5 มิ.ย. 2020 เวลา 08:01 • สุขภาพ
กระดูกสะโพกหัก .... ภัยเงียบในผู้สูงอายุ
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินภาวะกระดูกสะโพกหักกันมาบ้าง ไม่ว่าจะจากประสบการณ์ตรงกับคนรู้จัก หรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ แต่ใครจะคิดว่าภาวะกระดูกสะโพกหักนั้นใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด
โดยเฉพาะท่านที่เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุหรือบ้านที่มีผู้สูงอายุอยู่ด้วย กระดูกสะโพกหักสามารถเกิดได้ทุกเมื่อและส่งผลกระทบร้ายแรงกว่าที่เราคิด ผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักนั้น มีอัตราการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยมีกระดูกหัก และยังพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกมากมายที่ทำให้เสียชีวิตได้อีกด้วย
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะว่าประชากรมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นจากมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และการดูแลตัวเองของประชาชนที่ดีขึ้น เมื่อเราเข้าสู่วัยสูงอายุ ค่ามวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่าในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนบริเวณหลังส่วนล่างและกระดูกสะโพกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญ น้อยคนนักที่จะทราบว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าว
กระดูกสะโพกสามารถหักได้หลังจากการล้มก้นกระแทกพื้น ในคนที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เช่น ในคนที่กระดูกพรุน อาการแสดงของภาวะกระดูกสะโพกหักที่สำคัญคือ อาการปวดบริเวณสะโพกหรือขาหนีบ และยืนลงน้ำหนักไม่ได้ ในบางรายที่มีการหักของกระดูกคอสะโพกแบบไม่สมบูรณ์ ผู้ป่วยอาจยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้ แต่จะมีอาการปวดเวลาลงน้ำหนัก ถ้ามีอาการดังกล่าวแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยส่วนใหญ่ใช้เพียงการซักประวัติ ตรวจร่างกายและการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ สามารถให้การวินิจฉัยได้เกือบทุกราย ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีกระดูกส่วนคอสะโพกหักแบบไม่เคลื่อน จะไม่สามารถเห็นรอยหักจากภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ การตรวจเพิ่มเติมด้วย MRI ในกรณีนี้จะสามารถให้การวินิจฉัยได้
การรักษากระดูกสะโพกหักในปัจจุบัน การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดนั้นให้ผลการรักษาที่ดีกว่าไม่ผ่าตัด
อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ >> https://easydoc.in.th/กระดูกหัก/กระดูกสะโพกหัก/
โฆษณา