30 พ.ค. 2020 เวลา 05:33 • ความคิดเห็น
#แค่คิดเป็นก็สุขง่ายๆสไตล์กำไลหยกBD.65
สุขทุกข์แค่ศอกเดียว จากสมองสู่หัวใจ
" สมองเยียวยาจิตใจได้ ขณะเดียวกันจิตใจปลอบโยนสมองได้ ต่างอวัยวะแต่เอื้อกันและกัน เพื่อกลั่นการกระทำดีหรือร้ายออกมาได้
คนจะจิตใจอ่อนไหวง่ายหรือหนักแน่น ใจบุญหรือเหี้ยมโหด เห็นแก่ส่วนตัวหรือส่วนรวม
สมองจะฝังความคิดดีหรือร้าย อภัยเป็นหรือเหยียดหยามซ้ำเติมต่างๆเหล่านั้น
องค์ประกอบของสิ่งที่กระทำออกมาจนเกิดเป็นรูทีนหรือนิสัย หรือติดในกมลสันดาน ย่อมต้องมีความเห็นพ้องหรือยินยอมจากทั้งสมองและหัวใจ"
เวลาไม่เคยหยุด สมองกับหัวใจความจริงก็ไม่เคยหยุด ถ้าเวลาของชีวิตยังมีอยู่นะครับ.... กำไลหยก.
อวัยวะในร่างกายคนเราสำคัญทุกชิ้น แต่ที่มีบทบาทและเราๆท่านๆให้ความสำคัญและพูดถึงกันเสมอคือ "สมองและหัวใจ"
"สมองและหัวใจ" มีคนชอบเปรียบเทียบและอยากทราบว่าอะไรสำคัญกว่ากัน แต่ไม่มีข้อสรุปที่สามารถบ่งชี้ได้มาเนิ่นนานว่าอะไรสำคัญสุดในร่างกายเรา
ใครสั่งงานใครให้กระทำตาม ใครมีอำนาจเหนือใคร
ตามจริงที่เราทราบ การรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง5 มีหู, ตา, จมูก, ลิ้น, มือหรือผิวหนัง
ปกติเมื่อแรกสัมผัสรับรู้ เราจะรับรู้ไปที่สมองก่อน สมองถึงสั่งการไปที่อวัยวะส่วนต่างๆ รวมทั้งรายงานให้หัวใจรับทราบตลอดว่าจะกระทำหรืองดเว้นกระทำ
การกระทำทุกอย่างของคนจะตอบโต้เร็วช้าหรืองดเว้น จึงอยู่ที่การประสานของสมองและหัวใจว่าสอดคล้องกันมากน้อยแค่ไหน
บางสิ่งที่สัมผัสอยู่สม่ำเสมอบ่อยๆ การสั่งการรับรู้ การสอดคล้องต้องกันของทั้งคู่ก็แทบจะเป็นไปแบบอัตโนมัติแทบจะเหมือนเกิดในเวลาเดียวกัน การกระทำก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทันที
เช่น
มือจับถูกของร้อน เราจะรีบชักมือหนีจากสิ่งนั้นทันทีแทบจะไม่ต้องรอสมองหรือหัวใจสั่งการเลย
ถ้าสมองรับสัมผัสและรู้สึกพร้อมสั่งการตอบโต้สัมผัสนั้น แต่หัวใจไม่เออออหรือเห็นพร้องด้วย ก็จะเกิดการแย้งกลับจากหัวใจไปสู่สมองให้ทบทวนเทียบเคียงดีร้ายจากผลที่จะเกิดตามมา ที่เราชอบเรียกว่า "การยั้งคิดยั้งทำ"
ตามองเห็นสิ่งผิดตา หูฟังนินทาว่าร้าย จมูกรับกลิ่นเน่าเหม็น ลิ้นรับรสเผ็ดร้อน กายถูกกระทำกดขี่
หัวใจรับทราบรู้สึกตามสมองที่รับสัมผัสนั้นๆ
หุนหันพลันแล่น เต้นเร็วขึ้น ฉูบฉีดเลือดแน่นขึ้นหน้าอก ไล่ขึ้นมาพร้อมลมหายใจที่กระชั้น แดงขึ้นมาที่ตาที่หน้า
สมองก็ยังมีสิทธิ์ให้หัวใจทบทวนเช่นกัน กดตบหัวใจให้เย็นลงผ่านการหายใจเข้าออกลึกและยาว ได้ไม่คุ้มเสียนะถ้าทำตามใจ ปล่อยวางอภัยกันไปบ้าง
เราเรียกว่่า "ยับยั้งชั่งใจ"
" สมองเยียวยาจิตใจได้ ขณะเดียวกันจิตใจปลอบโยนสมองได้ ต่างอวัยวะแต่เอื้อกันและกัน เพื่อกลั่นการกระทำดีร้ายออกมาได้
คนจะจิตใจอ่อนไหวง่ายหรือหนักแน่น ใจบุญหรือเหี้ยมโหด เห็นต่อส่วนตัวหรือส่วนรวม
สมองจะฝังความคิดดีหรือร้าย อภัยเป็นหรือเหยียดหยามซ้ำเติม
องค์ประกอบของสิ่งที่กระทำออกมาจนเกิดเป็นรูทีนหรือนิสัย หรือติดในกมลสันดาน ย่อมต้องมีความเห็นพ้องหรือยินยอมจากทั้งสมองและหัวใจ"
อาจเจอสัมผัสแปลกใหม่ สมองไม่เคยรับรู้ หัวใจไม่เคยรู้สึกแบบนี้มาก่อน การกระทำที่ต้องฝืนกระทำออกมาก่อน จากการสั่งการของสมองหรือจิตใจฝ่ายเดียว มีหลุดออกมาบ้าง ก่อนการยั้งคิดหรือชั่งใจ
สุดท้ายจึงเกิดการเรียนรู้ สะสมสัมผัสนั้นๆ เราเรียกว่า.... "ประสบการณ์"
นั่นคือการจูนปรับของสมองและหัวใจให้ไปในทิศทางเดียวกัน
ดีร้ายจึงอยู่ที่การเรียนรู้ยอมรับจากผลที่ได้จากการกระทำ เข้าข้างความคิดตน พึงใจกับการกระทำนั้นๆ
คนมากกว่า2คนขึ้นไป ถ้ามีสมองและหัวใจไปในทิศทางเดียวกัน การอยู่ร่วมก็ราบรื่น สังคมที่ดีก็ต้องฝึก"จริยธรรม" เพื่อให้การกระทำของส่วนรวมสอดคล้องไปในทางที่สุขที่ดี.... กำไลหยก.
หัวใจและสมองห่างกันแค่ศอกเดียว สัมผัสรับรู้ถึงกันแค่เสี้ยวของวินาที การฝึกให้เกิดสุขหรือเกิดการ "ยั้งคิดยั้งทำ" หรือการ "ยับยั้งชั่งใจ"
เราจึงต้องฝึกเรียนรู้ธรรมจากการปฏิบัติหรือที่เราเรียกว่า "จริยธรรม"
"จริยธรรม" จึงเข้ามีบทบาท ปรับใจที่แข็งกระด้างให้อ่อนนุ่มลง ปรับความคิดเอารัดเอาเปรียบเห็นแก่ตนสถานเดียว ให้ก้าวไกลและรู้รับผิดชอบไปในสังคมการอยู่ร่วมที่ดี
การอบรมฝึกใจและสมองให้มี"จริยธรรม" คำนึงถึงทุกๆการกระทำที่ออกมา สุขทุกข์จากผลของการกระทำนั้นๆที่มีต่อตนและส่วนรวม จึงสำคัญต่อทุกๆบทบาททางสังคมที่ทุกคนมีอยู่
สมองคิดไม่ดีหัวใจคอยยั้ง หัวใจเดือดพล่านด้วยโมหะ, โทสะ, โลภะ  สมองคอยเตือน เป็นไปในลักษณะนี้สม่ำเสมอ การกระทำที่ออกมาก็จะดีและสุขได้ในทุกๆครั้งที่กระทำโดยอัตโนมัติเอง....... กำไลหยก.29.05.2020.
ปล.
ในพุทธศาสนิกชน ธรรมะทางพุทธะในหัวใจและในสมองของเรา จึงเป็นตัวบงการการกระทำที่สุขที่ดีของการมีชีวิต ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่เราจัดว่าเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์อื่นใดทั้งปวงได้ด้วยประการฉะนี้..... อมิตพุทธ.
#แค่คิดเป็นก็สุขง่ายๆสไตล์กำไลหยก
#อยากให้คนใกล้ชิดคุณสุขง่ายๆก็กดไลค์กดแชร์กดติดตาม.
โฆษณา