28 พ.ค. 2020 เวลา 12:15 • ข่าว
ECONOMY : FED กำลังคิดหนักเกี่ยวกับการควบคุมอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้ของสหรัฐฯ ขณะที่ Goldman Sachs กล่าวว่าการระบาดเป็นตัวเร่งให้ตลาดการโฆษณาเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลเร็วขึ้น
John Williams ประธานของ FED ประจำ New York ได้กล่าวว่าผู้ออกกฎหมายกำลัง "พิจารณาอย่างหนักมาก" ที่จะกำหนดอัตราผลตอบแทนพิเศษในตราสารหนี้ของสหรัฐฯ เพื่อให้มั่นใจว่าต้นทุนการกู้ยืมจะอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0
"การควบคุมอัตราผลตอบแทน ซึ่งตอนนี้ได้ถูกปรับใช้แล้วในบางส่วนของประเทศ เป็นเครื่องมือที่จะสามารถเติมเต็มมาตรการของเราได้ ดังนั้นแล้วก็ชัดเจนว่าเรากำลังคิดหนักอย่างมากที่จะปรับใช้มัน"
Yield-Curve Control หรือการควบคุมอัตราผลตอบแทน ก็คือการที่ธนาคารกลางของประเทศได้กำหนดขีดกำจัดของอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาล โดยจะทำการเข้าซื้อพันธบัตรที่เหมาะสมในปริมาณที่ไม่จำกัด (หากจำเป็น) เพื่อคงให้อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ต้องการ
วิธีการนี้ถูกใช้โดยประเทศญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในช่วงวิกฤต และผลก็คือ แม้ว่าบริษัทหรือธุรกิจภายในประเทศจะไม่ล้มละลาย แต่ก็ไม่เติบโตเลยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ล่าสุดมาตรการทำนองนี้ได้ถูกปรับใช้โดยรัฐบาลออสเตรเลียแล้วเช่นกัน ขณะที่นักลงทุนเห็นว่า FED จะใช้เครื่องมือนี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทางฝั่งอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ นั้นก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าตัวเลข Unemployment Rate ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จะอยู่สูงกว่า 20% ขณะที่ในหลายรัฐมีการเสียงานช่วงเดือนเมษายนสูงกว่าเดือนมีนาคมอย่างมาก
ชาวอเมริกันกว่า 38 ล้านคนต้องลาออกจากงานในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และทำให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวลง 4.8% ในไตรมาสแรกของปี 2020 โดยคนเหล่านี้สามารถยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน ซึ่งจะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นมูลค่า 600 $/สัปดาห์ ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2020
ขณะเดียวกัน FED's ฺBalance Sheet ล่าสุดทะลุหลัก 7 ล้านล้านดอลลาร์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง World Maker อยากให้ผู้อ่านลองสังเกตปริมาณการพิมพ์เงินออกมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเกือบเป็น 3 เท่าของวิกฤตเมื่อปี 2008
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้บุกเบิกการทำ Yield-Curve Control ตั้งแต่ปี 2016 เป็ยต้นมา โดยเลือกที่จะควบคุมอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเอาไว้ใกล้ระดับ 0
และเมื่อไม่นานมานี้ ออสเตรเลียก็ได้ปรับใช้มาตรการคล้าย ๆ กันในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 3 ปีลดลงสู่ระดับต่ำ โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ 0.25%
ต่อไปก็คือ FED ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มสูงมากที่จะปรับใช้มาตรการ Yield-Curve Control เช่นกัน แต่สิ่งที่ 2 ประเทศนี้ค่อนข้างแตกต่างจากญี่ปุ่นก็คือการมุ่งเน้นไปยังพันธบัตรระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
ณ ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 0.7% ในวันอังคารที่ผ่านมา ส่วนพันธบัตรอายุ 5 ปีอยู่ที่ 0.35% และพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 0.18% โดยหากมีการปรับใช้มาตรการ Yield-Curve Contrl คาดว่าอัตราผลตอบแทนเป้าหมายจะอยู่ที่ประมาณ 0.25%
Goldman Sachs กล่าวว่าการระบาดของ Coronavirus เป็นตัวเร่งให้ตลาดการโฆษณาเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลเร็วขึ้น
งบประมาณในตลาดการโฆษณาเริ่มถูกถ่ายโอนจากระบบ TV และวิทยุไปสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้นอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นการระบาดจึงไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ แต่เป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
เนื่องจากบริษัทสามารถวัดผลจากการโฆษณาทางดิจิตอลได้ง่ายและสะดวกกว่าทางสื่อทีวีและวิทยุ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาทางดิจิตอลก็ยังถูกกว่า
และระหว่างเกิดการระบาดอยู่นี้ ก็ได้เป็นเหตุให้รายได้จากการโฆษณาทางทีวีและวิทยุในยุโรปลดลงถึง50% ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่รายได้จากการโฆษณาทางดิจิตอลอย่าง Google และ Facebook นั้นค่อนข้างจะทรงตัว โดยมีบางแห่งที่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำไป
หุ้นของสื่อทางทีวีและวิทยุนั้นมีผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดในตลาดสื่อของยุโรป โดยลดลงถึง 41% จากค่าเฉลี่ยของปี 2019
Goldman Sachs คาดว่าผลตอบแทนสุทธิแบบปีต่อปีของบริษัทด้านสื่อทางทีวีและวิทยุในยุโรปจะลดลง 30-50% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
Comment : เรื่องนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของคำว่า Digital Disruption อย่างชัดเจนครับ ซึ่ง World Maker อยากบอกผู้อ่านไว้ตรงนี้เลยว่าในอนาคตกระแสการ Disruption จะมาแรงขึ้นอีก
เพราะฉะนั้นแล้วประเด็นนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้อ่านควรไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมครับ ว่าควรจะปฎิบัติตัว ดำเนินชีวิต หรือดำเนินธุรกิจอย่างไร ในโลกที่กำลังเข้าสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้นทุกวัน
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
โฆษณา