30 มิ.ย. 2020 เวลา 02:30 • ปรัชญา
เป็นที่ปรึกษาโดยไม่เกิดปัญหา
ภาพจาก pexels.com
เมื่ออายุมากขึ้น ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บางครั้งเราก็ต้องกลายเป็นที่ปรึกษาของใครหลาย ๆ คน
คนเราเนี่ยเอาใจยากกว่าที่คิดนะครับ
บางคนก็อยากเล่าอยากระบาย ก็ไม่รู้ว่าไปอึดอัดมาจากไหน พูดรัวอย่างกับแร็ปเปอร์
(ฟังจนหลับไป ตื่นมายังเล่าไม่จบเลยบางคน)
บางคนก็อยากให้เราสนับสนุนและคล้อยตามความคิดของเขา
: ใช่แล้วคนที่ทิ้งเธอไปมันเลวจริง ๆ
(อย่าบังอาจแก้ตัวแทนคู่กรณีเชียวล่ะ)
บางคนก็ ปรึกษาไปโกหกไป อารมณ์ประมาณว่าอยากปรึกษาแต่ก็ไม่อยากให้ตัวเองดูไม่ดี ก็เลยโกหกบ้างพูดความจริงบ้างสลับกันไป
: ฉันแค่ว่าเขานิดเดียว เขาก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
(นิดหน่อยของเธอเนี่ยไม่กล้าจินตนาการเลย)
หลากหลายรูปแบบที่จะเข้ามา แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมด นั่นก็คือ คนเหล่านั้นต้องการใครสักคนที่คอย ”รับฟัง” ปัญหาของพวกเขา
ต้องการใครสักคนที่คอยรับฟัง คอยให้กำลังใจ พวกเขาต้องการแค่นั้นแหละ
ถ้าแค่รับฟังเฉย ๆ มันจะไปยากอะไร สบายมากอยู่แล้วครับ
มันก็ไม่ยากหรอกครับหากเราไม่นำปัญหาของเขาเข้ามาเป็นปัญหาในชีวิตของเราไปด้วย
หลายคนที่หัดเป็นที่ปรึกษามือใหม่ มักจะนำปัญหาที่แก้ไม่ตกของคนอื่น เก็บกลับมาคิดและเก็บมาเครียด ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย
เราสามารถรับฟังปัญหาของคนอื่นได้ครับ แต่ไม่ควรนำสิ่งนั้นกลับมาคิดจนเครียดไปด้วย เพราะไม่ว่าอย่างไรนั่นก็ไม่ใช่ปัญหาของเรา ไม่ใช่เรื่องของเรา นี่คือสิ่งที่ต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจ
และสุดท้ายจงจำไว้ให้ดีนะครับว่า การที่มีใครสักคนนำปัญหามาปรึกษาเรา นั่นก็หมายความว่า เขาไว้ใจเราขนาดนั้นเลยยังไงล่ะ
ดังนั้นจงอย่าทำลายความเชื่อใจนั้นลง ด้วยการนำไปเล่าต่อ
#บทสรุปฉบับแฮมแฮม
โฆษณา