31 พ.ค. 2020 เวลา 06:09 • ปรัชญา
ไอนส์ไตน์นั้นนับถือพระุทธศาสนาจริงหรือ ?
หลายคนคงจะรู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองครับ
ขอบคุณเจ้าของภาพที่เผนแพร่ครับ
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าไอน์สไตน์นั้น เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากครับ
ถ้าใครถามไอน์สไตน์ว่า เขานับถือศาสนาอะไร?
2
เขาจะตอบว่า เขาไม่นับถือศาสนา เขาเป็นคนประเภทไม่มีศาสนา แต่ถ้าถามต่อว่า แล้วเขาชมชอบศาสนาไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
1
เขาจะตอบอย่างไม่ลังเลเลยว่า “ศาสนาพุทธ”
1
แต่คำถามที่เค้าต้องการหาคำตอบ ก่อนที่เสียชีวิตนั้นต่างก็มีคำตอบแล้วทั้งสิ้นในพระพุทธศาสนา
2
จึงทำให้เค้ากล่าวว่า
"ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"
คำพูดของไอน์สไตน์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ
1
และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 กว่าปีมาแล้ว
จึงมีหลายคนที่ศึกษาว่า พระพุทธศาสนาในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์แต่ละท่านนั้นเป็นอย่างไร
1
แต่มี ทันตแพทย์สม สุจีรา ได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า
ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น มีถึง 2 ภาค และตีพิมพ์อยู่หลายสิบครั้งด้วยกัน
1
ความมีชื่อเสียงของหนังสือทำให้มีข่าวในการท้วงติงถึงความถูกต้องทางวิชาการอยู่หลายครั้ง
ในครั้งนี้ขอนำเสนอเนื้อหาคร่าวๆในหนังสือ ดังนี้
แบ่งเนื้อหาออกได้เป็น 10 บท คือ
บทที่ 1 “ทำไมต้องไอน์สไตน์” ได้กล่าวถึงพื้นฐานประวัติชีวิตของเค้า พร้อมทั้งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ได้ค้นพบ
บทที่ 2 “จักรวาลกับพุทธศาสนา” กล่าวถึงพระพุทธศาสนาบอกว่าความเร้นลับของจักรวาลเป็นเรื่องอจินไตย ซึ่งตรงกับการค้นพบและการพิสูจน์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อยู่หลายเรื่อง
1
บทที่ 3 “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” กล่าวถึงเรื่องความเร็วของแสงที่คงที่เสมอ แต่เวลาสามารถยืดหด และเดินช้า เดินเร็วได้ตามการเคลื่อนที่
บทที่ 4 “ความว่างภายในอะตอม” เนื้อหากล่าวถึงทฤษฎีควอนตัมซึ่งช่วยยืนยันว่า ไม่มีสิ่งใดคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ(กฎไตรลักษณ์)
บทที่ 5 “พุทธกับวิทยาศาสตร์” มีการเปรียบเทียบความรู้และคำสอนทางพุทธศาสนาที่ต่างกัน
เพียงวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าและพิสูจน์ในทางวัตถุหรือรูปธรรม
1
แต่พุทธศาสนาได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งรวมไปถึงเรื่องทางนามธรรมหรือเรื่องราวของจิตด้วย
1
บทที่ 6 “ปัญญาญาณ” กล่าวว่าความรู้ ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเสมอไป
แต่การรวมจิตให้เป็นหนึ่งนั้น ก็สามารถทำให้เกิดความรู้ในเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้เหมือนกัน(ตรัสรู้)
บทที่ 7 “ความมหัศจรรย์ของจิต” กล่าวถึงความลึกลับซับซ้อนของจิต ที่พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องของจิตนี้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว
และจิตเป็นสิ่งที่มีความเร็วมากกว่าแสงมาก
บทที่ 8 “เกิด-ดับ” กล่าวว่าทุกสิ่งมีการเกิดดับ ไม่เว้นแม้แต่จักรวาล รวมไปถึงทฤษฎีความรู้ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์
ต่างจากสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ยังคงจริงแท้ตลอดมา (อกาลิโก)
บทที่ 9 “มิติที่ 4 มิติของเวลา” ไอน์สไตน์ยืนยันว่าเวลายืดหดได้และยังย้อนกลับได้ด้วย
ตรงกับการวิปัสสนากรรมฐานทางพุทธศาสนา ย้อนเวลาไปอดีต หรือล่วงรู้เรื่องราวในอนาคตได้
1
บทที่ 10 “ความสุขและความจริงแท้” เป็นการสรุปเนื้อหาพุทธศาสนาว่ามีความรู้ที่ครอบคลุมมากกว่าวิทยาศาสตร์และรำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร
จากที่ได้เล่ารายละเอียดจากหนังสือเล่มนี้แล้ว ทำให้เราทราบได้ว่า ไอน์สไตน์นั้น ได้ล่วงรู้ถึงความจริงของธรรมชาติและจักรวาล
จากการศึกษาพระพุทธศาสนาและนำมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ค้นพบครับ
หากมีโอกาสในครั้งต่อๆไปเราจะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดของความเชื่อมโยงดังกล่าวกันครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเรามาโดยตลอดครับ
แหล่งข้อมูล
โฆษณา