3 มิ.ย. 2020 เวลา 06:43 • ความคิดเห็น
No new normal, just abnormal
หลังจากทางการเริ่มมีการคลาย lockdown เป็นระยะๆ สิ่งที่ผมสังเกตคือ คนมีอาการที่เรียกว่า”เก็บกด” และรีบกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิมมากขึ้น หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จากเดิมที่หน้ากากขาดแคลน ตอนนี้เป็นขายไม่ออก ใครตุนไว้ตอนนี้ก็เรียกภาษาหุ้นได้ว่าติดดอยแล้ว ต้องรีบ cut loss ให้เร็วที่สุดครับ ในสถานการณ์ปกติ หน้ากากอนามัยทุนมาถึงร้านยา แผ่นละ 50 สตางค์ครับ
นอกจากนั้นผมยังสังเกตว่า เมื่อก่อนไปไหนก็เห็นคนใส่หน้ากาก แต่ตอนนี้เริ่มเห็นคนไม่ใส่หน้ากากมากขึ้น ในกรุงเทพฯท่านผู้อ่านอาจเห็นว่ายังเข้มงวด และมีเรื่องของสังคมที่กดดัน ถ้าคุณไม่ใส่ก็ดูผิดปกติ แต่ต่างจังหวัดนั้นต่างกัน
ร้านอาหารผมเป็นร้านใหญ่ ฉะนั้นก็เป็นที่เพ็งเล็งของทางการ มีระเบียบมากมายที่ต้องปฏิบัติ เรียกได้ว่าเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุข ทหาร ตำรวจ กอ.รมน. แวะเวียนมาที่ร้านผมบ่อยมากๆ เวลามาตามหน้าที่ก็จะมาถ่ายรูป บอกระเบียบ ตรวจว่าทำตามทุกข้อมั้ย
แต่เวลามานั่งกินกันเองที่ร้านผม ไม่เห็นเลยสักครั้ง ที่เจ้าหน้าที่จากทางการจะทำตามกฎระเบียบที่ตัวเองมาแจ้งไว้ เรียกว่าสวมหมวกคนละใบ พวกนี้จะสนิทกับพนักงานที่ร้านครับ พักหลังเวลาจะมาตรวจก็จะโทรมาบอกก่อนล่วงหน้า เรียกว่าสไตล์ไทยๆ จริงๆ
By the way, ผมก็คิดว่าคนจะคุ้นชินกับการสั่งซื้อหรือขายสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ช่องทางการขายจะเพิ่มมากขึ้นจากเดิม จะเกิดธุรกิจใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น ที่จังหวัดผมเป็นจังหวัดเล็กๆครับ ฉะนั้นไม่มีบริการขนส่งสินค้าภายในจังหวัด อย่างร้านผมก็ต้องลงทุนด้าน delivery เอง แต่สถานการณ์ Covid ทำให้กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้าง รวมกลุ่มกันให้บริการรับส่งอาหารและสินค้าเล็กๆน้อยๆเกิดขึ้นในอำเภอเมือง
กัปตันเครื่องบินมา review สินค้าและขายขนมให้ร้านผม กลายเป็นว่า ร้านผมจะได้รับ pre-order และขนส่งขนมให้น้องกัปตันนี้ขายทุกสัปดาห์ เป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้ร้านผมเพิ่ม และเป็นการทำการตลาดไปในตัวด้วย เพราะเริ่มมีคนติดต่อขอทำแบบน้องเค้าเข้ามาเรื่อยๆ ผมเชื่อว่าคนจะเริ่มเห็นช่องทางการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น
แต่ในแง่การใช้ชีวิต ผมเชื่อเรื่องของกิเลสของมนุษย์ มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบรวมกลุ่ม ชอบท่องเที่ยวหาประสบการณ์ ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่สถานการณ์ Covid หายไป ผมเชื่อว่ามาตรการ social distancing จะหายไปพร้อม Covid ด้วยเช่นกัน deglobalization ก็จะกลับมา globalization เหมือนเดิม
โฆษณา