30 พ.ค. 2020 เวลา 10:18 • สุขภาพ
มนุษย์จ้า ข้าลามาจะช่วยเจ้าเอง!!
นอกจากการแข่งขันในการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกัน
เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ของประเทศมหาอำนาจต่างๆ
ในอีกมุมหนึ่งแพทย์และนักวิจัย ก็คิดค้นวิธีการรักษา
ซึ่งวันนี้จะของแนะนำความหวังล่าสุดของเรา “น้องลามา”
1. แนะนำตัวน้องลามากันก่อน
น้องลามา พระเอกของเรานั้นเป็นสัตว์ในตระกูลอูฐครับ
สิ่งที่นักวิจัยค้นพบก็คือ เมื่อได้รับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย พวกน้องจะผลิตสารออกมา 2 ชนิดคือ Antibody (อันนี้เหมือนที่มนุษย์ผลิตได้) และ Nanobody (เป็น antinody ที่มีขนาดเล็กกว่า หรือเรียกอีกอย่างว่า single-domain antibody)
ซึ่งพระเอกของเราก็คือเจ้า “นาโนบอดี้” (Nanobody) นี้ละครับที่ทำให้ไวรัสหมดฤทธิ์ได้วิธีการเป็นยังไงเดี๋ยวไปดูกัน
2. “นาโนบอดี้” เล็กพริกขี้หนู
โดยปกติ antibodies มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วนคือ โครงสร้างโมเลกุลส่วนเบาและส่วนหนัก ในขณะที่ nanobodies จะมีแต่ส่วนที่หนักที่เรียก VHH เท่านั้น
แล้ว“นาโนบอดี้” พิเศษอย่างไร?
โดยโมเลกุลส่วน VHH นี้แหละที่มีหน้าที่ในการไปเกาะแกะกับเจ้าไวรัสตัวร้าย ทำให้เจ้าไวรัสไม่มีมือที่ว่างพอจะไปเกาะกับเซลล์อื่นๆ ในร่างกายเรา
....
ขนาดที่เล็กลงของนาโนบอดี้ทำให้มันมีข้อได้เปรียบแอนตี้บอดี้ในการหาพื้นที่ว่างที่จะเกาะเพื่อหยุดไวรัสตัวร้าย
นอกจากนี้นาโนบอดี้ยังอึด ทึกทน ต่อความร้อนและสารเคมี เป็นแต้มต่อในการทำหน้าที่รักษาโรคอีกต่างหาก
3. ตำรวจจับผู้ร้าย แล้วนาโนบอดี้จับอะไร?
ไวรัสนั้นมันจะทำให้เราป่วยก็ต่อเมื่อ มันเข้าไปในร่างกายและจับกับเซลล์เพื่อขยายจำนวน
จากการค้นคว้าก่อนหน้านี้ทำให้นักวิจัยทราบว่า coronaviruses จะมีลักษณะด้านนอกคล้ายหนามแหลมซึ่งเป็นโปรตีนที่ชื่อ glycoprotein ซึ่งจะมีบริเวณเฉพาะที่
เรียกว่า subunits, S1 and S2
เปรียบเทียบได้ว่าหนามแหลมคือลูกกุญแจ มันก็จะมองหาแม่กุญแจ ซึ่งเป็นเซลล์ของร่างกายเรา เมื่อมันไขได้ก็จะสามารถเข้ามาอยู่ในร่างกายเราได้
ซึ่งเจ้าลูกกุญแจ S1 ของเจ้าไวรัส SARS-CoV2 จะเป็นส่วนที่มี receptor-binding domain (RBD) ซึ่งจะจับกับแม่กุญแจที่ขื่อ ACE2 ซึ่งนาโนบอดี้จะทำหน้าที่ในการขัดขวางไม่ให้โปรตีน S1 ไปจับกับเซลล์ของเรานั้นเอง
จากรูปจะเห็นได้ชัดเจนว่า หนามแหลมๆของไวรัส จะจับกับโปรตีนที่ชื่อ ACE2 แล้วปล่อยเจ้าตัวร้ายเข้ามานั้นเอง
กระบวนการที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกาย Cr: https://europepmc.org/
4. ข่าวดี nanobodies จากน้องลามา ช่วยหยุดไวรัสได้
นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยฉีดโปรตีนที่เป็นลูกกุญแจเข้าไปในตัวบามา หลังจากนั้นลามาจะผลิตนาโนบอดี้ เพื่อมากำจัดโปรตีนดังกล่าว
จากนั้นจะเจาะเลือดเอามาสกัดเอานาโนบอดี้จากน้องลามา ซึ่งจะมีหลายชนิดมาก เอามาทำการทดสอบกับไวรัสในตระกูล corona เพื่อคัดเลือกเฉพาะตัวที่ เกาะแน่นและทน มาทำศึกษา
....
ซึ่งแต่ละชนิดของไวรัสก็อาจจะใช้ชนิดของ nanobodies และจำนวนที่แตกต่างกันไป
เช่นเจ้าไวรัส SARS-CoV2 (Covid-19) นักวิจัยพบว่า nanobodies ที่ชื่อ VHH-72 สามารถที่จะทำให้ไวรัสไม่สามารถเกาะที่ ACE2 ของเราได้
แต่ VHH-72 ตัวเดียวไม่พอ จ้าไวรัสตัวนี้ต้องใข้นาโนบอดี้ถึงสองตัวจึงจะหยุดยั้งได้ เดือดร้อนนักวิจัยต้องหาทางต่อ VHH-72 เข้าด้วยกัน
....
ผลการทดลองประสิทธิภาพของนาโนบอดี้ในการหยุดยั้งไวรัสSARA-CoV2 ก็น่าสนใจ
โดยนักวิจัยทอลองโดยเอาเข็มจุ่มที่ไวรัสจากนั้นก็ไปจุ่มที่เซลล์
ของเรา ถ้าไม่มีเจ้านาโนบอดี้มาขวางกั้นก็จะเกิดการดึงดูดกันของไวรัสกับเซลล์ร่างกาย(เส้นสีน้ำเงิน) แต่เมื่อไวรัสถูกจุ่ม นาโนบอดี้ก่อนนำมาจุ่มเซลล์ของเราคราวนี้ไวรัสกับเซลล์จับกันไม่ได้ ถูกขวางกั้น ก็จะไม่มีแรงดึง (เส้นสีดำ)
ผลการทดลองวัดแรงดึงระหว่างโปรตีนของไวรัสกับนาโนบอดี้ Cr: Wrapp et al., 2020, Cell 181, 1–12
5. ยาดีจากน้องลามา
รู้หรือไม่?
การใช้ผลิตยาจาก nanobody จากสัตว์จำพวกลามา ไม่ใช่เรื่องใหม่ก่อนหน้านี้มียาที่ชื่อ caplacizumab ซึ่งช่วยรักษาอาการเลือดอุดตันซึ่งได้รับการรับรองจากทาง EU เมื่อปี 2018
การพัฒนายาจากนาโนบอดี้ของน้องลามาคงใช้เวลาอีกพักแต่ความรู้ที่ได้ สามารถข่วยให้นักวิจัย เข้าใจกระบวนการ
ทำงานของไวรัส และวิธีที่จะควบคุม และพัฒนาวิธีการรักษาและตัวตับเจ้าไวรัสตัวนี้ให้ดีขึ้นได้
ธรรมชาติเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ดีนะครับ!!
แหล่งข้อมูล
Coronavirus: why we’re using llamas to help fight the pandemic
Structural Basis for Potent Neutralization of Betacoronaviruses by Single-Domain Camelid Antibodies
DOI: 10.1016/j.cell.2020.04.031
โฆษณา