพราะว่าถ้าไม่มีการยกเลิกภารกิจ ระบบ LES ก็ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว เอามาใช้ลงจอดแทนได้) ส่วนร่มชะลอความเร็วไว้ใช้ในกรณีที่มีการยกเลิกภารกิจระหว่างการบินซึ่งต้องใช้ LES ตอนยกเลิกส่วนลงจอดก็ใช้ร่มชะลอความเร็ว แต่ก็ถูกยกเลิกและเปลี่ยนกลับไปใช้ร่มชะลอความเร็วในการ Splashdown ทุกกรณีเหมือนเดิมในภายหลัง ยาน Dragon 2 สามารถขน Supply มากกว่า 3,307 กิโลกรัมไป ISS ได้และยังสามารถพานักบินอวกาศไป ISS ได้มากกว่า 7 คน (แต่ NASA ใช้แค่ 4)
สุดท้ายนี้หากใครสนใจการกลับไปเยือนอวกาศของอเมริกาอย่าลืมติดตามในบทความตอนต่อไป เราจะมาพูดถึงภารกิจ Crew Dragon Demo-2 กัน
อ้างอิง
โฆษณา