3 มิ.ย. 2020 เวลา 13:26 • การศึกษา
คาลมีเกีย ดินแดนชาวพุทธแห่งเดียวในยุโรป
ลูกหลานของชาวมองโกลโบราณที่รู้จักในชื่อ "คาลมุค" อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซียในสาธารณรัฐคาลมีเกีย ดินแดนชาวพุทธแห่งเดียวในยุโรป ในช่วงสหภาพโซเวียตเรืองอำนาจ ได้มีความพยายามที่จะลบล้างและทำลายพุทธศาสนาในสหภาพให้หมดไป หลังจากโซเวียตล่มสลายลง พวกเขาได้สร้างวัดนี้เพื่อเป็นการทำนุบำรุงรักษาพุทธศาสนาไว้ให้แก่ลุกหลานต่อไป.
ประชากรคาลมีเกียประมาณ 289,481 คน มีพรมแดนติดกับ ดาเจสถานและสตาฟโรโปลกรัย ทางตะวันตกเฉียงใต้ / โรสโตฟ โอบลาสต์ ทางตะวันตก / โวลโกกลาด โอบลาสต์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ / อาสตาคาน โอบลาสต์ ทางตะวันออก / และทะเลแคสเปียน ทางตะวันออกเฉียงใต้.
ชาวคาลมีเกียนั้นสืบเชื้อสายมาจากชาวออยรัต (กลุ่มของชาวมองโกลตะวันตก) ซึ่งอพยพเข้ายุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ชาวคาลมีเกียนับถือศาสนาพุทธแบบทิเบต ทำให้ชาวคาลมีเกียมีความเคารพนับถือองค์ดาไลลามะเป็นหลักส่วนรวมจิตใจของชาวคาลมีเกีย. องค์ดาไลลามะ รินโปเช ตูลกู เตโล เออร์เน อมบาดูโกว์ ( Rinpoche Tulku Telo Erdne Ombadykow ) เป็นลามะสูงสุด ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวพุทธคาลมีเกีย.
ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ 1958 คาลมีเกียได้กลายเป็นหนึ่งในเขตการปกครองรูปแบบสาธารณรัฐของประเทศรัสเซีย และหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีผลบังคับใช้วันที่ 31 มีนาคม 1992.
หลังจากมีสถานะเป็นสาธารณรัฐคาลมีเกียในปี 1992 มีประธานาธิบดีประจำรัฐสองคนแรกซึ่งทั้งสองคนนับถือพุทธศาสนา คนแรกคือ คิร์ซาน อิลยุมซีโนฟ ( Kirsan Ilyumzhinov ) ดำรงตำแหน่งในวันที่ 23 เมษายน 1993 จนวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2010 และคนที่สองคือ อาเล็กเซ็ย โอร์ลอฟ ( Aleksey Orlov ) ดำรงตำแหน่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2010 เป็นต้นมา.
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาสามารถพบได้ในทุกมุมถนนในคาลมีเกีย อาคารบ้านเรือนแบบฉบับชาวพุทธกลายเป็นสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของเมืองนี้โดยแยกจากกันไม่ได้เลย ในเมืองเอลิสต้า ( Elista ) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคาลมีเกีย มีวัดพุทธที่ประดับด้วยทองเหลืองอร่าม เช่นวัดทองศากยมุนี วัดเก็ดเด็น เช็ดดุบ โชยโกร์ และเจดีย์ "เจ็ดวัน" อนุสาวรีย์ปันดีตาซายา ซุ้มประตูทอง และวัดออร์กูเว็น ซัมเย ซึ่งเป็นในแบบวัฒนธรรมญิงมา สามารถพบได้ทั่วไปในเมืองอิกิลบูรุล.
ชาวพุทธจำนวนมากในคาลมีเกียยังคงมีการปฏิบัติประเพณีต่างๆไว้อย่างเหนี่ยวแน่น เช่น วันวิสาขบูชา, อาสาฬหบูชา, และการเฉลิมฉลองประเพณีซูล ( Zul ) ซึ่งเป็นวันปีใหม่ของชาวคาลมีเกีย ถือเป็นวันที่องค์ลามะซงกาวาเสียชีวิต ผู้บุกเบิกพุทธศาสนาแบบทิเบต.
วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะในแบบฉบับประเพณีแบบทิเบต ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของคาลมีเกียเป็นชนชาติมองโกเลีย ทำให้คาลมีเกียมีความแตกต่างและพิเศษกว่ารัฐอื่นๆในประเทศรัสเซีย.
Visit My Website

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา