4 มิ.ย. 2020 เวลา 04:45 • ธุรกิจ
VISA เสือนอนกินแสนล้าน
“VISA” หรือ “วีซ่า” ชื่อที่อยู่บนหน้าบัตรเครดิต และบัตรเดบิตโดยทั่วไปของแทบทุกธนาคาร แต่รู้ไหม วีซ่า ไม่ได้เป็นบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตแต่อย่างใด เพราะอันที่จริงแล้ว ควรจะเรียกให้เป็นแพลตฟอร์มทำธุรกรรมน่าจะเหมาะสมกว่า
และบริษัทที่อยู่บนหน้าบัตรที่ว่านี้ แม้จะไม่ได้มีรายได้มาจากกบัตรโดยตรง แต่วีซ่ามีผลประกอบการ และขนาดบริษัทใหญ่กว่า.. แต่ละธนาคารผู้ออกบัตร..เสียอีก
ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น เมื่อ 62 ปีที่แล้ว วีซ่าก่อตั้งเมื่อปี 1958 โดย Bank of America เริ่มจากการใช้ชื่อ BankAmericard เพื่อให้สอดรับกับคู่แข่งอย่าง Master Charge (ตอนนี้เป็น MasterCard)
ต่อมาในปี 1970 Bank of America ยุติการควบคุมกิจการ และได้เปลี่ยนเป็นธนาคารอีกหลายแห่งเข้ามาควบคุมกิจการแทนก่อนที่จะเปิดตัวโดยใช้ชื่อ VISA อย่างเป็นทางการในปี 1976
จุดเด่นในการวางตัวในโลกการเงินของวีซ่า คือการวางตัวเป็นแพลตฟอร์มชำระเงิน ที่อำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้งาน ที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัว แต่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยพกแค่เพียงบัตรที่ตีตราวีซ่าเท่านั้น
ทั้งนี้ ความที่วีซ่าไม่ได้เป็นบัตรเครดิตเต็มตัวดังที่ได้กล่าวมา แต่เป็นเบื้องหลังผู้ให้บริการจับจ่ายเงิน พร้อมทั้งเน้นขยายแพลตฟอร์มผ่านเครือข่ายสถาบันการเงินในแต่ละประเทศ ส่งผลให้กิจการของบริษัทเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งประสบความสำเร็จ ยอดใช้จ่ายทะลุล้านล้านเหรียญเป็นครั้งแรกในปี 1997
1
ความสำเร็จนำมาซึ่ง ผู้นำแห่งโลกเบื้องหลังด้านการเงิน ในปี 2008 วีซ่าได้เข้าสู่การเป็น IPO ซึ่งตรงกับช่วงที่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กำลังเป็นตัวการสำคัญในระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่าวีซ่าก็ไม่พลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในการเป็นแพลตฟอร์มด้านการเงิน ให้กับนักลงทุนและผู้ใช้งาน
หนึ่งทศวรรษผ่านมากระทั่งปัจจุบัน รู้ไหมว่ารายได้ในช่วงที่ผ่านมา วีซ่าผลิตได้..เท่าไหร่ ?
ปี 2017
มีรายได้รวม 18,358 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กำไรสุทธิ 6,699 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2018
มีรายได้รวม 20,609 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กำไรสุทธิ 10,301 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2019
มีรายได้รวม 22,977 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กำไรสุทธิ 12,080 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เม็ดเงินมหาศาลในแต่ละปี ที่ไม่ได้มาจากการเป็นเจ้าของบัตรเครดิต คำถามก็คือ รายได้สูงขนาดนี้..มาจากไหน ?
ส่วนใหญ่แล้ว รายได้หลัก ๆ ของวีซ่าจะมาจาก
1. รายได้จากการให้บริการ
2. รายได้จากการประมวลผลข้อมูล
3. รายได้จากธุรกรรมข้ามประเทศ
ซึ่งสัดส่วนรายได้จะแบ่งไปประมาณร้อยละ 30 ของทั้งสามช่องทาง
ความท้าทายในช่วงที่ผ่านมา สำหรับวีซ่า นั้นก็คือ.. สกุลเงินดิจิทัล ที่ใคร ๆ ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าจะทำให้บัตรเครดิตหรือเดบิตมีการใช้งานลดน้อยลง แต่ในความเป็นจริง ปัญหาของการใช้สกุลเงินที่มีความผันผวนกว่า จึงทำให้ความสะดวกของผู้ใช้งานที่มีมาแต่เดิม ยังคงปักหลักปักใจอยู่กับบัตรเครดิตและเดบิตอยู่
ไม่เพียงแค่นั้น กระแสการตอบรับบนตลาดออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซ ยิ่งสร้างให้รายได้ของวีซ่าเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด อิงจากผลประกอบการข้างต้นของปี 2017 เทียบกับปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความสะดวกด้านการใช้งานสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ยิ่งจะทำให้สื่อกลางอย่างวีซ่าเติบโตได้อีกมากในอนาคต
ถึงอย่างไร เสือนอนกินตัวนี้ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อให้โลกจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายแค่ไหน อย่างช่วงล่าสุด บริษัทยังได้ลงทุนเข้าซื้อแพลตฟอร์มด้านการเงินแห่งหนึ่ง เป็นมูลค่ากว่า 5.3 พันล้านเหรียญ นั่นจึงหมายความว่า บริษัทไม่ได้นอนเฉย ๆ แล้วปล่อยให้โลกที่ดิสทรับด้านการเงินตลอดเวลาเข้ากลืนตัวเอง
เพราะจุดแข็งอันเป็นกรณีศึกษาของวีซ่าดังที่ได้กล่าวมา คือการเป็น “เสือนอนกิน ที่รู้จักการทำมาหากิน..ตลอดเวลา”
ส่งต่อทุกแรงบันดาลใจ Share For Inspire
Follow Us On “Facebook” https://www.facebook.com/swivelth
Follow Us On “Blockdit” https://www.blockdit.com/swivel
Follow Us On “Instragram” https://www.instagram.com/swivel.th/
Follow Us On “Line” http://nav.cx/2z8bFq6
โฆษณา